Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64279
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุนทรา พลเจริญen_US
dc.contributor.authorจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อen_US
dc.contributor.authorนงเยาว์ เกษตร์ภิบาลen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/93407/73165en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64279-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ของบุคลากรสุขภาพเป็นปัญหาด้านสุขภาพอย่างหนึ่ง และการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ที่มีประสิทธิภาพ คือ การรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพยากรณ์ (predictive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความ รุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรค ปัจจัยส่วนบุคคล และ สิ่งชักนำให้ปฏิบัติต่อการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1ของบุคลากรสุขภาพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 1,038 คน ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2556 ถึงเดือน เมษายน พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.86 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติการถดถอยพหุโลจิสติกส์ (multiple logistic regression) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ของบุคลากรสุขภาพมี 4 ปัจจัย คือ การเคยรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (OR=16.22, 95%CI=10.21-25.75, p<.001), การรับรู้ประโยชน์ของการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (OR=1.04, 95%CI=1.00-1.06, p=0.01), การรับรู้อุปสรรค (OR=0.97, 95%CI:= 0.95-0.98, p<.001) และสิ่งชักนำให้ปฏิบัติ (OR=1.05, 95%CI:= 1.02-1.09, p<.001) ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่บุคลากรด้านสุขภาพ สามารถใช้ในการวางแผนเพื่อกระตุ้นให้บุคลากรสุขภาพรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ในปีต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยทำนายการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ของบุคลากรสุขภาพen_US
dc.title.alternativePredicting Factors of Receiving InflfflluenzaType A H1N1 Vaccine Among Health Care Workersen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume43en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.