Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45977
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนุสรณ์ ลังกาพินธ์-
dc.contributor.advisorอัญชลี พงศ์ชัยเดชา-
dc.contributor.authorSasivimon Promsanen_US
dc.contributor.authorศศิวิมล พรมสารen_US
dc.date.accessioned2018-03-28T03:20:24Z-
dc.date.available2018-03-28T03:20:24Z-
dc.date.issued2014-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45977-
dc.description.abstractGentamicin is one of antibiotics, which is in an aminoglycoside group and most commonly used to treat many types of bacterial infections, particularly those caused by gram-negative organisms. However, its clinical use is partially limited due to its nephrotoxicity. Neprotoxicity is a serious side effect of gentamicin and is related to the increased reactive oxygen species (ROS) in the kidney. Pinocembrin is one of the flavonoids at the highest concentration in propolis and the rhizomes of fingerroot (Boesenbergia pandurata). It has several biological actions including antimicrobial, anti-inflammatory and antioxidant effects. This present study was designed to investigate a possible potential protective role of pinocembrin against gentamicin-induced nephrotoxicity. Sprague-Dawley rats (240-250 g) were randomly divided into four groups; Control (rats were injected intraperitoneally (i.p.) with tween-80 for 10 days); Pinocembrin (pinocembrin at the dose of 50 mg/kg/day dissolved in tween-80 was injected i.p. for 10 days); Gentamicin-treated rats (tween-80 and gentamicin (100 mg/kg/day) were injected i.p.) and Gentamicin+pinocembrin (pinocembrin was administered i.p. 30 minutes before gentamicin treatment for 10 days) (each group, n = 6). At the end of the experiment, body weight (BW), ratio of kidney weight to body weight (KW/BW ratio), serum blood urea nitrogen (BUN), serum creatinine (Cr), urine creatinine and glomerular filtration rate (GFR) were determined. Malondialdehyde (MDA) and superoxide dismutase (SOD) in renal cortical tissues were used to evaluate oxidative stress condition. [3H]Estrone sulfate (ES) uptake into renal cortical slices was examined to reflect the renal Oat3 function. Histological changes of the kidneys were examined by hematoxylin and eosin (H&E) staining. The expressions of renal Oat3, PKCα, Nrf2, HO-1 and NQO1 were determined using western blotting. The present study showed that serum BUN and creatinine were significantly increased while urine creatinine and GFR were significantly reduced in the gentamicin-treated rats. Moreover, the increase in renal cortical MDA level was demonstrated in the gentamicin group compared with the control. Hematoxylin and eosin (H&E) staining showed normal glomerular structure but tubular dilatation was occurred within the renal proximal tubule cells in the gentamicin-treated rats. The function of Oat3 which represented by [3H]ES uptake into renal cortical slices was significantly decreased in the gentamicin-treated rats which related to the reduced membrane expression of renal Oat3 expression in the renal cortex. Furthermore, the expressions of PKCα, Nrf2, HO-1 and NQO1 were significantly increased in gentamicin-treated rats. Pinocembrin pretreatment caused a significant increased in renal function as well as the up-regulation of the renal Oat3 function as indicated by the increase in [3H]ES uptake. Pinocembrin also improved oxidative stress condition as shown by the attenuating renal MDA level in gentamicin-treated rats. These results indicated that pinocembrin has the renoprotective effects against acute kidney injury induced by gentamicin which might be due to, in part, the decreasing overoxidation of the kidney leading to the increase in renal Oat3 expression and function.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectPinocembrinen_US
dc.subjectOrganic anionen_US
dc.subjectProteinen_US
dc.titleProtective Effects of Pinocembrin on Organic Anion Transporter 3 Protein Function in Kidney of Gentamicin-treated Ratsen_US
dc.title.alternativeฤทธิ์ป้องกันของพิโนแซมบรินต่อการทำงานของโปรตีนขนส่งสารอินทรีย์ประจุลบชนิดที่ 3 ในไตของหนูขาวที่ได้รับเจนตาไมซินen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.nlmcW 4-
thailis.controlvocab.meshDissertations, academic -- Physiology-
thailis.controlvocab.meshFlavanones-
thailis.controlvocab.meshAnti-Bacterial Agents-
