Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64306
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชญาณิศวร์ อินใจวงค์en_US
dc.contributor.authorวีระพร ศุทธากรณ์en_US
dc.contributor.authorวันเพ็ญ ทรงคำen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:01Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:01Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97849/76231en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64306-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractภาระงานทางกายเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาระงานทางกาย อาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ และความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานทางกายและอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อของคนทำงานเซรามิก กลุ่มตัวอย่าง คือ คนงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก จำนวน 335 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ดัชนีชี้วัดภาระงานทางกายและแบบสัมภาษณ์อาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาระงานทางกายอยู่ในระดับสูง ปานกลาง และต่ำ คือร้อยละ 18.81 ร้อยละ 68.95 และร้อยละ 12.24 ตามลำดับ โดยขั้นตอนการทำงานที่มีภาระงานทางกายอยู่ในระดับสูงมากที่สุดคือ ขั้นตอนการเผาผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ 67.86) การเตรียมดิน (ร้อยละ 41.30) และการขึ้นรูป (ร้อยละ 20.22) ตามลำดับ ส่วนอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อในช่วง 12 เดือน และ7 วันที่ผ่านมาของกลุ่มตัวอย่างพบ ร้อยละ 90.15 และร้อยละ 60.49 ตามลำดับ โดยพบอาการผิดปกติบริเวณไหล่มากที่สุด คือร้อยละ 88.41 และร้อยละ 74.76 รองลงมาคือบริเวณข้อมือ/มือ ร้อยละ 78.81 และร้อยละ 63.11 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ภาระงานทางกายมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อเฉพาะในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rbp = .112, p = .040) โดยพบความสัมพันธ์ทางบวกกับส่วนของร่างกายที่มีอาการผิดปกติ คือบริเวณไหล่ หลังส่วนล่าง และสะโพก/ต้นขา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rbp = .179, p = .001, rbp = .133, p = .015 และ rbp = .184, p = .001 ตามลำดับ) ส่วนความสัมพันธ์ของภาระงานทางกายกับอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ พบเฉพาะในส่วนของบริเวณหลังส่วนล่าง (rbp = .139, p = .011) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า คนทำงานเซรามิกมีความเสี่ยงจากภาระงานทางกาย ที่ส่งผลต่อการเกิดอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณไหล่ และหลังส่วนล่าง ที่ควรนำมาจัดการด้านอาชีวอนามัยที่เหมาะสมต่อไปen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleภาระงานทางกายและอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อของคนทำงานเซรามิกen_US
dc.title.alternativePhysical Workload and MusculoskeletalDisorders Among CeramicWorkersen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.