Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46005
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวันเพ็ญ ทรงคำ-
dc.contributor.authorณัฏฐิรา กาวิละพันธ์en_US
dc.date.accessioned2018-04-05T02:54:22Z-
dc.date.available2018-04-05T02:54:22Z-
dc.date.issued2557-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46005-
dc.description.abstractRegistered nurses have potential exposure to workplace hazards resulting in work related illnesses and injuries. This descriptive study aimed to examine health status related to risk at work among 124 registered nurses working at the third army area hospitals. Data collection was carried out from April to June, 2014. The study instrument was a questionnaire of health status related to risk at work among registered nurses, which was confirmed through content validity by a panel of experts and yielded an index of 1. Reliability was tested and its value was at an acceptable level (0.82-0.90). Data analysis was performed using descriptive statistics. The main results showed that health status related to risk at work regarding illnesses, possibly related to exposure to workplace hazards perceived by the study sample during the past one month, included; musculoskeletal pain such as neck pain and shoulder pain, showed in equal proportions (80.65%), followed by hand, wrist and elbow joint pain (70.59%). The study sample indicated work-related stress from heavy workload (77.42%), stress from rushing work (75.81%) and from complex work (74.19%), and eye strain (50.81%). Work-related injury during the past three months was 34.68 percent. The injury causation was stumbling over objects (58.00%), and cuts from sharp instruments (22.00%). The injury was bruises of 89.00%. The most commonly injured body parts were lower part of legs (45.93%) followed by hand and finger (18.52%), which were non-fatal injuries, and without taking a day off (99.00%). The results of this study indicate that occupational health nurses and related health professionals should recognize the importance of systematic care management among registered nurses through workplace health and environmental surveillance. Health information dissemination is needed to raise their awareness to create health promotion and reduce risk of exposure to hazards in the workplace.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectภาวะสุขภาพen_US
dc.subjectพยาบาลวิชาชีพen_US
dc.subjectโรงพยาบาลสังกัดกองทัพภาคที่ 3en_US
dc.titleภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกองทัพภาคที่3en_US
dc.title.alternativeHealth Status Related to Risk at Work Among Registered Nurses, The Third Army Area Hospitalen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc613-
thailis.controlvocab.thashสุขภาพ-
thailis.controlvocab.thashสุขภาวะ-
thailis.controlvocab.thashพยาบาลวิชาชีพ-
thailis.manuscript.callnumberว 613 ณ113ภ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractพยาบาลวิชาชีพมีโอกาสสัมผัสปัจจัยอันตรายจากการทำงาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพก่อให้เกิดความเจ็บป่วยและบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดกองทัพภาคที่ 3 จำนวน 124 ราย รวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 1 ทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือได้ค่าในระดับที่ยอมรับได้ (0.82-0.90) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน ในส่วนของอาการเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการสัมผัสปัจจัยอันตรายจากการทำงาน ตามการรับรู้ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาได้แก่ อาการปวดของกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น ปวดต้นคอและปวดไหล่ ในสัดส่วนที่เท่ากัน (ร้อยละ 80.65) ปวดข้อศอกมือข้อมือ (ร้อยละ 70.59) เครียดหรือกังวลจากปริมาณงานมากอัตรากำลังคนน้อย (ร้อยละ 77.42) เครียดหรือกังวลจากความเร่งรีบทำงานให้เสร็จทันเวลา (ร้อยละ 75.81) และเครียดหรือกังวลจากงานที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน (ร้อยละ74.19) และมีอาการกล้ามเนื้อตาล้า (ร้อยละ50.81) ส่วนการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยได้รับบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน ร้อยละ 34.68 สาเหตุของการบาดเจ็บเกิดจากวัตถุหรือสิ่งของกระแทกหรือชน จากการจัดวางสิ่งของ อุปกรณ์ไม่เป็นระเบียบ (ร้อยละ 58.00) และจากการ ถูกของมีคมบาดหรือทิ่มแทงขณะปฏิบัติงาน (ร้อยละ 22.00) ส่วนลักษณะการบาดเจ็บที่พบคือ แผลฟกช้ำ (ร้อยละ 89.00) อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บสูงสุดคือ บริเวณขา เข่า น่อง (ร้อยละ 45.93) รองลงมาเป็น มือและนิ้วมือ (ร้อยละ 18.52) ความรุนแรงของการบาดเจ็บส่วนใหญ่เป็นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย สามารถทำงานได้ตามปกติโดยไม่ต้องหยุดงาน (ร้อยละ 99.00) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า พยาบาลอาชีวอนามัยและบุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรตระหนักถึง ความสำคัญในการดูแลสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพอย่างเป็นระบบ โดยการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการทำงาน รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพเพื่อให้พยาบาลวิชาชีพตระหนักถึงการสร้างเสริมสุขภาพและลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการทำงานen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT348.6 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX2 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1452.86 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2519.09 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3428.02 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4587.28 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5394.86 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT307.93 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER681.48 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE556.6 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.