Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64286
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุธิศา ล่ามช้าง | en_US |
dc.contributor.author | อมรรัชช์ งามสวย | en_US |
dc.contributor.author | อรพินท์ จันทร์ปัญญาสกุล | en_US |
dc.contributor.author | ปรีชา ล่ามช้าง | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:00Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:00Z | - |
dc.date.issued | 2560 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0081 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/91144/71586 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64286 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | อาการชักจากไข้สูงในเด็กเป็นสถานการณ์ที่น่าตกใจ ทำให้ผู้ดูแลมีความวิตกกังวลอย่างมาก อาจนำไปสู่การปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมต่อเด็ก การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวล การสื่อสารระหว่างผู้ดูแลและพยาบาล กับการปฏิบัติป้องกันอาการชักจากไข้ของผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันอายุ 6 เดือน ถึง 6 ปี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2559 จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความวิตกกังวล (The State - Trait Anxiety Inventory [STAI]) ของ สปิลเบอร์เกอร์และคณะ แปลเป็นภาษาไทยโดย ดาราวรรณ ต๊ะปินตา แบบประเมินการสื่อสารระหว่างผู้ปกครองกับพยาบาลของ ธันยมนย์ วงษ์ชีรี และแบบสอบถามการปฏิบัติป้องกันอาการชักจากไข้ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เท่ากับ 0.87 0.89 และ 0.73 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันมีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์และความวิตกกังวลแฝงระดับ ปานกลาง (= 46.56 S.D. = 8.07, = 43.52 S.D. = 7.75 ตามลำดับ) การสื่อสารระหว่างผู้ดูแลกับพยาบาลอยู่ระดับมาก (= 71.92 S.D. = 9.32) และการปฏิบัติป้องกันอาการชักจากไข้ของผู้ดูแล เด็กป่วยเฉียบพลันอยู่ระดับปานกลาง ( = 72.35 S.D. = 9.45) ความวิตกกังวลไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติป้องกันอาการชักจากไข้ของผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลัน แต่ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการสื่อสารระหว่างผู้ดูแลกับพยาบาล (rs = 0.34, p < .01) และความวิตกกังวลแฝงมีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำ กับการสื่อสารระหว่างผู้ดูแลกับพยาบาล (rs = - 0.24, p < .05) การสื่อสารระหว่างผู้ดูแลกับพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับการปฏิบัติป้องกันอาการชักจากไข้ของผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลัน (rs = 0.22, p < .05) ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าพยาบาลควรเพิ่มการสื่อสารกับผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลัน ทั้งการสื่อสารด้วยวาจาและการสื่อสารไม่ใช่วาจา ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันและส่งเสริมให้ผู้ดูแลสามารถปฏิบัติเพื่อป้องกันอาการชักจากไข้ได้อย่างเหมาะสม | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ความวิตกกังวล การสื่อสารระหว่างผู้ดูแลและพยาบาล และการปฏิบัติป้องกันอาการชักจากไข้ของผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลัน | en_US |
dc.title.alternative | Anxiety, Caregiver – Nurse Communication, and Febrile Seizure Preventing Practices Among Caregivers of Children with Acute Illnes | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | พยาบาลสาร | en_US |
article.volume | 44 | en_US |
article.stream.affiliations | คณะพยาบาลศาสตร์ หาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
article.stream.affiliations | โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.