Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64371
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนิพนธ์ กิติดีen_US
dc.contributor.authorโสระยา ร่วมรังษีen_US
dc.contributor.authorณัฐา โพธาภรณ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:04Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:04Z-
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00120_C00898.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64371-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการศึกษาผลของอุณหภูมิอากาศและสภาพดินต่อวงจรชีวิตของกล้วยไม้ดินนางกราย (Habenaria lindleyana Steud.) ที่พบในป่าเต็งรัง บริเวณศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 พบว่า อุณหภูมิดินและอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยในฤดูร้อนอยู่ที่ 34.0 ±3.3 และ 34.1 ±3.2 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกับอุณหภูมิดินและอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยในฤดูฝนที่ 29.4 ±2.2 และ 29.5 ±2.2 องศาเซลเซียส และฤดูหนาว 30.0 ±3.5 และ 30.4 ±2.9 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ส่วนค่าความชื้นในดินเฉลี่ยในฤดูร้อนฤดูฝน และฤดูหนาวเป็น 58.5 ±14.1, 77.4 ±8.8 และ 52.7 ±13.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่ค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดิน และความเข้มข้นของฟอสฟอรัสที่สามารถเป็นประโยชน์ได้ของดินในแต่ละฤดูกาลมีค่าที่ใกล้เคียงกัน ยกเว้นความเข้มข้นของโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ในดินในฤดูร้อนอยู่ที่ 544.11 ±125.12 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งมีค่าสูงกว่าในฤดูฝน 201.11 ±124.13 และฤดูหนาว 165.78 ±470.39 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ การศึกษาวงจรชีวิตของกล้วยไม้ดินนางกรายในช่วงเวลา 1 ปี พบว่า กล้วยไม้ดินชนิดนี้มีการพักตัวในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคมหลังจากผ่านการพักตัวแล้วจึงเริ่มมีการเจริญเติบโตโดยแทงส่วนของใบออกมาในช่วงปลายเดือนมีนาคม จากนั้นช่วงเดือนมิถุนายนมีการสร้างหัวใหม่ เริ่มแทงช่อดอกในเดือนกรกฎาคมและดอกบานในเดือนกันยายน ส่วนที่อยู่เหนือดินเริ่มแห้งและเข้าสู่ระยะพักตัวในเดือนตุลาคมen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleผลของอุณหภูมิอากาศและสภาพดินต่อวงจรชีวิตกล้วยไม้ดินนางกราย (Habenaria lindleyana Steud.)en_US
dc.title.alternativeEffects of Ambient Temperature and Soil Conditions on Life Cycle of Terrestrial Orchid, Habenaria lindleyana Steud.en_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume29en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.