Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64299
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนันทพร แสนศิริพันธ์en_US
dc.contributor.authorฉวี เบาทรวงen_US
dc.contributor.authorประทุม สร้อยวงค์en_US
dc.contributor.authorนงค์เยาว์ แสงคำen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:01Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:01Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97832/76220en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64299-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการประเมินความกลัวการคลอดบุตรในผู้เป็นบิดา ต้องการแบบสอบถามที่มีความเฉพาะสำหรับ ผู้เป็นบิดา ทั้งนี้เนื่องจากขณะที่ภรรยาตั้งครรภ์และคลอดบุตร ผู้จะเป็นบิดาต้องพบกับความท้าทาย ความกดดันต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์เช่นเดียวกับผู้เป็นภรรยา การคลอดบุตรเป็นสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ จึงส่งผลให้ผู้จะเป็นบิดาเกิดความรู้สึกกลัวเกี่ยวกับการคลอดบุตรเช่นกัน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแบบวัดความกลัวการคลอดบุตรของผู้เป็นบิดา แบ่งการศึกษาเป็นสองส่วน คือ ระยะที่หนึ่ง เป็นการสร้างข้อความจากข้อมูลและแนวคิดที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับความกลัวการคลอดบุตร และระยะที่ 2 นำแบบสอบถามจากระยะที่ 1 ซึ่งปรับปรุงแล้ว ไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษา พบว่า ระยะที่ 1 ได้ข้อคำถามทั้งหมด 43 ข้อ ตรวจสอบความตรงเชิงประจักษ์ โดยผู้เป็นบิดา 2 ท่าน ผู้วิจัยปรับปรุงความชัดเจนของคำถามตามข้อเสนอแนะ ทำการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 6 ท่าน หาค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (content validity index: CVI) ทั้งแบบรายข้อ (I-CVI) และทั้งฉบับ (S-CVI) โดยได้ค่า I-CVI ของแต่ละข้อคำถามอยู่ในช่วง .30 -1.0 และค่า S-CVI เท่ากับ .83 ผู้วิจัยดำเนินการปรับปรุงข้อคำถามตามข้อเสนอแนะ โดยเนื้อหาได้ถูกปรับลดลงจาก 43 ข้อความ เหลือ 37 ข้อความ ลักษณะของแบบวัดเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 6 ระดับ ทำการหาความเชื่อมั่นโดยนำไปทดสอบในกลุ่มตัวอย่างผู้เป็นบิดาจำนวน 50 คน คำนวณหาค่าความสอดคล้องของเครื่องมือ (internal consistency reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิครอนบาคอัลฟา (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ .95 ระยะที่ 2 นำแบบสอบถามจากระยะที่ 1 จำนวน 37 ข้อ ไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างผู้เป็นบิดาจำนวน 250 คน ตรวจสอบความตรงตามสภาพปัจจุบัน โดยนำแบบวัดความกลัวการคลอดบุตรของผู้เป็นบิดาไปหาค่าความสัมพันธ์กับแบบสอบถามความวิตกกังวลขณะเผชิญ ได้ค่าความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง (r = .47, p <.01) และความตรงตามโครงสร้าง ตรวจสอบโดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัย (factor analysis) ผลการวิเคราะห์สามารถจัดข้อความที่มีความสัมพันธ์อยู่ในปัจจัยเดียวกันได้ 5 ปัจจัย โดยมีค่าสัมประสิทธิครอนบาคอัลฟาของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .95 และอีก 5 ปัจจัย ได้แก่ ความกลัวเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และกระบวนการคลอด สุขภาพของภรรยา สุขภาพของบุตร ตัวบิดา และอนาคต ได้ค่าเท่ากับ .85, .90, .84, .91 และ .75 ตามลำดับ ผลการศึกษาครั้งนี้ ได้แบบสอบถามที่มีความตรงและความเชื่อมั่น ซึ่งพยาบาลและผดุงครรภ์สามารถนำแบบวัดความกลัวการคลอดบุตรของผู้เป็นบิดานี้ ไปใช้ประเมินความกลัวเกี่ยวกับการคลอดบุตรของผู้เป็นบิดาเพื่อให้การดูแลผู้เป็นบิดาอย่างได้เหมาะสมen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาแบบวัดความกลัวการคลอดบุตรของผู้เป็นบิดาen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Paternal Fear of Childbirth Scaleen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.