Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64293
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศลิษา โกดยี่ | en_US |
dc.contributor.author | มาลี เอื้ออำนวย | en_US |
dc.contributor.author | พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:00Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:00Z | - |
dc.date.issued | 2560 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0081 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97837/76225 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64293 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | ระดับความดังเสียงที่สูงในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดรบกวนระยะหลับตื่นของทารกเกิดก่อนกำหนดส่งผลให้พัฒนาการของสมองและระบบประสาทสัมผัสของทารกผิดปกติ การวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียวแบบไขว้ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสวมหมวกลดระดับเสียงต่อระยะหลับตื่นของทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุหลังปฏิสนธิ 34-36 สัปดาห์ และได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนกันยายน 2557 กลุ่มตัวอย่างมีกลุ่มเดียว ทำการทดลองแบบไขว้ โดยเหตุการณ์ทดลองทารกได้รับการสวมหมวกลดระดับเสียง ส่วนเหตุการณ์ควบคุมทารกไม่ได้รับการสวมหมวกลดระดับเสียง ทารกอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามปกติของหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด ผู้วิจัยทำการบันทึกวีดิทัศน์ระยะหลับตื่นของทารก โดยใช้แบบบันทึกระยะหลับตื่นของทารกเกิดก่อนกำหนดของ เพ็ญจิตร ธนเจริญพิพัฒน์ (2544) ซึ่งดัดแปลงมาจากแบบประเมินพฤติกรรมทารกแรกเกิด ของบราเซลตัน (Brazelton & Nugent, 1995) โดยผ่านการตรวจสอบเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นของการสังเกตระหว่างผู้วิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิ และค่าความเชื่อมั่นของการสังเกตของผู้วิจัยได้เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที (paired t-test) ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า 1. ค่าเฉลี่ยระยะหลับรวมของทารกเกิดก่อนกำหนดในเหตุการณ์ทดลองมากกว่าในเหตุการณ์ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.029) 2. ค่าเฉลี่ยระยะหลับลึกของทารกเกิดก่อนกำหนดในเหตุการณ์ทดลองมากกว่าในเหตุการณ์ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.004) 3. ค่าเฉลี่ยระยะหลับตื้นของทารกเกิดก่อนกำหนดในเหตุการณ์ทดลองและในเหตุการณ์ควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน (p=.395) 4. ค่าเฉลี่ยระยะตื่นของทารกเกิดก่อนกำหนดในเหตุการณ์ทดลองและในเหตุการณ์ควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน (p=.475) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการสวมหมวกลดระดับเสียงส่งเสริมระยะเวลาหลับลึกและหลับรวมของทารกเกิดก่อนกำหนดให้นานขึ้น ดังนั้นจึงควรสวมหมวกลดระดับเสียงให้แก่ทารกเกิดก่อนกำหนดที่อยู่ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดเพื่อส่งเสริมคุณภาพการหลับที่ดี | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลของการสวมหมวกลดระดับเสียงต่อระยะหลับตื่นของทารกเกิดก่อนกำหนด ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาล | en_US |
dc.title.alternative | Effect of Noise Reduction Cap Usage on Sleep-wake States of Hospitalized Preterm Infants | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | พยาบาลสาร | en_US |
article.volume | 44 | en_US |
article.stream.affiliations | คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย | en_US |
article.stream.affiliations | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.