Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45966
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรพิลาส วงศ์เจริญ-
dc.contributor.authorประภัสสรา ห่อทองen_US
dc.date.accessioned2018-03-27T04:08:45Z-
dc.date.available2018-03-27T04:08:45Z-
dc.date.issued2557-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45966-
dc.description.abstractThis research aimed to study the composition of the Club Friday radio program as a communicative event and analyze the order of a communicative event. The part of the program examined related to the love of young people under the topic of “Which love hurt you the most?” broadcasted on Green Wave 106.5 FM on October 21, 2011. This study used the concepts of ethnography of communication, speech acts, shifting allocation as well as word pairing, and narrative discourse on the analysis. The results were as follows. The component of Club Friday is a commercial radio program. The topic of each week is associated with love relationships in different ways. The purposes of this program is to advise, find solutions, as well as provide a channel for sharing and exchanging experiences and knowledge related to love, which can be applied in real life situation. There are two moderators hosting the program: Naphaporn Triwitwareekul (Sister Aoy) as the main moderator, and Saithip Montree Na Audhaya (Sister Chod) as the second moderator. Both of them are not a psychologist, but a radio broadcaster with life experience. In the program, people having problems can be divided into three categories based on the communication channel: those sending short messages, emails, and making phone calls. There were seven people who phoned in, but two of them had a communication breakdown. The interaction in Club Friday can be divided into three phases. For the opening, the main moderator (M) takes a responsibility of linking all stories to talk. The second moderator (A) adds up to the talk, reads and answers short messages. For the answering problem part, the main interaction also includes the same three phases. For problem presenting phase, which plays an important role, includes shifting narrations followed by conclusions from time to time. For problem analyzing, criticizing and suggesting phase, both of the main moderator (M) and second moderator (A) play an essential role. The data analysis takes place alternately with criticism and feedback instructions. For the encouraging phase, it is held at the end, which is the main responsibility of the two moderators. For the closing phase, both moderators are equally active in proposing issues, and saying goodbye. The shifting allocation of the set of speech acts can be divided into two major formulas. For the first formula, including response and feedback or dialogue discourse, are asking and response, and presenting and response. The second formula is a monologue discourse, which includes no answers. Analyze the order of a communicative event, the Club Friday program, considered as one communicative event, is divided into three phases. The opening is a general discussion, as well as introduction to the issues that will be discussed. The processing is a story exchanging part, as well as the part that asks and answers questions about the love of people of those who phoned in, sent short messages and emails. The closing is to talk about next week's episode, and promote future events. For solving problems of the five people who phoned in