Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64304
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพิมพ์พิสาข์ จอมศรีen_US
dc.contributor.authorอภินันท์ อร่ามรัตน์en_US
dc.contributor.authorเพ็ญประภา ศิวิโรจน์en_US
dc.contributor.authorสำราญ กันทวีen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:01Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:01Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97858/76238en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64304-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractสถานการณ์การใช้สารเสพติดตั้งแต่ปี 2549 จนกระทั่งปี 2556 ของประชากรโลกยังไม่มีแนวโน้มลดลง เช่นเดียวกับสถานการณ์ในประเทศไทยซึ่งพบว่านักเรียนอาชีวศึกษามีแนวโน้มการใช้สารเสพติดเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น งานวิจัยฉบับนี้จึงสนใจศึกษาความชุกของการใช้สารเสพติด และความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สารเสพติดกับพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจทั้ง 4 องค์ประกอบ ในนักเรียนอาชีวศึกษาทั้งที่ใช้และไม่ใช้สารเสพติด วิธีการวิจัย ใช้การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ทำการศึกษาในนักเรียนอาชีวศึกษาจำนวน 581 คน (อายุ 15 – 25 ปี) ในโรงเรียนอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนบน โดยใช้แบบสอบถามโดยให้ตอบด้วยตนเอง (ข้อมูลส่วนบุคคล และพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจ) และใช้แบบสัมภาษณ์การคัดกรองประสบการณ์การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ เช่น ความถี่ ร้อยละ Independence t-test และ binary logistic regression ผลการวิจัย ใช้การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ทำการศึกษาในนักเรียนอาชีวศึกษาจำนวน 581 คน (อายุ 15 – 25 ปี) ในโรงเรียนอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนบน โดยใช้แบบสอบถามโดยให้ตอบด้วยตนเอง (ข้อมูลส่วนบุคคล และพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจ) และใช้แบบสัมภาษณ์การคัดกรองประสบการณ์การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ เช่น ความถี่ ร้อยละ Independence t-test และ binary logistic regression ผลการวิจัย สารเสพติดที่นักเรียนอาชีวศึกษาเคยใช้อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต มีดังต่อไปนี้ ดื่มสุราร้อยละ 47.5 สูบบุหรี่ร้อยละ 36.1 ใช้กัญชาร้อยละ 9.5 และใช้เมทแอมเฟตามีนร้อยละ 8.8 สำหรับพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจของนักเรียนอาชีวศึกษาพบว่า นักเรียนมีคะแนนด้านแสวงหาการผจญภัยสูงที่สุด รองมาคือด้านแสวงหาประสบการณ์ ด้านการไม่ยับยั้งชั่งใจ และด้านความรู้สึกไวต่อความเบื่อหน่าย ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจกับการใช้สารเสพติดพบว่า คะแนนด้านการไม่ยับยั้งชั่งใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเป็นผู้ใช้สารเสพติด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะ โปรแกรมป้องกันการใช้สารเสพติดในนักเรียนอาชีวศึกษาควรให้ความสำคัญกับพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจ โดยการให้โปรแกรมควรสามารถเติมเต็มความต้องการในพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจด้วยen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความชุกของการใช้สารเสพติด และความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สารเสพติดกับพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจของนักเรียนอาชีวศึกษาen_US
dc.title.alternativePrevalence of Substance Used, and Association between Substances Used with Sensation Seeking among Vocational Studentsen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงรายen_US
article.stream.affiliationsคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ภาคเหนือen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.