Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/62993
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสันต์ สุวัจฉราภินันท์-
dc.contributor.authorกาญจนาถ ทองชัยประสิทธิ์en_US
dc.date.accessioned2018-12-25T03:11:41Z-
dc.date.available2018-12-25T03:11:41Z-
dc.date.issued2557-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/62993-
dc.description.abstractThis independent study is the study of public space in a present day, which raises the question about the meaning and function of public space. The purpose of this study is 1. to categorize and analyze the concepts of public space 2. to analyze and critique the meaning and using public spaces in Muang Chiang Mai. 3. to provide guidelines for designing public space based on the notion of Space of Tactics. Using Chang Kian Market as the case study, the researcher argues for a new form of public space situated by the relationship between the people and the area on a daily basis. In order to avoid the confrontation with the public and local authorities, tactic practices are normally used in public space in Thailand. Chiang Kien Market is regarded as a conceptual model in order to decode some of the specific tactic to use for an experimental design. Partially this study explores Chiang Kien Market to find a way of how to design public space applying to the Case of Safety Agriculture Community Morning Market Thanon 2 Chiang Rai. The public areas are as vibrant and according to everyday life conditions. Part of this research is an experimental design by using guidelines base on 4 items. There are access and visibility, talking space, environment and human scale that can be summarized into three main factors. 1. The dimension of time to comply with the activities. 2. Creating a space related to the context of both vertical and horizontal, including the level of the roof that depends on the activity or the proportion of users, product display and placement. The degree of alignment of vision and relationships horizontally like a boundary. To facilitate the use of natural boundaries, such as the shade of a tree or a building. 3. To consider about the cultural dimension of this space such as the people in relation to the community, ownership, and a natural setting. The completed guideline will be fosters the development of new ideas to applied in designing urban solutions. In conclusion, the researcher found that the guidelines for the design of public space could be done. The experiment found that the public space design base on the concept of tactic space is to apply using public space by questioning the rules and conditions of the area (Tactical area). The researcher found that if the tactics happen at the right place right time. It could offer the place to be publicized and eventually become a successful public space.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพื้นที่สาธารณะen_US
dc.subjectกาดเช้าเกษตรชุมชนปลอดสารพิษen_US
dc.titleการใช้พื้นที่สาธารณะในเมืองเชียงใหม่ กรณีกาดเช้าเกษตรชุมชนปลอดสารพิษ ถนน 2 เชียงรายen_US
dc.title.alternativeUsing Public Spaces in Mueang Chiang Mai: The Case of Safety Agriculture Community Morning Market Thanon 2 Chiang Raien_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thailis.classification.ddc333.913-
