Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64252
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเรียงสอน สุวรรณen_US
dc.contributor.authorภารดี นานาศิลป์en_US
dc.contributor.authorธานี แก้วธรรมานุกูลen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T09:59:54Z-
dc.date.available2019-05-07T09:59:54Z-
dc.date.issued2016en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/77525/62185en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64252-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractคนงานเซรามิกมีความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงาน การศึกษา เชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความ เสี่ยงของคนงานโรงงานเซรามิกขนาดใหญ่ กลุ่มตัวอย่างเป็นคนงานโรงงานเซรามิกขนาดใหญ่ จังหวัดลำปาง จำนวน 331 คน รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์การสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยง ของคนงานโรงงานเซรามิกขนาดใหญ่ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิค่าดัชนีความ ตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.98 และทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าในระดับที่ ยอมรับได้(0.75-0.87) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่สำคัญตามการรับรู้ของกลุ่ม ตัวอย่าง ได้แก่ ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านเคมีคือฝุ่น ดิน หรือทรายร้อยละ68.28 ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้าน การยศาสตร์คือ การบิดเอี้ยวตัวและท่าทางการทำงานซ้ำๆในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 66.16 ปัจจัยคุกคาม สุขภาพด้านกายภาพ คือ ความร้อนจากเตาเผา ร้อยละ 52.57 ส่วนสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย คือ การ ทำงานกับอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มีความคม พบ ร้อยละ22.66สำหรับภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงตามการ รับรู้ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า การเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงาน ที่สำคัญ ได้แก่ ปวดคอไหล่ หลังร้อยละ54.38 ปวดแขน ข้อศอกข้อมือร้อยละ40.18 ปวดศีรษะอ่อนเพลีย ร้อยละ 37.46 ผื่นคันตามผิวหนัง ร้อยละ 34.14 ส่วนการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในช่วง 3 เดือน ที่ผ่านมาพบเพียง ร้อยละ 11.18 และส่วนใหญ่ ร้อยละ 94.00 เป็นการบาดเจ็บเล็กน้อยที่ไม่ต้องหยุดงาน ผลการศึกษาครั้งนี้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมรวม ทั้งทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ในการจัดทำโครงการเพื่อลดปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงาน ได้แก่ ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านเคมีด้านการยศาสตร์และด้านกายภาพ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือการ บาดเจ็บจากการทำงานของคนงานโรงงานเซรามิกขนาดใหญ่en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยง ของคนงานโรงงานเซรามิกขนาดใหญ่en_US
dc.title.alternativeOccupational Health Hazards and Health Status Related to Risk Among Workers in Large Ceramic Factoryen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume43en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลห้างฉัตรen_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.