Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64276
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ราตรี โกศลจิตร | en_US |
dc.contributor.author | เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:01:59Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:01:59Z | - |
dc.date.issued | 2560 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0081 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/91117/71565 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64276 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | เบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง หากไม่ได้รับการดูแลที่ดีอาจนำไปสู่การเจ็บป่วยด้วยภาวะแทรกซ้อนการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมี วัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดระดับความดันโลหิตซีสโตลิก และความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวานระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการรายกรณี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกตั้งแต่เดือน มีนาคม 2559 –พฤษภาคม 2559 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มเดียวกัน วัดก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ของลาสชิงเจอร์ (Laschinger, 2005) ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาและค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค 0.98 และ0.99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับน้ำตาลในเลือด ความดันซีสโตลิก และคะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการรายกรณี โดยใช้สถิติทดสอบ Dependent t-test ผลการวิจัยพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานหลังได้รับการจัดการรายกรณีต่ำกว่าก่อนได้รับการจัดการรายกรณี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p< .001) ค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิตซิสโตลิกของผู้ป่วยเบาหวานหลังได้รับการจัดการรายกรณีต่ำกว่าก่อนได้รับการจัดการรายกรณี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p< .001) และ ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการจัดการรายกรณีมีความพึงพอใจสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการรายกรณี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 p<.001) สรุปและข้อเสนอแนะประสิทธิผลของการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก และความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวาน หลังได้รับการจัดการรายกรณีดีขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดการรายกรณี ดังนั้นรูปแบบการจัดการรายกรณีสามารถใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและเพื่อให้การบริการพยาบาลมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ประสิทธิผลของการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลปากพลี จังหวัดนครนายก | en_US |
dc.title.alternative | Effectiveness of Case Management in Patients With Diabetic Mellitus at Pak Phli Hospital, Nakhon Nayok Province | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | พยาบาลสาร | en_US |
article.volume | 44 | en_US |
article.stream.affiliations | แขนงวิชาบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | en_US |
article.stream.affiliations | สาขาวิชาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.