Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64350
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณรกมล เลาห์รอดพันธ์en_US
dc.contributor.authorโชค มิเกล็ดen_US
dc.contributor.authorณัฐพล จงกสิกิจen_US
dc.contributor.authorจิรวัฒน์ พัสระen_US
dc.contributor.authorเสาวลักษณ์ แย้มหมื่นอาจen_US
dc.contributor.authorวิสูตร ศิริณุพงษานันท์en_US
dc.contributor.authorอำพล วริทธิธรรมen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:03Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:03Z-
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00118_C00882.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64350-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณโภชนะที่ย่อยได้ และกระบวนการหมักย่อยในกระเพาะหมักของโคพื้นเมืองเจาะกระเพาะที่ได้รับกากมันสำปะหลังแห้งจากการผลิตเอทานอลในสูตรอาหาร โดยศึกษาในโคพื้นเมือง ที่เจาะกระเพาะรูเมนสอดท่อ rumen fistula จำนวน 4 ตัว วางแผนการทดลองแบบ Crossover Designs แบ่งการทดลองออกเป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุม (DCP 0) และกลุ่มที่ได้รับกากมันสำปะหลังแห้งจากการผลิตเอทานอลทดแทนแหล่งอาหารพลังงานที่ระดับ 15, 30 และ 45 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร (DCP 15, 30 และ 45) ผลจากการทดลองพบว่าค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง โปรตีน เยื่อใยที่ละลายได้ในสารซักล้างที่เป็นกลาง เยื่อใยที่ละลายได้ในกรด และคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยได้ง่าย รวมทั้งค่าความเป็นกรด-ด่างไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) แต่ค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของไขมันรวมของกลุ่ม DCP 0 สูงกว่ากลุ่ม DCP 30 (P < 0.05) ปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจนทุกกลุ่มเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือเพิ่มขึ้นหลังจากการให้อาหาร 1 ชั่วโมง และลดลงในชั่วโมงที่ 2 3 และ 4 แต่ไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) การสลายตัวของวัตถุแห้งในชั่วโมงที่ 24 และ 48 เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือกลุ่ม DCP 0 และกลุ่ม DCP 15 สูงกว่ากลุ่ม DCP 45 (P < 0.05) ส่วนอัตราการสลายตัวของวัตถุแห้ง (c) และประสิทธิภาพการสลายตัวที่อัตรา 0.05 ส่วนต่อชั่วโมง (ED0.05) ลดลงตามระดับของกากมันสำปะหลังแห้งในสูตรอาหาร ปริมาณแก๊สที่เกิดขึ้นในชั่วโมงที่ 16 และ 24 ของกลุ่ม DCP 0 สูงกว่ากลุ่ม DCP 45 (P < 0.05) พลังงานรวมย่อยได้ (TDN) และพลังงานใช้ประโยชน์ได้ (ME) ของกลุ่ม DCP 15 สูงกว่าระดับอื่น ๆ การใช้กากมันสำปะหลังแห้งที่ระดับ 15 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหารเป็นระดับที่เหมาะสมใช้โดยไม่ส่งผลเสียต่อระบบการย่อยของโคพื้นเมืองen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleผลของระดับการใช้กากมันสำปะหลังแห้งจากการผลิตเอทานอลในสูตรอาหารต่อกระบวนการหมักย่อยในกระเพาะหมักและการย่อยได้ในโคพื้นเมืองเจาะกระเพาะen_US
dc.title.alternativeEffects of the Level of Dried Cassava Pulp from Ethanol Process in the Ration on Rumen Fermentation and Digestibility in Fistulated Thai Native Bullen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume29en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200en_US
article.stream.affiliationsศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ลำปาง กรมปศุสัตว์ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 52190en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.