Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64380
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพุทธพงศ์ มะโนคำen_US
dc.contributor.authorณัฏฐิณี ภัทรกุลen_US
dc.contributor.authorศันสนีย์ จำจดen_US
dc.contributor.authorชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัยen_US
dc.contributor.authorเบญจวรรณ ฤกษ์เกษมen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:05Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:05Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=125&CID=917en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64380-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractข้าวมีการปรับตัวของรากต่อสภาพแอโรบิกที่แตกต่างกันทั้งด้านการดูดน้ำและอาหาร ซึ่งการศึกษาระบบรากข้าวใช้เวลานานและลำบาก ดังนั้นการประเมินและคัดเลือกพันธุ์ที่มีการปรับตัวของรากจึงทำได้ยาก การศึกษานี้เริ่มจากเปรียบเทียบการเจริญของรากข้าว 2 พันธุ์คือ พันธุ์บือบ้าง (ข้าวไร่) และขาวดอกมะลิ 105 (ข้าวนาสวน) ในวัสดุปลูก 8 ชนิด ในงานทดลองที่ 1 เพื่อหาวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการนำมาใช้ศึกษารากข้าวที่ง่ายและรวดเร็ว พบว่า ดินชุดสันทรายและดินดำเป็นวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการศึกษาระบบรากข้าวการทดลองที่ 2 ศึกษาการปรับตัวต่อสภาพปลูกแอโรบิกเทียบกับสภาพน้ำขังพันธุ์ข้าวนาสวน 3 พันธุ์ และข้าวไร่ 3 พันธุ์ พบว่า ข้าวพันธุ์ บือบ้าง ชัยนาท 1 และ R 258 มีน้ำหนักรากเพิ่มขึ้นในสภาพแอโรบิก ส่วนการกระจายตัวของรากที่ความลึกใต้ผิวดิน 0-15 เซนติเมตร ข้าวนาสวนมีน้ำหนักรากลดลงยกเว้นพันธุ์ชัยนาท 1 ที่ความลึก 15-30 เซนติเมตร ข้าวไร่มีน้ำหนักรากเพิ่มขึ้นแต่ข้าวนาสวนลดลง และที่ความลึกมากกว่า 30 เซนติเมตร ข้าวทุกพันธุ์มีน้ำหนักรากเพิ่มขึ้น การเจริญทางลำต้นพบ น้ำหนักต้นและจำนวนหน่อของข้าวนาสวนเพิ่มขึ้น แต่ความสูงลดลง ส่วนข้าวไร่ไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้ค่า root/shoot ratio ของข้าวไร่เพิ่มขึ้นในสภาพแอโรบิก แต่ในข้าวนาสวนลดลงยกเว้นพันธุ์ชัยนาท 1 สำหรับการสะสมธาตุอาหารไนโตรเจนพบเพียงพันธุ์ปทุมธานี 1 ที่มีค่าเพิ่มขึ้นในสภาพแอโรบิก ฟอสฟอรัสของข้าวไร่ส่วนใหญ่ลดลงและข้าวนาสวนไม่เปลี่ยนแปลง โพแทสเซียมมีเพียงปทุมธานี 1 เพิ่มขึ้นและสุพรรณบุรี 1 ลดลง แคลเซียมเพิ่มขึ้นในพันธุ์ชัยนาท 1 และพันธุ์บือบ้าง และการสะสมแมกนีเซียมพบว่ามีเพียงข้าวสุพรรณบุรี 1 เท่านั้นที่ลดลงในสภาพแอโรบิกในขณะที่พันธุ์อื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลงen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการปรับตัวต่อสภาพแอโรบิกของพันธุ์ข้าวไร่ และข้าวนาสวนen_US
dc.title.alternativeAdaptation to Aerobic Condition of Upland and Wetland Rice Varietiesen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume30en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50202en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.