Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46030
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorChatchote Thitaram-
dc.contributor.advisorJanine L. Brown-
dc.contributor.advisorSuvichai Rojanasthien-
dc.contributor.advisorPetai Pongpiachan-
dc.contributor.authorJaruwan Khonmeeen_US
dc.date.accessioned2018-04-09T03:11:29Z-
dc.date.available2018-04-09T03:11:29Z-
dc.date.issued2014-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46030-
dc.description.abstractTo date, there is no information on reproductive or stress hormone activity of Chinese goral (Naemorhedus griseus), a threatened species that is part of captive breeding management for reintroduction in Thailand. The purposes of the present study were to: 1) determine the influence of season on testicular, ovarian, and adrenal steriodogenic activity; 2) examine the relationship between gonadal hormone excretion and sexual behaviors throughout the year; and 3) determine the impact of gender, season, and management on goral adrenal activity. Fecal samples were collected 3 - 7 days/week for 15 months from eight adult males and females housed at Omkoi Wildlife Sanctuary (Omkoi) in Thailand, and observations of sexual behaviors and breeding were conducted each morning for 30 minutes/session in each gender. Additionally, fecal samples were collected 3 days/ week for 1 year from 63 individuals (n = 32 males, 31 females) at two facilities: Omkoi, an off-exhibit breeding center that housed goral in individual pens (16 pens; n = 8 males, 8 females) and in small family groups (8 pens; n = 8 males, 8 females); and the Chiang Mai Night Safari (NS), a zoo that maintained 31 goral (n = 17 males, 14 females) in one large pen. All samples were analyzed for steroid metabolites using validated enzyme immunoassays. Mean androgen metabolite concentrations were greater (P < 0.05) during the rainy season and winter compared to the summer, which were related to male sexual behaviors including flehmen, tongue flick, approach and breeding activity. Based on concentration of fecal estrogen and progestagen metabolites, the overall estrous cycle length was about 23 days, with a 2- to 3-day follicular phase and an 17- to 25-day luteal phase. Female sexual behaviors, most remarkably tail-up, increased for 2 - 3 days during the estrous period, when the estrogens were elevated. Fecal progestagens were elevated during luteal phases, and increased during gestation, which averaged approximately 7 months. The lactation period was about 5 months, and females were anestrus for 2 - 5 of those months, with the exception of one that cycled continuously throughout the study period. Two females were conceived approximately 2 months postpartum, and so were pregnant during lactation. Birth records over the past 21 years indicated that calves were born throughout the year. This combined with the hormonal patterns suggested that female goral are not strongly seasonal, at least in captivity, although there was considerable variation in estrogen and progestagen patterns among individuals. Glucocorticoid metabolite levels were greater in male than female goral at Omkoi throughout the year, and there was a seasonal effect on adrenal activity (P < 0.05). Goral at Omkoi and NS were used to assess the effect of animal density on fecal glucocorticoid concentrations, and overall, the greatest levels were found at NS (n = 31 adults/pen; 27 m2 per animal) compared to Omkoi (n = 2 adults/pen; 400 m2 per animal) (P < 0.05). In summary, this is the first study to evaluate endocrine function in goral, and results showed seasonal variation in testicular, ovarian and adrenal steroidogenic function, with greater activity in the rainy season and winter. Given that resource availability