Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64262
Title: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการปฏิบัติการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิตในหอผู้ป่วยวิกฤต
Other Titles: Systematic Review on Palliative Care Practice for End of life Patients in Intensive Care Unit
Authors: เกษร เกตุชู
พิกุล นันทชัยพันธ์
สุดารัตน์ สิทธิสมบัติ
Authors: เกษร เกตุชู
พิกุล นันทชัยพันธ์
สุดารัตน์ สิทธิสมบัติ
Issue Date: 2559
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract: ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตส่วนใหญ่จะมีอาการหนักและมีภาวะคุกคามต่อชีวิต ส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งทีมผู้ดูแลจะต้องให้การดูแลแบบประคับประคองในช่วงระยะสุดท้ายของชีวิต การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสรุปวิธีปฏิบัติและผลลัพธ์ของการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิตในหอผู้ป่วยวิกฤต จากงานวิจัยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 ถึง 2555 โดยใช้แนวทางการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (JBI, 2011) ผลการสืบค้นอย่างเป็นระบบพบงานวิจัยผ่านเกณฑ์การคัดเลือกทั้งหมด 13 เรื่อง ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงทดลองจำนวน 2 เรื่อง และการศึกษากึ่งทดลอง จำนวน 11 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ คือ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยและแบบสกัดข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เมตาและการสรุปเชิงเนื้อหาในการอธิบายการปฏิบัติและผลลัพธ์ของการดูแลแบบประคับประคอง ผลของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ พบว่า มีความหลากหลายของวิธีการปฎิบัติการดูแลแบบประคับประคองในหอผู้ป่วยวิกฤต จากการวิเคราะห์เมตาในงานวิจัย 2 เรื่อง พบว่า การปฏิบัติการดูแลแบบประคับประคองเชิงรุก ส่งผลให้จำนวนวันนอนในหอผู้ป่วยวิกฤตลดลง (WMD 2.78; 95% CI 2.46, 3.11, p < 0.0001) จากการสรุปเชิงเนื้อหา พบว่า การปฏิบัติการดูแลแบบประคับประคองในหอผู้ป่วยวิกฤตที่ได้ผลลัพธ์ที่ดี คือ การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคองโดยเน้นทีมผู้ที่เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา การสื่อสารเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคองโดยมีกระบวนการวางแผนการสื่อสารภายในทีมและระหว่างทีมกับครอบครัวและการจัดการอาการปวดเพื่อความสุขสบายของผู้ป่วย ซึ่งผลลัพธ์ของการปฏิบัติการดูแลแบบประคับประคอง คือ จำนวนวันนอนในหอผู้ป่วยวิกฤตและจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลที่สั้นลง อัตราการให้คำปรึกษาที่เพิ่มขึ้น ผู้ป่วยได้รับยาแก้ปวดและยานอนหลับเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายลดลง ทีมผู้ดูแลมีความพึงพอใจมากขึ้นและเพิ่มคุณภาพในการดูแลแบบประคับประคอง การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีการที่หลากหลายในการให้การดูแลระยะสุดท้ายที่สามารถนำไปใช้โดยทีมสหสาขาวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤติ และควรมีการทำวิจัยซ้ำโดยใช้การวิจัยแบบทดลองเพื่อยืนยันประสิทธิผลของวิธีการต่างๆ ต่อไปด้วย
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/92424/72393
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64262
ISSN: 0125-0081
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.