Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64366
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | บัวทอง แก้วหล้า | en_US |
dc.contributor.author | วรทัศน์ อินทรัคคัมพร | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:04Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:04Z | - |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00120_C00903.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64366 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการยอมรับการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ ของเกษตรกรในอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านบุคคล เศรษฐกิจและสังคม ที่มีผลต่อการยอมรับการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 280 ราย ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 36 ปี มีแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 3 คน มีขนาดพื้นที่ถือครองทั้งหมดเฉลี่ย 11.98 ไร่ ส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนในการเลี้ยงโคเนื้อ พันธุ์โคเนื้อที่นิยมเลี้ยง คือ ลูกผสมอเมริกันบราห์มัน 50 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรมีการเลี้ยงโคเฉลี่ยจำนวน 9 ตัว มีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 20 ปี เกษตรกรร้อยละ 54.3 สามารถยอมรับตามมาตรฐานการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อในระดับมาก การศึกษาปัจจัยการยอมรับการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า อายุ รายได้จากการขายโคเนื้อ จำนวนโคที่เลี้ยง การได้รับข้อมูลข่าวสาร และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม มีความสัมพันธ์กับระดับการยอมรับตามมาตรฐานการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 เกษตรกรมีปัญหา อุปสรรคในการยอมรับมาตรฐานการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้ออยู่ในระดับปานกลาง ประเด็นปัญหาที่สำคัญ คือ พันธุ์โคที่ดี การฉีดวัคซีนป้องกันโรค และความยุ่งยากในการจัดการทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงโค (อาหารธรรมชาติ) ข้อเสนอแนะจากเกษตรกร คือ ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการฝึกอบรมแก่เกษตรกร ได้แก่ ด้านการถนอมอาหารสัตว์ด้วยการหมัก (หญ้าสดหรือหญ้าแห้ง) การทำอาหารเสริมและแร่ธาตุ การให้บริการผสมพันธุ์เทียมสัตว์ และวิธีการป้องกันการดูแลรักษาสุขภาพสัตว์ โดยการอบรมให้มีอาสาพัฒนาปศุสัตว์ภายในหมู่บ้าน | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร ในอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | en_US |
dc.title.alternative | Factors Related to Farmers’ Adoption in Beef Cattle Raising Extension in Nonghad District, Xieng Khouang Province, Lao PDR | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 29 | en_US |
article.stream.affiliations | กรมส่งเสริมการเกษตร และสหกรณ์ นครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.