Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64395
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชัชพงษ์ ศรีคำen_US
dc.contributor.authorเยาวลักษณ์ จันทร์บางen_US
dc.contributor.authorณัฐศักดิ์ กฤติกาเมษen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:05Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:05Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=126&CID=930en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64395-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการทดลองนีมี้วัตถุประสงค์เพื่อใช้คลื่นความถี่วิทยุในการควบคุมมอดฟันเลื่อยในข้าวสารพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และศึกษาคุณภาพข้าวหลังจากไปผ่านคลื่นความถี่วิทยุในระดับที่ทำให้แมลงตายอย่างสมบูรณ์ โดยทำการทดลอง ณ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งการทดลองเริ่มจากการเลี้ยงมอดฟันเลื่อยในข้าวสารพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่มีความชื้น 14 เปอร์เซ็นต์ ในสภาพห้องปฏิบัติการ การทดลองที่ 1 นำแมลงแต่ละระยะการเจริญเติบโตมาผ่านคลื่นความถี่วิทยุที่ความถี่ 27.12 MHz อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 90 วินาที พบว่าตัวเต็มวัยมีเปอร์เซ็นต์การตายน้อยที่สุด คือ 78.09 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนระยะดักแด้ หนอน และไข่ มีเปอร์เซ็นต์การตายอยู่ที่ 90.90, 94.34 และ 96.46 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับการทดลองที่ 2 ใช้มอดฟันเลื่อยตัวเต็มวัยซึ่งเป็นระยะที่ทนทานต่อคลื่นความถี่วิทยุที่สุดมาผ่านที่คลื่นที่ระดับอุณหภูมิ 55, 60, 65 และ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 90, 120 ,150 และ 180 วินาที ในทุกระดับอุณหภูมิ พบว่าที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 วินาที เป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากใช้เวลาน้อยที่สุดที่ทำให้แมลงตายอย่างสมบูรณ์ (การตาย 100 เปอร์เซ็นต์)และไม่พบแมลงรุ่นลูก (F1) โดยคุณภาพของข้าวหลังจากผ่านคลื่นความถี่วิทยุเปรียบเทียบกับชุดควบคุม พบว่า ความชื้นของข้าวลดลง ค่าสีที่วัดได้มีค่าของสีเหลืองเพิ่มขึ้นดัชนีความขาวเพิ่มขึ้นปริมาณอะไมโลสที่วัดได้เพิ่มขึ้น ปริมาณโปรตีนลดลง และปริมาณสารหอมที่วัดได้ลดลงจาก 2.82 ppm เป็น 2.50 ppmen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการใช้คลื่นความถี่วิทยุเพื่อควบคุมมอดฟันเลื่อยในข้าวสารพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105en_US
dc.title.alternativeUse of Radio Frequency for Controlling Sawtoothed Grain Beetle (Oryzaephilus surinamensis) in Milled Rice cv. Khao Dawk Mali 105en_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume30en_US
article.stream.affiliationsสถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะกรรมการการอุดมศึกษาen_US
article.stream.affiliationsบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.