Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64251
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ดลก์พร มาตยาบุญ | en_US |
dc.contributor.author | พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น | en_US |
dc.contributor.author | มาลี เอื้ออำานวย | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T09:59:54Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T09:59:54Z | - |
dc.date.issued | 2016 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/77490/62134 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64251 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | พัฒนาการของระบบต่างๆโดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลางของทารกเกิดก่อนกำหนดยังไม่สมบูรณ์ การถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโต ของทารกเกิดก่อนกำหนด การปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด สามารถลดผลกระทบดังกล่าวการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติ ของพยาบาลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด ประชากรในการ ศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 148 คน ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลระดับ ตติยภูมิในเขตภาคเหนือ จำนวน 7 แห่ง รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ (1) แบบสอบถามการปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริม พัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด(2)แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อ ส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด ประกอบด้วย ความรู้ความคิดเห็นของพยาบาลต่อการปฏิบัติการ ดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด และนโยบาย แนวปฏิบัติและการสนับสนุนของผู้บริหารใน การส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดของพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และหาความ สัมพันธ์โดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่าพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด เท่ากับ 3.08คะแนน จากคะแนนเต็ม4คะแนน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติของพยาบาลในการดูแล เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด มีดังนี้ 1. ปัจจัยด้านพยาบาล พบว่า ความรู้การอบรม และการเข้าร่วมประชุมวิชาการที่เกี่ยวข้องและความคิด เห็นของพยาบาลเกี่ยวกับการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการ ปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ (ρ = .219, ρ = .260, ρ= .364 , p< .01) 2. ปัจจัยด้านองค์กร พบว่า นโยบายแนวปฏิบัติและการสนับสนุนของผู้บริหารในการดูแลเพื่อส่งเสริม พัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ (ρ = .387, ρ = .253, ρ = .337, p< .01) ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติของพยาบาลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดูแลเพื่อส่ง เสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด ซึ่งสามารถนำไปใช้ส่งเสริมการปฏิบัติการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ทารกเกิดก่อนกำหนดของพยาบาลต่อไป | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การปฏิบัติของพยาบาลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดูแล เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด | en_US |
dc.title.alternative | Practices of Nurses and Related Factors on Developmental Care for Preterm Infants | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | พยาบาลสาร | en_US |
article.volume | 43 | en_US |
article.stream.affiliations | คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย | en_US |
article.stream.affiliations | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม | en_US |
article.stream.affiliations | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.