Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64370
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปรียาภรณ์ ลี้ธิติen_US
dc.contributor.authorลพ ภวภูตานนท์en_US
dc.contributor.authorวชิรญา อิ่มสบายen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:04Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:04Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=121&CID=910en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64370-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractปัญหาสำคัญของไม้ตัดดอก คือ มีอายุปักแจกันสั้นและเสื่อมคุณภาพเร็ว อาจเนื่องจากดอกไม้เกิดการขาดน้ำ โดยเกิดจากการอุดตันของท่อลำเลียงน้ำ ซึ่งมีด้วยกันหลายสาเหตุ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการอุดตันของท่อลำเลียงน้ำในไม้ดอกสามชนิด ได้แก่ ดอกกล้วยไม้หวายพันธุ์ขาวสนาน ดอกบัวหลวงพันธุ์สัตตบุษย์และดอกพุทธรักษา พบว่าจากการตัดก้านดอกในอากาศหรือใต้น้ำ หรือทิ้งให้ขาดน้ำ 1 ชั่วโมง ก่อนปักแจกันในน้ำกลั่น ไม่ได้ทำให้ดอกไม้มีอัตราการดูดน้ำแตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปได้ว่าฟองอากาศไม่ได้เป็นสาเหตุของการอุดตันท่อลำเลียงในดอกไม้เหล่านี้ เมื่อปักแจกันในสารละลาย 8-hydroxyquinoline sulfate (HQS; 200 mg/L) พบว่าดอกกล้วยไม้มีอัตราการดูดน้ำสูงกว่าการปักแจกันในน้ำกลั่น ขณะที่ดอกบัวหลวงและดอกพุทธรักษามีอัตราการดูดน้ำและอายุปักแจกันไม่แตกต่างกัน ส่วนการปักแจกันดอกไม้ทั้งสามชนิดในสารละลายที่มีสารยับยั้งการสร้างสารประกอบฟีนอล ได้แก่ S-carvone (0.032-0.636 mM), tropolone (0.25 และ 0.5 mM) และ 4-hexylresorcinol (4-400 µM) และ amitol (1, 2, 3, 5 และ 10 mM) พบว่าดอกไม้ทั้งสามชนิดมีอัตราการดูดน้ำและอายุปักแจกันไม่แตกต่างจากการปักแจกันในน้ำกลั่น ยกเว้นดอกกล้วยไม้ที่ปักแจกันในสารละลาย 4-hexylresorcinol และ amitol ที่มีอายุปักแจกันนานกว่าการปักแจกันในน้ำกลั่น แสดงให้เห็นว่าการอุดตันของท่อลำเลียงน้ำในดอกกล้วยไม้อาจเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ร่วมกับการสร้างสารประกอบฟีนอล ขณะที่การอุดตันของท่อลำเลียงน้ำของดอกบัวหลวงและดอกพุทธรักษาอาจไม่ได้เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ และการสร้างสารประกอบฟีนอลบริเวณ รอยตัดen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการอุดตันของท่อลำเลียงในก้านดอกกล้วยไม้ บัวหลวง และพุทธรักษาen_US
dc.title.alternativeFlower Stem Blockage in Cut Orchid, Lotus, and Cannaen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume30en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140en_US
article.stream.affiliationsศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรุงเทพฯ 10400en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.