Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64130
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุมาลี ฝ่าซ่ายen_US
dc.contributor.authorนิตยา ภิญโญคำen_US
dc.contributor.authorสุดารัตน์ สิทธิสมบัติen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T09:59:48Z-
dc.date.available2019-05-07T09:59:48Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/92431/72400en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64130-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวน 222 ราย ที่มารับบริการที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 รวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ ซึ่งแบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากกรอบแนวคิด ความเชื่อด้านสุขภาพของเบคเกอร์ (Becker,1990) และแนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดของสมาคมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Association of Cardiovascular and Pulmonary Rehabilitation, 1999) และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ความตรงตามเนื้อหาของแบบสัมภาษณ์เท่ากับ 0.79 และ 0.80 ตามลำดับ และความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.72 และ 0.75 ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี 3. ความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด(r= 0.328) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้มีความเชื่อด้านสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม จะส่งผลให้การปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังดีขึ้นen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตัวด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.title.alternativeFactors Related to Pulmonary Rehabilitation Practices Among Persons with Chronic Obstructive Pulmonary Diseaseen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume43en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลแม่สอดen_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.