Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64269
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชนกานต์ แสงคำกุลen_US
dc.contributor.authorพนิดา จันทโสภีพันธ์en_US
dc.contributor.authorเดชา ทำดีen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:01:59Z-
dc.date.available2019-05-07T10:01:59Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/92437/72404en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64269-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractคนพิการทางการเคลื่อนไหวมีข้อจำกัดในการไปใช้บริการสุขภาพ ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องหรือการสูญเสียความสามารถของอวัยวะในการเคลื่อนไหว คนพิการในชุมชนควรได้รับบริการสุขภาพเบื้องต้นในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในชุมชน การศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่าคนพิการไปรับบริการสุขภาพในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในชุมชนค่อนข้างน้อย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุปะสงค์เพื่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของคนพิการทางการเคลื่อนไหว การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้ใช้กรอบแนวคิดรูปแบบพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพของอเดย์และแอนเดอร์เซน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา ทัศนคติต่อหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ เครือข่ายทางสังคม ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ รายได้ การได้รับความช่วยเหลือในการเดินทางไปรับบริการสุขภาพ ระยะทางระหว่างบ้านและสถานบริการ และปัจจัยความต้องการ ได้แก่ ระดับความพิการ กับพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ และ(3) อำนาจการทำนายพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ในกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 114 คน วิเคราะห์อำนาจการทำนายโดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติค (logistic regression analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 47.40 เคยไปใช้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ และร้อยละ 52.60 ไม่เคยไปใช้บริการ 2. คนพิการที่มีเครือข่ายทางสังคมและระดับความพิการที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 3. เครือข่ายทางสังคม ระดับความพิการ และเพศหญิง สามารถทำนายพฤติกรรมการไปใช้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิได้ ดังนี้ เครือข่ายทางสังคม (OR = 1.09; 95% CI = 1.01-1.18) ระดับความพิการ (OR = 0.98; 95% CI = 0.97-0.99) และเพศหญิง (OR = 0.45; 95% CI = 0.18 - 0.99 ) ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมไปใช้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของคนพิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชน และปัจจัยทำนายพฤติกรรมที่พบ สามารถนำไปใช้ออกแบบกิจกรรมพยาบาลเพื่อส่งเสริมให้คนพิการไปใช้บริการสุขภาพ ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะต่อผู้มีส่วนในการออกแบบวางแผนนโยบายสุขภาพทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ เพื่อให้คนพิการได้รับการดูแลสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพอย่างมีคุณภาพและทั่วถึงต่อไปen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ของคนพิการทางการเคลื่อนไหวen_US
dc.title.alternativeFactors Influencing Primary Health Care Services Utilization BehaviorAmong People with Mobility Disabilitiesen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume43en_US
article.stream.affiliationsวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราชen_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.