Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64282
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมะลิวรรณ สุตาลังกาen_US
dc.contributor.authorมาลี เอื้ออำนวยen_US
dc.contributor.authorจุฑามาศ โชติบางen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/91125/71573en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64282-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการดูแลของมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนดอย่างเหมาะสม จะช่วยป้องกันปัญหาพัฒนาการของทารก การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์เพื่อศึกษาการดูแลของมารดาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ และทารกเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดโรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่งในภาคเหนือ จำนวน 85 ราย ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2557เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามการดูแลของมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนดตามการรับรู้ของมารดา 2) แบบประเมินความรุนแรงของความเจ็บป่วยของทารกเกิดก่อนกำหนดตามการรับรู้ของมารดา 3) แบบสอบถามการได้รับการเตรียมเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนด และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า 1. มารดาให้การดูแลในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนดโดยรวมเกือบทุกครั้งคิดเป็นร้อยละ 68.2 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามารดาให้การดูแลในด้านการจัดสิ่งแวดล้อมของทารกโดยการลดแสงและเสียงการส่งเสริมการพักหลับ และการทำแกงการู ทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 63.5, 58.8และร้อยละ 42.4 ตามลำดับ สำหรับด้านการจัดท่านอนให้เหมาะสมแก่ทารก และด้านการส่งเสริมให้ทารกปลอบโยนตนเอง พบว่ามารดาให้การดูแลเกือบทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 62.4 และร้อยละ 54.1 ตามลำดับ ส่วนด้านการส่งเสริมการดูดจุกนมหลอก มารดาให้การดูแลเพียงบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 52.9 2. การได้รับการเตรียมเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนดมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการดูแลของมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) แต่ความรุนแรงของความเจ็บป่วยของทารกเกิดก่อนกำหนดตามการรับรู้ของมารดา และความคิดเห็นของมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนดไม่มีความสัมพันธ์กับการดูแลของมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนด ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการดูแลของมารดา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนด การเตรียมมารดาอย่างมีประสิทธิภาพโดยพยาบาลจะทำให้มารดาสามารถให้การดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนดได้อย่างเหมาะสมen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการดูแลของมารดาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนดen_US
dc.title.alternativeMaternal Care and Related Factors in Developmental Care of Preterm Infantsen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปางen_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.