Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64338
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เกวลิน คุณาศักดากุล | en_US |
dc.contributor.author | ชัยพร ขัดสงคราม | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:03Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:03Z | - |
dc.date.issued | 2555 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00117_C00871.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64338 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | แยกเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ (endophytic actinomycete) จากเปลือกผลของลำไยพันธุ์ดอบนอาหาร IMA-2 ได้เชื้อทั้งหมด 24 ไอโซเลท เมื่อนำมาศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา ตรวจดูการแตกแขนงของเส้นใยและการจัดเรียงตัวของสปอร์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่า ทุกไอโซเลทอาจจัดอยู่ในสกุล Streptomyces sp. เมื่อนำมาคัดกรองให้ได้เชื้อที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าของลำไย ได้แก่ Pestalotiopsis sp., Lasiodiplodia sp. และ Trichothecium sp. บนอาหาร IMA-2 พบว่า ไอโซเลท DIM8, DIM9, DIM15 และ DIM19 สามารถยับยั้งเชื้อ Pestalotiopsis sp. ส่วนไอโซเลท DIM4, DIM12, DIM15, DIM16, DIM20 และ DIM25 ยับยั้งเชื้อ Lasiodiplodia sp. และไอโซเลท DIM3, DIM5, DIM15, DIM25 และ DIM26 ยับยั้งเชื้อ Trichothecium sp. และเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเชื้อไอโซเลทดังกล่าวข้างต้นกับเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ที่แยกจากพืชสมุนไพร ได้แก่ ไอโซเลท CEN26, COF4, GAR1, HOU2 และ NEE1 พบว่า ให้ผลใกล้เคียงกัน เมื่อนำเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อสาเหตุโรคผลเน่าของลำไยบนอาหาร ISP-2 พบเปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูงกว่าการทดสอบบนอาหาร IMA-2 โดยไอโซเลท DIM15 สามารถยับยั้งเชื้อ Pestalotiopsis sp. และ Lasiodiplodia sp. ได้ดีที่สุดในระดับสูงมาก ที่ 87.10 และ 73.82 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าการทดสอบบนอาหาร IMA-2 เท่ากับ 86.43 และ 80.58 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับการควบคุมเชื้อ Trichothecium sp. นั้น พบว่า ไอโซเลท GAR1 สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ ได้ดีที่สุดที่ 89.68 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจัดว่ามีประสิทธิภาพการยับยั้งในระดับสูงมากเช่นกัน จากผลการทดลองครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการนำเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ ไอโซเลทดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์ใช้ในการลดการใช้สารเคมีเพื่อการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวของลำไยได้ในอนาคต | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | การคัดเลือกเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าของลำไย | en_US |
dc.title.alternative | Selection of Endophytic Actinomycetes Against Fruit-rot Fungi of Longan | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 28 | en_US |
article.stream.affiliations | สาขาวิชาโรคพืช ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200 | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.