Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64377
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ตะวัน ห่างสูงเนิน | en_US |
dc.contributor.author | พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ | en_US |
dc.contributor.author | อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ | en_US |
dc.contributor.author | รุจ ศิริสัญลักษณ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:04Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:04Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=121&CID=911 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64377 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในเขตลุ่มน้ำแม่ริม ด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตจากเกษตรเคมีสู่เกษตรอินทรีย์ และศึกษาผลของการปฏิบัติตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่มีต่อการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตลอดจนกำหนดกรอบคำอธิบายเชิงทฤษฏีเพื่ออธิบายการมีชีวิตที่พอเพียงของเกษตรกรผู้ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ในเขตลุ่มน้ำแม่ริม ประชากรที่ใช้ในการศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 112 คน จากข้อมูลของเครือข่ายที่ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่าลุ่มน้ำแม่ริมเป็นลุ่มน้ำที่มีการทำการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์แหล่งใหญ่ ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์รวมประมาณ 692.28 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.04 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งลุ่มน้ำ มีรูปแบบการจัดการฟาร์ม 2 รูปแบบ คือเกษตรอินทรีย์ในระบบเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ในระบบเกษตรเชิงเดี่ยว นอกจากนี้ยังพบว่าการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรมีผลอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรที่ผลิตในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ในประเด็นต่าง ๆ อาทิ ความพอเพียงด้านจิตใจ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ในระดับที่สูง ทั้งนี้เพราะเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่สามารถพึ่งตนเองได้ในด้านอาหาร และปัจจัยการผลิต ถึงแม้ข้อมูลด้านเศรษฐกิจที่ค้นพบ จะระบุว่าเกษตรกรจะมีรายรับที่ต่างจากรายจ่ายไม่มากนักก็ตาม แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงเชื่อมั่นว่าระบบเกษตรอินทรีย์จะทำให้อยู่รอดได้ ทั้งนี้เนื่องจากหลักในการวิเคราะห์ความพอเพียงของเกษตรกรในพื้นที่ ผู้วิจัยได้ใช้หลักความสามารถในการพึ่งตนเอง เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรที่ยอมรับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากความเชื่อและศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รองลงมาเกษตรกรเชื่อว่าแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้สามารถลดรายจ่ายในด้านปัจจัยการผลิต และปัจจัยในการดำรงชีวิตประจำวันได้ โดยมีปัจจัยเอื้อที่ทำให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจในการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่สำคัญ อาทิ ความพร้อมด้านฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกร ความสามัคคีในครอบครัว ที่ตั้งฟาร์มและแหล่งน้ำ ส่วนประเด็นที่เป็นอุปสรรค คือเรื่องภาระหนี้สิน ความยากจน ความร่วมมือของคนในครอบครัว และนิสัยส่วนตัวของเกษตรกร | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | ระบบเกษตรอินทรีย์ในบริบทของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ในเขตลุ่มน้ำแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Organic Farming System in the Context of Sufficiency Economy: Case Study of Organic Farmers in Mae Rim Watershed, Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 30 | en_US |
article.stream.affiliations | ศูนย์การศึกษาและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180 | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200 | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.