Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64265
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | นิดา มีทิพย์ | en_US |
dc.contributor.author | เดชา ทำดี | en_US |
dc.contributor.author | ประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:01:59Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:01:59Z | - |
dc.date.issued | 2559 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0081 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/92438/72405 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64265 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับคะแนนความรู้ในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ระดับคะแนนการปฏิบัติการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และระดับคะแนนการปฏิบัติการให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ก่อนและหลังการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ อสม.ที่อยู่ภายใต้ความดูแลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก (รพ.สต.บ้านคลอง)จำนวน 30 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย 1) ชุดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้และการปฏิบัติการคัดกรองและให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูงของอสม.2) คู่มือการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงตามปิงปองจราจรชีวิต 7 สี 3)อุปกรณ์ประกอบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนัก ที่วัดส่วนสูง สายวัด และ เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2)แบบสอบถามความรู้การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง 3)แบบประเมินการปฏิบัติการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง 4)แบบประเมินการปฏิบัติการให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และไม่สูบบุหรี่(3อ.2ส.)ของโรคความดันโลหิตสูง ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาของเนื้อหาได้เท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Fisher’s exact probability test ผลการวิจัยพบว่าหลังการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ อสม.มีระดับความรู้ในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง การปฏิบัติการคัดกรองโรคความดันโลหิต การปฏิบัติการให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูงสูงกว่าก่อนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .001 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้เชิงประสบการณ์มีผลทำให้อสม.มีความรู้ในการ คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง การปฏิบัติการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง การปฏิบัติการให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นผู้วิจัยเสนอแนะว่าการเรียนรู้เชิงประสบการณ์สามารถนำไปพัฒนาศักยภาพ อสม.ในด้านอื่น ๆ ต่อไป | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติการคัดกรอง และการให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน | en_US |
dc.title.alternative | Effects of Experiential Learning on Knowledge and Screening Practice and Advice for Hypertension Among Village Health Volunteers | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | พยาบาลสาร | en_US |
article.volume | 43 | en_US |
article.stream.affiliations | วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช | en_US |
article.stream.affiliations | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.