for captive male and female goral are consistent throughout the year, reproduction may be regulated primarily by photoperiod. Additionally, gender, season and animal density also had significant effect on adrenal steroidogenic activity. Potential stressors relating to the welfare were identified, which will guide future efforts to develop management. In conclusion, fecal steroid metabolite monitoring is an effective means of evaluating gonadal and adrenal function in goral and will be a useful tool for improving breeding management, planning development of assisted reproductive techniques, developing healthy populations, and creating self-sustaining.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectSteroid hormoneen_US
dc.subjectChinese goralen_US
dc.subjectNaemorhedus griseusen_US
dc.titleCharacterization of Longitudinal Fecal Steroid Hormone Profiles in Captive Chinese Goral (Naemorhedus griseus)en_US
dc.title.alternativeการหาลักษณะเฉพาะของรูปแบบระยะยาวของสเตียรอยด์ฮอร์โมนในตัวอย่างอุจจาระของกวางผาจีนในกรงเลี้ยงen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc636.294-
thailis.controlvocab.thashDeer-
thailis.controlvocab.thashSteroid hormones-
thailis.manuscript.callnumberTh 636.294 J37C-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractกวางผาจีน (Naemorhedus griseus) เป็นสัตว์ป่าสงวนของประเทศไทยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์และได้มีการศึกษาในสภาพกรงเลี้ยงเพื่อการปล่อยสัตว์กลับคืนสู่ธรรมชาติ โดยในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางด้านฮอร์โมนระบบสืบพันธุ์และฮอร์โมนความเครียด วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้คือ 1) ศึกษาอิทธิพลของฤดูกาลต่อการทำงานของอัณฑะ รังไข่ และต่อมหมวกไต 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนเพศและพฤติกรรมทางเพศ 3) ศึกษาอิทธิพลของเพศ ฤดูกาล และการจัดการในสภาพกรงเลี้ยงต่อการทำงานของต่อมหมวกไต โดยเก็บตัวอย่างอุจจาระจากกวางผาตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมีย จำนวน 3 - 7 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 15 เดือน พร้อมกับการจดบันทึกพฤติกรรมทางเพศทั้งเพศผู้และเพศเมียทุกวันในตอนเช้าเป็นเวลา 30 นาทีต่อครั้ง จากกวางผาในสภาพกรงเลี้ยงเดี่ยวแยกตามเพศ (เพศผู้ 8 ตัว และเพศเมีย 8 ตัว) ณ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อย ประเทศไทย และเก็บตัวอย่างอุจจาระ จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 1 ปี จากกวางผาจำนวน 63 ตัว (เพศผู้ 32 ตัว และเพศเมีย 31 ตัว) จาก 2 สถานที่ คือ 1) สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อย เป็นสถานที่ราชการสำหรับเพาะขยายพันธุ์กวางผาไม่เปิดบริการให้ประชาชนท่องเที่ยวประกอบด้วยกรงเลี้ยงเดี่ยวที่กวางผาถูกเลี้ยงแยกตามเพศ จำนวน 16 กรงเลี้ยงเดี่ยว (เพศผู้ 8 ตัว และเพศเมีย 8 ตัว) และกรงเลี้ยงใหญ่ที่กวางผาอาศัยอยู่เป็นครอบครัว จำนวน 8 กรงเลี้ยงใหญ่ (เพศผู้ 8 ตัว และเพศเมีย 8 ตัว) 2) เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเป็นสวนสัตว์ที่เปิดให้บริการนักท่องเที่ยวทั้งกลางวันและกลางคืน มีกวางผาจำนวน 31 ตัว (เพศผู้ 17 ตัวและเพศเมีย 14 ตัว) เลี้ยงอาศัยอยู่ภายในกรงใหญ่ จำนวน 1 กรง ตัวอย่างอุจจาระทั้งหมดจะถูกนำมาวิเคราะห์ฮอร์โมนสเตียรอยด์เมตาบอไลต์ด้วยวิธีเอนไซม์อิมมูโนแอสเซ พบว่าค่าเฉลี่ยของปริมาณความเข้มข้นของฮอร์โมนแอนโดรเจนเมตา-บอไลต์มีระดับสูงในฤดูฝนและฤดูหนาวเมื่อเปรียบเทียบกับฤดูร้อนอย่างมีนัยสำคัญซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมทางเพศของกวางผาเพศผู้ได้แก่ การม้วนริมฝีปากบน การสบัดลิ้น การเดินเข้าไปหาตัวเมียและพฤติกรรมการผสมพันธุ์ จากการศึกษาวิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นของเอสโตรเจนและโปรเจสตาเจนเมตาบอไลต์ พบวงรอบการเป็นสัดประมาณ 23 วัน ประกอบด้วยระยะฟอลิคูล่าร์ 2 - 3 วัน และ ระยะลูเทียล 17 - 25 วัน โดยกวางผาตัวเมียจะแสดงพฤติกรรมทางเพศในช่วงที่เป็นสัด คือ การยกหางประมาณ 2 - 3 วัน และในช่วงนี้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเมตาบอไลต์จะมีระดับสูงขึ้น