Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64287
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพนิดา บุญนะโชติen_US
dc.contributor.authorจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อen_US
dc.contributor.authorอะเคื้อ อุณหเลขกะen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/91153/71593en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64287-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการดูแลช่องปากในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นกิจกรรมการพยาบาลที่มีความสำคัญช่วยป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ กลยุทธ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติที่ดีวิธีหนึ่งทำได้โดยการใช้กระบวนการทบทวนในกลุ่มเพื่อน การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการทำความสะอาดช่องปากในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤต และการลดลงของนิคมของเชื้อจุลชีพในช่องปากในผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ ระหว่างก่อนและหลังการใช้กระบวนการทบทวนในกลุ่มเพื่อน ศึกษาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2558ในโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ กรุงเทพมหานคร กลุ่มประชากรเป็นพยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบและปฏิบัติการทำความสะอาดช่องปากจำนวน 12 คน โดยศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ หอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ กรุงเทพมหานคร ได้ขนาดกลุ่มผู้ป่วยจำนวน 124 คน โดยแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มก่อนและหลังการใช้กระบวนทบทวนในกลุ่มเพื่อน จำนวนกลุ่มละ 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนดำเนินการแนวปฏิบัติการทำความสะอาดช่องปากในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ แบบบันทึกการสังเกตการทำความสะอาดช่องปากและแบบบันทึกผลการตรวจเพาะเชื้อจุลชีพในช่องปาก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหาของแบบบันทึกการสังเกตการทำความสะอาดช่องปากและแบบบันทึกผลการตรวจเพาะเชื้อจุลชีพในช่องปากเท่ากับ .99 และ 1.0 ตามลำดับและการหาความเชื่อมั่นของการสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลแต่ละคนได้เท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่าหลังการใช้กระบวนการทบทวนในกลุ่มเพื่อน พยาบาลมีการปฏิบัติกิจกรรมการทำความสะอาดช่องปากที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากร้อยละ 62.9 เป็นร้อยละ 90.3 (p < .01) ในด้าน 1) การประเมินช่องปาก 2) การให้ข้อมูลผู้ป่วย 3) การทำความสะอาดช่องปากและ4) การดูแลความสุขสบายภายหลังการทำความสะอาดช่องปากและมีสัดส่วนการลดลงนิคมของเชื้อจุลชีพในช่องปากมากกว่าก่อนใช้กระบวนการทบทวนในกลุ่มเพื่อนแต่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการทบทวนในกลุ่มเพื่อนมีผลให้พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยวิกฤต มีการปฏิบัติกิจกรรมการทำความสะอาดช่องปากในผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้นen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของกระบวนการทบทวนในกลุ่มเพื่อนต่อการดูแลช่องปากโดยพยาบาลและนิคมของเชื้อจุลชีพในช่องปากในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจen_US
dc.title.alternativeEffects of Peer Review Process on Oral Care Performed by Nurses and Colony of Oral Microorganisms in Mechanically Ventilated Patientsen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ จังหวัดกรุงเทพมหานครen_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.