Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64365
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วรุตม์ ใจปิน | en_US |
dc.contributor.author | สรัญยา ณ ลำปาง | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:04Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:04Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=121&CID=905 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64365 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | เก็บรวบรวมเชื้อรา Colletotrichum sp. สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของสตรอว์เบอร์รีจากแปลงปลูกในเขตอำเภอ สะเมิง อำเภอเมือง อำเภอแม่ริม และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ได้เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides จำนวน 63 ไอโซเลท เมื่อทดสอบความต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม พบเชื้อราที่ต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราระดับสูง (HR) ระดับต่ำ (WR) และอ่อนแอต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม (S) จำนวน 31, 5 และ 27 ไอโซเลท ตามลำดับ จากนั้นทำการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสจำนวน 6 ไอโซเลท ได้แก่ NSP1, NSP2, NSP3, NSP4, NSP5 และ NSP6 ซึ่งเป็นเชื้อแอกติโนไมซีสที่แยกจากดินบริเวณป่าอุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุย ในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioides ไอโซเลท Cg_MCL8 ซึ่งเป็นตัวแทนของเชื้อราในกลุ่มสายพันธุ์ที่ต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิมระดับสูง (HR) โดยวิธี dual culture พบว่าเชื้อแอกติโนไมซีสทั้ง 6 ไอโซเลท มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราอยู่ในช่วง 76.18-79.52 เปอร์เซ็นต์ เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อ แอกติโนไมซีสที่เลี้ยงในอาหารเหลวในรูปของ cell suspensions และ culture filtrate ในการยับยั้งการงอกสปอร์ของ เชื้อราด้วยวิธี slide culture พบว่าเมื่อผ่านไป 6 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อราอยู่ในช่วง 52.38-67.16 และ 51.10-61.69 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และยังพบว่าเชื้อแอกติโนไมซีสที่เลี้ยงในอาหารเหลวในรูปของ cell suspensions และ culture filtrate มีผลในการช่วยชะลอการงอกของ germ tube ซึ่งความยาวของ germ tube ในชุดทดสอบมีความยาวเท่ากับ 117.66 และ 133.90 µm ตามลำดับ เมื่อเทียบกับชุดควบคุมซึ่งมีความยาว germ tube เท่ากับ 261.90 µm อีกทั้งยังมีผลทำให้การงอกของสปอร์เชื้อราสาเหตุโรคมีลักษณะผิดปกติเมื่อเทียบกับชุดควบคุม | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | ผลของเชื้อแอกติโนไมซีสจากดินต่อการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของสตรอว์เบอร์รีที่ต้านทานต่อคาร์เบนดาซิม | en_US |
dc.title.alternative | Effect of Soil Actinomycetes on Growth of Carbendazim-resistance Colletotrichum gloeosporioides Causing Strawberry Anthracnose | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 30 | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.