ส่วนฮอร์โมนโปรเจสตาเจนเมตาบอไลต์จะมีระดับสูงในระยะลูเทียลและช่วงที่กวางผาตั้งท้องซึ่งมีค่าเฉลี่ยประมาณ 7 เดือน โดยในช่วงที่เลี้ยงลูกและให้นมประมาณ 5 เดือน กวางผาจะอยู่ในระยะที่ไม่มีวงรอบการเป็นสัดประมาณ 2 - 5 เดือน แต่ในการศึกษาครั้งนี้มีกวางผาจำนวน 1 ตัว ที่มีวงรอบการเป็นสัดตลอดระยะการให้นม นอกจากนี้ยังพบกวางผาจำนวน 2 ตัว ที่มีการผสมพันธุ์และตั้งท้องหลังจากที่ให้นมได้ 2 เดือน แสดงให้เห็นว่ากวางผาสามารถตั้งท้องในช่วงให้นมได้ จากข้อมูลบันทึกการเกิดของลูกกวางผาที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อยเป็นระยะเวลา 21 ปี พบว่ากวางผามีการเกิดลูกตลอดปี เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลการเกิดลูกกวางผาและรูปแบบของฮอร์โมน พบว่ากวางผาเพศเมียไม่มีการผสมพันธุ์ตามฤดูกาลในสภาพกรงเลี้ยง อย่างไรก็ตาม มีการแปรผันของรูปแบบของฮอร์โมนเอสโตรเจนเมตาบอไลต์และฮอร์โมนโปรเจสตาเจนเมตาบอไลต์ในกวางผาแต่ละตัว เมื่อศึกษาผลของระดับฮอร์โมนคอร์ติ-ซอลเมตาบอไลต์ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเครียด พบว่าในกวางผาเพศผู้มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลเม-ตาบอไลต์สูงกว่ากวางผาเพศเมียตลอดทั้งปี และพบอิทธิพลของฤดูกาลมีผลต่อการทำงานของต่อมหมวกไตอย่างมีนัยสำคัญ โดยจะมีระดับสูงในฤดูฝนและฤดูหนาวเมื่อเปรียบเทียบกับฤดูร้อน กวางผาที่เลี้ยงในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อยและเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีถูกนำมาศึกษาอิทธิพลความหนาแน่นของสัตว์ต่อขนาดพื้นที่ในสภาพกรงเลี้ยงต่อระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนกลูโคคอร์ติ-คอยด์เมตาบอไลต์ พบว่าระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์เมตาบอไลต์มีระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี (จำนวนกวางผา 31 ตัวต่อกรงเลี้ยง และความหนาแน่นในสภาพกรงเลี้ยง 27 ตารางเมตรต่อตัว) เมื่อเปรียบเทียบกับสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อย (จำนวนกวางผา 2 ตัวต่อกรงเลี้ยง และความหนาแน่นในสภาพกรงเลี้ยง 400 ตารางเมตรต่อตัว) งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแรกที่ศึกษาการทำงานของต่อมไร้ท่อในกวางผา ผลของการศึกษา แสดงให้เห็นว่าฤดูกาลมีผลต่อการทำงานของอัณฑะ รังไข่ และต่อมหมวกไต โดยจะมีการทำงานมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับแหล่งอาหารของกวางผาทั้งเพศผู้และเพศเมียที่เลี้ยงในสภาพกรงเลี้ยงที่มีอาหารตลอดทั้งปีโดยระบบสืบพันธุ์ของกวางผาอาจจะมีผลเกี่ยวข้องกับแหล่งอาหารมากกว่าการเปลี่ยนแปลงของช่วงแสง นอกจากนี้อิทธิพลของเพศ ฤดูกาล และความหนาแน่นของสัตว์ในสภาพกรงเลี้ยงมีผลต่อการทำงานของต่อมหมวกไตอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษานี้ได้ศึกษาความเครียดที่อาจจะเกิดขึ้นกับสัตว์ที่อาศัยในสภาพกรงเลี้ยงซึ่งจะเกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพของสัตว์เพื่อการจัดการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ในสภาพกรงเลี้ยง กล่าวโดยสรุป การติดตามฮอร์โมนเมตาบอไลต์ในตัวอย่างอุจจาระของกวางผาสามารถใช้ในการศึกษาการทำงานของระบบสืบพันธุ์และต่อมหมวกไตได้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการจัดการผสมพันธุ์ การวางแผนพัฒนาทางเทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์การสร้างประชากรสัตว์ที่มีสุขภาพดี และเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนของกวางผาต่อไปในอนาคตen_US
Appears in Collections:VET: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT284.07 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdf APPENDIX411.17 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdf CHAPTER 158.47 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 21.66 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3871.17 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdf CHAPTER 4904.72 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5892 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 6.pdf CHAPTER 6175.83 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdf CONTENT422.04 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER1.04 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE312.33 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.