Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64278
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชมพูนุท ศรีรัตน์en_US
dc.contributor.authorศิริรัตน์ ปานอุทัยen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:01:59Z-
dc.date.available2019-05-07T10:01:59Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/91116/71564en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64278-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการเตรียมความพร้อมให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล อาจทำให้ความยากลำบากในการปรับตัวที่บ้านมีน้อยลง และลดการใช้บริการทางด้านสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ความยากลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่ายและการใช้บริการด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชน 6 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล แบบประเมินความยาก ลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่าย และแบบสอบถามการใช้บริการสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาด้วยสถิติสัมสหสัมพันธ์ของเพียร์สันและพอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่าง มีความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลอยู่ในระดับสูง มีความยากลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลอยู่ในระดับน้อย และมีการรับการรักษาซ้ำในระยะ 1 เดือน หลังจำหน่าย ร้อยละ 26.40 2.ความยากลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่ายมีความสัมพันธ์ทางลบกับความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.220, p < .05) 3. การใช้บริการด้านสุขภาพ ด้านการมาตรวจที่แผนกฉุกเฉินมีความสัมพันธ์ทางลบกับความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb = -.262, p < .01) 4. การใช้บริการด้านสุขภาพ ด้านการรับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาล 1 เดือนหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล มีความสัมพันธ์ทางลบกับความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb = -.320, p < .01) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับพยาบาลในการพัฒนาโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล เพื่อลดความยากลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่าย สามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่องเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน และมีอัตราการกลับเข้ามารักษาซ้ำในโรงพยาบาลลดลงen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ความยากลำบากในการปรับตัวหลัง จำหน่ายและการใช้บริการด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.title.alternativeReadiness for Hospital Discharge, Coping Difficulties Following Discharge and Health Care Utilization on Persons with Chronic Obstructive Pulmonary Diseaseen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.