Club Friday radio program, if categorized based on the narrative discourse, there would be two kinds of people facing problems: those who need an answer, and those who do not want an answer. The contents of the phone-in programs showed that those having problems had to move away from the parties. For those wanting an answer, the moderator would suggest a solution. For those who do not want an answer, however, their problems must have already been solved, so it was just a sharing. There were four main norms used for answering questions: norms of being a couple, viewing world in reality, having self-esteem, and justice. The answering strategies could be divided into two groups: the strategies that promoted trust, such as indirect speech acts, repeating and agreeing, and defending, and the strategies helping people to get away from the problems, such as direct analysis, asking and allowing people to analyze the problem by themselves, and warning. The characteristics of the norms and answering strategies were well suitable for those who had problems. Both of the moderators allowed those people to solve their own problems, and the moderators also used a friendly key tone.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectคลับฟรายเดย์en_US
dc.titleการวิเคราะห์สัมพันธสารในรายการวิทยุ “คลับฟรายเดย์”en_US
dc.title.alternativeDiscourse Analysis of “Club Friday” Radio Programen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc495.91014-
thailis.controlvocab.thashภาษาไทย -- วจนะวิเคราะห์-
thailis.controlvocab.thashภาษาไทย -- การใช้ภาษา-
thailis.controlvocab.thashวจนะวิเคราะห์-
thailis.controlvocab.thashรายการวิทยุ-
thailis.manuscript.callnumberว 495.91014 ป17116ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรายการ “คลับฟรายเดย์” ในฐานะที่เป็นเหตุการณ์สื่อสาร และวิเคราะห์ลำดับเหตุการณ์สื่อสารในรายการคลับฟรายเดย์ ในตอนที่นำมาศึกษานี้เป็นความรักของหนุ่มสาวมีชื่อว่า รักครั้งไหนทำร้ายใจที่สุด ออกอากาศทางวิทยุคลื่นกรีนเวฟ ๑๐๖.๕ เอฟเอ็ม วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยอาศัยแนวคิดชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร แนวคิดวัจนกรรม แนวคิดการจัดสรรผลัดและคู่ถ้อยคำ และแนวคิดสัมพันธสารเรื่องเล่า ผลการศึกษามีดังนี้ องค์ประกอบของรายการคลับฟรายเดย์นั้น รายการคลับฟรายเดย์เป็นรายการวิทยุเชิงธุรกิจ หัวข้อในแต่ละสัปดาห์จะมีการพูดคุยเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ รายการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยแนะนำ หาทางออกของปัญหา ตลอดจนเป็นช่องทางการเล่าและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อรู้เท่าทันความรักและนำมาปรับใช้ในชีวิตตนเองได้ ผู้ดำเนินรายการมี ๒ คน คือ นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล (พี่อ้อย) มีหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการหลักและสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา (พี่ฉอด) มีหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการรอง ทั้งสองคนนี้ไม่ใช่นักจิตวิทยาแต่เป็นผู้จัดรายการวิทยุที่มีประสบการณ์ชีวิต ผู้มีปัญหาในรายการแบ่งเป็น ๓ ประเภทตามช่องทางการสื่อสาร คือ ผู้มีปัญหาที่ส่งข้อความสั้น ผู้มีปัญหาที่ส่งอีเมล์ และผู้มีปัญหาที่โทรศัพท์เข้ามาทางรายการ มี ๗ ราย มีสายที่ขัดข้องในการสื่อสาร ๒ ราย การปฏิสัมพันธ์ในรายการคลับฟรายเดย์แบ่งเป็น ๓ ช่วง คือ ช่วงเปิดรายการนั้น หน้าที่หลักเป็นของผู้ดำเนินรายการหลัก (M) ที่คอยเชื่อมโยงนำเข้าสู่เรื่องราวต่างๆที่จะพูดคุย ส่วนผู้ดำเนินรายการรอง (A) นั้นจะเป็นผู้กล่าวเสริมประเด็นพูดคุยทั่วไปและเป็นผู้เริ่มอ่านและตอบปัญหาจากข้อความสั้น สำหรับช่วงตอบปัญหามีการปฏิสัมพันธ์หลักเป็นแบบเดียวกัน ๓ ช่วง คือ ช่วงเสนอข้อมูลผู้มีปัญหานั้นมีบทบาทมาก ช่วงนี้จะเป็นการเล่าสลับกับการสรุปเป็นระยะๆ ช่วงวิเคราะห์ วิจารณ์และเสนอแนะ/แนะนำนี้ ทั้งผู้ดำเนินรายการหลัก (M) และ ผู้ดำเนินรายการรอง (A) มีบทบาทอย่างมาก การวิเคราะห์ข้อมูลนั้นเกิดขึ้นสลับกับการวิจารณ์และการเสนอแนะคำแนะนำ สำหรับช่วงให้กำลังใจเป็นช่วงที่เกิดท้ายสุดซึ่งเป็นหน้าที่หลักของผู้ดำเนินรายการทั้ง ๒ คน ช่วงปิดรายการในตอนท้ายนั้น ผู้ดำเนินรายการหลัก (M) และผู้ดำเนินรายการรอง (A) มีบทบาทพอๆกันในการเสนอประเด็นและการกล่าวอำลา สำหรับการจัดสรรผลัดในชุดวัจนกรรมจำแนกได้ ๒ สูตรใหญ่ คือ ชุดที่มีสัมพันธสารโต้ตอบ สามารถแบ่งได้ ๒ แบบ คือ แบบที่มีการถามก่อนแล้วจึงนำมาสู่การตอบและการตอบรับ แบบที่สองนั้นเป็น การเสนอข้อมูลขึ้นมาเอง จากนั้นจะเป็นการตอบรับ สูตรที่ ๒ นั้น เป็นสัมพันธสารแบบทางเดียว ชุดนี้จะเป็นการเสนอข้อมูลเพียงอย่างเดียวแต่ไม่มีการตอบรับ การลำดับเหตุการณ์สื่อสารในรายการคลับฟรายเดย์ ถือเป็นชุดเหตุการณ์สื่อสาร ๑ ชุดเหตุการณ์ ซึ่งประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ ส่วนเปิดรายการ เป็นช่วงที่มีการพูดคุยทั่วไป ตลอดจนมีการเกริ่นนำเพื่อเข้าสู่ประเด็นที่จะพูดคุย ส่วนดำเนินรายการ เป็นช่วงที่เป็นการแลกเปลี่ยนสนทนาเล่าเรื่องราว ตลอดจนถามและตอบปัญหาเกี่ยวกับความรักของบุคคลต่างๆ ทั้งผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาในรายการ ผู้ที่ส่งข้อความ ตลอดจนอีเมล์และส่วนปิดรายการ เป็นช่วงที่มีการพูดคุยเกี่ยวกับชื่อตอนในสัปดาห์หน้า และประชาสัมพันธ์ถึงงานที่จะเกิดขึ้น การตอบปัญหาของผู้มีปัญหาทางโทรศัพท์ในรายการคลับฟรายเดย์ ๕ รายนี้ หากจัดกลุ่มตามสัมพันธสารที่เป็นเรื่องเล่าแล้วนั้น ผู้มีปัญหาจะมี ๒ แบบ คือ ผู้มีปัญหาที่ต้องการคำตอบ และผู้มีปัญหาที่ไม่ต้องการคำตอบ ในเนื้อหาสาระของผู้มีปัญหาที่โทรศัพท์เข้ามาในรายการพบว่า ผู้มีปัญหาทุกคนจะต้องเป็นผู้ถอยห่างจากคู่กรณี ซึ่งกลุ่มผู้มีปัญหาที่ต้องการคำตอบ ผู้ดำเนินรายการจะแสดงการแนะนำ แต่ผู้มีปัญหาที่ไม่ต้องการคำตอบนั้นมีจุดที่ปัญหาคลี่คลายแล้ว จึงเป็นเพียงการเล่าสู่กันฟังเท่านั้น สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการตอบปัญหานั้นมี ๔ เกณฑ์หลักที่ใช้ คือ เกณฑ์การเป็นคู่รัก เกณฑ์การมองโลกในความเป็นจริง เกณฑ์เรื่องการให้ผู้มีปัญหาเห็นคุณค่าในตนเอง และเกณฑ์เรื่องความยุติธรรม ส่วนกลวิธีการตอบปัญหานั้นแบ่งได้ ๒ กลุ่ม คือ กลวิธีเพื่อให้ผู้มีปัญหาไว้วางใจ เช่น การใช้วัจนกรรมอ้อม การใช้การกล่าวทวนคล้อยตาม และการใช้คำพูดออกตัว และกลวิธีที่ช่วยให้ผู้มีปัญหาออกจากปัญหา เช่น การวิเคราะห์ให้ผู้มีปัญหาเห็นตรงๆ การตั้งคำถามเพื่อให้ผู้มีปัญหาวิเคราะห์ตนเอง และการเตือน ลักษณะของเกณฑ์ที่ใช้และกลวิธีการตอบนั้นเหมาะสมกับลักษณะของ ผู้มีปัญหาเป็นอย่างดี ผู้ดำเนินรายการทั้ง ๒ คนให้สิทธิ์ในการตัดสินใจแก่ผู้มีปัญหาและมีน้ำเสียงที่เป็นกันเองen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT253.83 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX 1.pdfAPPENDIX1330.17 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX 2.pdfAPPENDIX2449.9 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX 3.pdfAPPENDIX3419.77 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX 4.pdfAPPENDIX4353.45 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX 5.pdfAPPENDIX5658.12 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1209.72 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2523.7 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3607.81 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 41.69 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5323.54 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT335.51 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER648.55 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE196.12 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.