thailis.controlvocab.thashถนนคนเดิน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashพื้นที่สาธารณะ -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้เป็นการศึกษาลักษณะของพื้นที่สาธารณะที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผู้วิจัยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความหมายและหน้าที่การใช้งานของพื้นที่สาธารณะที่เกิดขึ้น โดยวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ 1. เพื่อจัดกลุ่ม อธิบาย วิเคราะห์ และสังเคราะห์ทฤษฎีที่ว่าด้วยพื้นที่สาธารณะและแนวคิดของการต่อรองบนพื้นที่สาธารณะ 2. เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์ ความหมายและการใช้พื้นที่สาธารณะในสังคมเมืองเชียงใหม่ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบพื้นที่สาธารณะ โดยอาศัยแนวความคิดพื้นที่แห่งกลวิธี (Space of Tactics) โดยใช้กรณีศึกษาตลาดช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่ ผู้วิจัยสนใจรูปแบบของพื้นที่สาธารณะที่เกิดขึ้นจากการปรับตัวของผู้คนซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับพื้นที่ในชีวิตประจำวัน ใช้การต่อรองในการเอาตัวรอดจากการปะทะ หลบหลีก จากการกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับทางสังคมที่เกิดขึ้นโดยไม่สอดคล้องกับผู้ใช้งาน ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นปัจจุบันบนที่สาธารณะในไทย จึงนำเอาประเด็นดังกล่าวมาพิจารณาและอธิบายสำรวจพื้นที่กรณีศึกษาตลาดช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อถอดรายละเอียดหาองค์ความรู้ ไปใช้ในการทดลองการออกแบบ การศึกษานี้เป็นการศึกษาแนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะโดยอาศัยแนวความคิดพื้นที่แห่งกลวิธี ( Space of Tactics ) มาวิเคราะห์พื้นที่กรณีศึกษา ตลาดช่างเคี่ยนและในขั้นตอนของการศึกษาจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาการเกิดขึ้นของพื้นที่สาธารณะแล้วนำแนวทางที่ได้ ไปทดลองออกแบบพื้นที่ทดลองการออกแบบกาดเช้าเกษตรชุมชนปลอดสารพิษ ถนน 2 เชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีลักษณะสอดคล้องกับพื้นที่กรณีศึกษา แนวทางการออกแบบนี้จะทำให้พื้นที่สอดคล้องกับการใช้งานของผู้ใช้ เพื่อให้พื้นที่สาธารณะที่เกิดขึ้นมีชีวิตชีวาและเป็นไป ตามการดำรงชีวิตในสภาวะสังคมปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของงานวิจัยนี้เป็นการออกแบบในเชิงทดลองโดยใช้แนวทางที่สรุปมา โดยหลักการออกแบบที่ผู้วิจัยพบตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปรับให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ดี โดยมีหลักการ 4 ข้อ คือ การเข้าถึงและการมองเห็น พื้นที่ที่ทำให้เกิดการพูดคุย สภาพแวดล้อมและสัดส่วนในการใช้พื้นที่ ซึ่งสามารถ สรุปออกเป็น 3 ปัจจัยหลักที่จะนำไปใช้สำหรับการออกแบบ คือ 1.มิติของช่วงเวลา ต้องสอดคล้องกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น 2.สร้างความสัมพันธ์ตามบริบทของพื้นที่ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ได้แก่ ระดับของหลังคา ต้องขึ้นอยู่กับกิจกรรมหรือสัดส่วนของผู้ใช้, การจัดวางสินค้า ระดับของการจัดวาง การมองเห็น และความสัมพันธ์ตามแนวนอน ขอบเขตพื้นที่ ที่เอื้อประโยชน์ ต่อการใช้งาน เช่น ขอบเขตจากธรรมชาติตามแนวร่มเงาของต้นไม้หรือตัวอาคาร 3. การพิจารณามิติทางนามธรรมของพื้นที่ คือ ความสัมพันธ์ใกล้ชิดสนิมสนมของผู้คนในชุมชน ความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ ความงามของพื้นที่ที่เกิดจากธรรมชาติ แนวทางการออกแบบพื้นที่สาธารณะเหล่านี้ จะช่วย ต่อยอดความคิดหรือนำไปพัฒนาการออกแบบประยุกต์พื้นที่สาธารณะที่สอดคล้องกับสังคมเมือง ในปัจจุบันต่อไปได้ บทสรุปข้องานวิจัยชิ้นนี้ จากที่ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลค้นพบแนวทางการออกแบบเพื่อนำไปปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ และได้ทำการทดลองการออกแบบแล้ว พบว่า แนวทางการออกแบบพื้นที่สาธารณะโดยอาศัยแนวคิดพื้นที่แห่งกลวิธี (Space of Tactics) นั้น เป็นการปรับใช้พื้นที่ให้มี ความเป็นสาธารณะ โดยตั้งคำถามกับกฎระเบียบหรือเงื่อนไขของพื้นที่ (ยุทธวิธีของพื้นที่) ผู้วิจัยพบว่าหากเลือกใช้กลวิธีในการปรับเปลี่ยนพื้นที่อย่างเหมาะสมจะเอื้อให้เกิดเป็นพื้นที่ที่มี ความเป็นสาธารณะมากขึ้นและนำไปสู่พื้นที่สาธารณะที่ดีในที่สุดen_US
Appears in Collections:ARC: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.docAbstract (words)196.5 kBMicrosoft WordView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract108.96 kBAdobe PDFView/Open
full.pdfFull IS22.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.