Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64331
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorตฤณ เสรเมธากุลen_US
dc.contributor.authorสุนทร คำยองen_US
dc.contributor.authorนิวัติ อนงค์รักษ์en_US
dc.contributor.authorธนูชัย กองแก้วen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:02Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:02Z-
dc.date.issued2555en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00117_C00864.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64331-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการวิจัยเกี่ยวกับลักษณะดิน ปริมาณคาร์บอนและธาตุอาหารสะสมในดินป่าสนธรรมชาติ 4 ชนิดย่อยได้ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ สามชนิดแรกเป็นป่าสนผสมเต็งรังคือ ป่าสนผสมเหียง พลวงและเต็ง ชนิดที่สี่คือ ป่าสนผสมป่าดิบเขา (ไม้ก่อ) เก็บตัวอย่างดินตามความลึกในป่าแต่ละชนิดเพื่อวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมี พบว่า ดินในป่าเหล่านี้จัดอยู่ในอันดับ Ultisols มีดินลึกมากกว่าหนึ่งเมตร พัฒนาการของชั้นดินสูงและสะสมดินเหนียวในดินชั้นล่างมาก มีความแตกต่างของสมบัติทางกายภาพน้อย ดินมีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง ดินบนเป็นดินเหนียวปนทรายถึงร่วนเหนียว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH, 5.4-6.5) ดินล่างเป็นดินเหนียวและมีปฏิกิริยาเป็นกรดปานกลางถึงกรดเล็กน้อย (pH, 5.6-6.1) ปริมาณอินทรียวัตถุ คาร์บอนและไนโตรเจนสะสมในดินลึก 100 เซนติเมตร มีมากที่สุดในป่าสนผสมก่อ มีค่า 146.5, 85.0 และ 5.11 Mg.ha-1 ตามลำดับ รองลงไปคือ ดินป่าสนผสมเต็ง พลวงและน้อยที่สุดในป่าสนผสมเหียง ปริมาณฟอสฟอรัส แคลเซียมและแมกนีเซียมที่สกัดได้มีมากที่สุดในดินป่าสนผสมเหียง (29.1, 1,210.1 และ 1,287.5 kg.ha-1) ส่วนโพแทสเซียมมีมากที่สุดในป่าสนผสมเต็ง (1,328.9 kg.ha-1)en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleสมบัติของดินกับการสะสมคาร์บอนและธาตุอาหารในป่าสนธรรมชาติ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeSoil Properties and Carbon-nutrient Storages in Natural Pine Forest, Kunlayaniwattana District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume28en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานครen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.