thailis.manuscript.callnumberThesis W 4 Physiol S252p 2014-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractเจนตาไมซินเป็นยาปฏิชีวนะที่อยู่ในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ และเป็นยาที่นิยมใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียหลายประเภทโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ยาเจนตาไม ซินค่อนข้างจำกัดเนื่องจากเจนตาไมซินมีผลข้างเคียงที่อันตรายต่อร่างกายหากใช้ในขนาดยาที่สูงและใช้เป็นเวลานาน ซึ่งผลข้างเคียงที่สำคัญคือ ภาวะไตเป็นพิษ ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่นจากการได้รับยาเจนตาไมซิน และเนื่องจากพิโนแซมบรินเป็นสารประเภทฟลาโวนอยด์ ที่พบได้ในธรรมชาติ เช่น ในรวงผึ้งและหัวของกระชาย การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า สารพิโนแซมบรินมีฤทธิ์ทางชีววิทยาหลายอย่าง อาทิเช่น ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านภาวะเครียดออกซิเดชั่น เป็นต้น ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลในการป้องกันของพิโนแซมบรินต่อระดับโปรตีนและการทำงานของโปรตีนขนส่งสารอินทรีย์ประจุลบชนิดที่ 3 ที่ไตของหนูขาวที่ได้รับยาเจนตาไมซิน การศึกษาครั้งนี้ใช้หนูเพศผู้พันธุ์ Sprague-Dawley น้ำหนัก 240-250 กรัม โดยแบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มนี้จะได้รับการฉีดตัวทำละลายสาร (Tween-80) เข้าทางช่องท้อง กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับสารพิโนแซมบรินขนาด 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ฉีดเข้าทางช่องท้องเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ได้รับยาเจนตาไมซินขนาด 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ฉีดเข้าทางช่องท้องเพียงอย่างเดียว และกลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มที่ได้รับสารพิโนแซมบริน 30 นาทีก่อนการฉีดยาเจนตาไมซิน ซึ่งทุกกลุ่มจะได้รับการทดลองเป็นระยะเวลา 10 วัน เมื่อครบกำหนดเวลาทำการทดลอง ทำการชั่งน้ำหนักตัว น้ำหนักไตทั้งสองข้างและคำนวณอัตราส่วนของน้ำหนักไตต่อน้ำหนักตัว ตรวจหาระดับยูเรียไนโตรเจน (BUN) ระดับครีเอตินินในพลาสม่า และระดับครีเอตินินในปัสสาวะ คำนวณอัตราการกรองของไต (glomerular filtration rate; GFR) ทำการตรวจวัดปริมาณมาลอนไดอัลดีไฮด์ (malondialdehyde; MDA) และซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (superoxide dismutase; SOD) ที่เนื้อไตส่วนนอก (renal cortex) เพื่อวัดการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่น ทำการวัดการทำงานของโปรตีนขนส่งสารอินทรีย์ประจุลบชนิดที่ 3 (Organic anion transporter 3; Oat3) ที่เนื้อไตส่วนนอก โดยการวัดการขนส่งสาร [3H]estrone sulfate (ES) ผ่านเข้าไปในเนื้อไตส่วนนอก (renal cortical slices) และทำการวิเคราะห์ระดับการแสดงออกของโปรตีน Oat3, Protein kinase C alpha (PKCα), Nuclear factor erythroid 2 [NF-E2]-related factor 2 (Nrf2), Heme oxygenase-1 (HO-1) และ NAD (P) H : Quinone Oxidoreductase 1 (NQO1) โดยวิธี western blot จากการศึกษาพบว่า หนูในกลุ่มที่ได้รับยาเจนตาไมซินเพียงอย่างเดียว จะมีน้ำหนักตัวลดลง อัตราส่วนของน้ำหนักไตต่อน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ระดับยูเรียไนโตรเจน (BUN) และครีเอตินินใน พลาสม่าเพิ่มขึ้น ระดับครีเอตินินในปัสสาวะและอัตราการกรองที่ไตลดลง และมีการเพิ่มขึ้นของปริมาณมาลอนไดอัลดีไฮด์และมีการลดลงของเอ็นไซม์ซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส พบว่าการให้พิโนแซมบรินก่อนการฉีดเจนตาไมซินสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไตโดยทำให้อัตราส่วนของน้ำหนักไตต่อน้ำหนักตัวลดลง ระดับยูเรียไนโตรเจนและครีเอตินินในพลาสม่าลดลง ระดับครีเอตินินในปัสสาวะและอัตราการกรองที่ไตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น และมีการลดลงของปริมาณมาลอนไดอัลดีไฮด์ สำหรับการตรวจทางจุลพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อไต ภายหลังการย้อมสี hematoxylin และ eosin พบว่าไม่มีการขยายขนาดหรือการเปลี่ยนแปลงของโกลเมอรูลัส (glomerular hypertrophy) แต่จะเกิดการขยายตัวของท่อไตส่วนต้น (tubular dilatation) และพบว่าการให้สารพิโนแซมบรินสามารถแก้ไขรอยโรคที่เกิดขึ้นได้และนอกจากนี้พบว่าหนูในกลุ่มที่ได้รับยาเจนตาไมซินเพียงอย่างเดียวนั้นมีการลดลงของการแสดงออกของระดับโปรตีน Oat3 ที่บริเวณผนังเซลล์ของท่อไตซึ่งสอดคล้องกับการลดลงของการขนส่งสาร [3H]estrone sulfate (ES) ในเนื้อไตส่วนนอก ซึ่งแสดงถึงการทำงานที่ลดลงของ Oat3 การให้สารพิโนแซมบรินมีผลช่วยเพิ่มการแสดงออกและการทำงานของโปรตีน Oat3 ที่ไตได้ นอกจากนี้สารพิโนแซมบรินยังช่วยลดการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดออกซิเดชั่นได้แก่ PKCα, Nrf2, HO-1 และ NQO1 ได้ การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงการลดลงของการทำงานและระดับโปรตีนขนส่งสารอินทรีย์ประจุลบชนิดที่ 3 ที่ไต จากการได้รับยาเจนตาไมซิน และพบว่าการเปลี่ยนแปลงนี้มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างอนุมูลอิสระที่เพิ่มมากขึ้นและเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่นซึ่งอาจจะส่งผลไปกระตุ้นการทำงานของโปรตีน PKCα และมีผลต่อการเคลื่อนที่และการแสดงออกของโปรตีนขนส่งสารอินทรีย์ประจุลบชนิดที่ 3 ที่ผนังเซลล์ของท่อไตลดลง และมีผลทำให้การทำงานของโปรตีน Oat3 ลดลง การให้สารพิโนแซมบรินมีผลป้องกันการเกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวรวมทั้งช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของโปรตีนขนส่งสารอินทรีย์ประจุลบชนิดที่ 3 ที่ไตให้ดีขึ้นโดยคาดว่าเกิดจากฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารพิโนแซมบรินนั่นเองen_US
Appears in Collections:MED: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT365.67 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX447.83 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdf CHAPTER 1779.54 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdf CHAPTER 2350.88 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdf CHAPTER 31.22 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4287.86 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT253.67 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdf COVER717.78 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE480.11 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.