Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64368
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุจริตพรรณ บุญมีen_US
dc.contributor.authorเกวลิน คุณาศักดากุลen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:04Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:04Z-
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00120_C00901.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64368-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อตรวจสอบผลของน้ำออกซิไดซ์ที่ผ่านการแยกด้วยไฟฟ้า (electrolyzed oxidizing water: น้ำ EO) ต่อการงอกของ conidia และการลดโรคราแป้งที่เกิดจากเชื้อรา Fibroidium sp. ของพืชวงศ์แตง (แตงกวาญี่ปุ่น) โดยเตรียมเชื้อราแป้งจากการเก็บ colony ของเชื้อราจากพืชที่เป็นโรคในสภาพธรรมชาติ แล้วนำเชื้อไปปลูกบนต้นกล้าแตงกวาญี่ปุ่นที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ และเตรียมน้ำ EO โดยใช้เครื่องผลิตน้ำออกซิไดซ์ Super Oxseed Labo (wonder BJ F850) จากสารละลาย NaCl ความเข้มข้น 0.05, 0.1, 0.2, 0.3, 0.4 และ 0.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งพบว่าน้ำ EO ที่ผลิตได้มีค่า pH อยู่ในช่วง 3.71-3.93 และมีค่า electrolyte conductivity (EC) อยู่ระหว่าง 1.81-4.13 mS/cm เมื่อวัดค่าคลอรีนอิสระ (available free chlorine) ด้วยวิธี N, N-diethyl-p-phenylenediamine (DPD) พบมีค่าอยู่ในช่วง 18.7-165 ppm จากการทดสอบการยับยั้งการงอกของ conidia ด้วยการพ่นน้ำ EO ลงบน conidia ของเชื้อราแป้งที่ติดบนชิ้นวุ้น และบ่มเชื้อไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 และ 24 ชั่วโมง พบว่าน้ำ EO ความเข้มข้น 0.1-0.5 เปอร์เซ็นต์ มีผลยับยั้งการงอกของ conidia ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ความเข้มข้น 0.05 เปอร์เซ็นต์ และชุดควบคุม (น้ำกลั่นฆ่าเชื้อ) พบความงอกของ conidia เท่ากับ 67.78 และ 71.11 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามการทดสอบความเป็นพิษของน้ำ EO ที่มีต่อพืช พบว่าที่ความเข้มข้น 0.4 และ 0.5 เปอร์เซ็นต์ ทำให้พืชเกิดอาการยอดไหม้ หลังจากพ่น 3 วัน สำหรับการลดโรคราแป้งบนแตงกวาญี่ปุ่นในสภาพโรงเรือน พบว่าเมื่อพ่นด้วยน้ำ EO ความเข้มข้น 0.3 เปอร์เซ็นต์ สามารถควบคุมการเกิดโรคได้ดีที่สุด ซึ่งสามารถลดอัตราการเกิดโรคได้ 29.70 เปอร์เซ็นต์ และทำให้การขยายขนาดของ colony เชื้อราแป้งลดลง อีกทั้งพบการยุบตัวของเส้นใยและ conidiophore นอกจากนี้ยังพบว่าความหนาแน่นของ conidia ต่อ colony ในทุกความเข้มข้นของน้ำ EO มีจำนวนลดลงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม (น้ำกลั่น)en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleผลของน้ำออกซิไดซ์ที่ผ่านการแยกด้วยไฟฟ้าต่อการลดโรคราแป้งในพืชวงศ์แตงen_US
dc.title.alternativeEffects of Electrolyzed Oxidizing Water on Powdery Mildew Reduction of Cucurbitsen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume29en_US
article.stream.affiliationsภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.