Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45962
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุบผา อนันต์สุชาติกุล-
dc.contributor.authorปิยะฉัตร นันธิสิงห์en_US
dc.date.accessioned2018-03-27T03:52:06Z-
dc.date.available2018-03-27T03:52:06Z-
dc.date.issued2557-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45962-
dc.description.abstractThe research was conducted in order to study the process of the action research of the teacher for developing learning activities which are emphasized on critical thinking in 3 divisions: 1) Lesson plan development which is focused on critical thinking 2) The use of lesson plan for developing critical thinking 3) Teachers co-operation in sharing ideas and development of designing learning activities through helping among teachers and study the result of the critical thinking development of MathayomSuksa 1 students of Ban Khunpae School, Chom Tong District, Chiang Mai Province in 2 divisions; 1) The level of critical thinking 2) The learning achievement in each subject. This research is a co-operative action research. The experimental groups are 5 teachers and 18 of MathayomSuksa 1 in 1st semester 2014. There are 2 parts of teacher collaborative action research in the process of developing critical thinking; Part 1: The co-operation of action researchThereare 3 periods of time - Period 1: Basic preparation - includes activities of seeking for co-operation, analyzing the cause of the problem, and promoting participants’ potentiality - Period2: Try out - includes activities of making the learning plan (Plan), managing the learning & teaching (Act & Observe) - Period3: Evaluation Part 2: Activities for developing the teachers operation; - Analyze the cause of the problem. - Have a vision discussion. - Encourage the researcher stability, in order to share ideas and experiences and fulfill how to do the research. - Designing lesson plans including teaching, observing and reflection. The research instruments are; - The record of attending the research - The record of co-operation - The record of meeting - The critical thinking skill test - The test of learning achievement of 5 subjects - The record of reflection by analyzing information from documents or analyzing content The findings are; -The action research by teacher co-operation can encourage team work. The belief in team workers from co-operation in planning, action of learning & teaching,supervision, learning exchange, and reflection can enhance sharing experiences and attitudes. All researchers have an opportunity to share and help each other. All researchers have an equal role in this action research. The outcome from co-operation with willing and full potential by using the principle of true friend in helping each other: -For students, the action research helps in learning atmosphere. For student development, it helps in developing students critical thinking. The director, teachers, and parents have the essential role in developing student critical thinking by using the integrated activities. The student can learn by noticing ,recording, presenting, questioning, answering, finding answers, integration, discussion, experiment, and summarizing through group activity. It is indicated that promoting students’ critical thinking by doing helps students to have critical thinking at good level. They are encourage in problem definition, think and analyze the information, create the hypothesis, and summarize reasonably. We also found that the student achievement in 5 subjects is satisfactory. More than this, the action research can also help in student learning through several ways; autonomous learning and group activity. It helps to encourage students’ attention. They have fun with their studying, pleased with doing activities, fun with thinking, excited to learn in the real situation, proud with their complete tasks, like the learning activities. The learning activities are not boring. These also help students to have more self-confidence.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการวิจัยเชิงปฏิบัติการen_US
dc.subjectกระบวนการพัฒนาการคิดen_US
dc.subjectโรงเรียนบ้านขุนแปะen_US
dc.titleการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือของครูในกระบวนการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านขุนแปะอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeTeacher Collaborative Action Research in the Process of Developing Critical Thinking Among Mathayom Suksa 1 Students at Ban Khunpae School, Chom Tong District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc370.7-
thailis.controlvocab.thashวิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษา -- จอมทอง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการศึกษา -- วิจัย-
thailis.controlvocab.thashนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 370.7 ป3611ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการพัฒนาการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ด้วยกระบวนการใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือ คือ 1) การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) การนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ความร่วมมือของครูผู้สอนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการหนุนเสริมซึ่งกันและกัน และศึกษาผลการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนจากระดับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแต่ละสาระการเรียนรู้ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้ร่วมวิจัย 5 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 คนดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2555ผู้วิจัยได้ประยุกต์แบบแผนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือ มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่1 ขั้นการเตรียมการเบื้องต้น ประกอบด้วยกิจกรรมแสวงหาความร่วมมือกิจกรรมวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพผู้ร่วมวิจัย ระยะที่ 2 ขั้นการปฏิบัติประกอบด้วยกิจกรรมจัดทำแผนการเรียนรู้ (Plan)กิจกรรมการจัดการเรียนการสอน (Act&Observe)และระยะที่ 3 ขั้นประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่วนที่2 กิจกรรมการพัฒนาความร่วมมือของผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ กิจกรรมวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาเป็นการสร้างความร่วมมือของผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยในการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพผู้ร่วมวิจัยเป็นการสร้างความร่วมมือของผู้ร่วมวิจัยในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำวิจัยเติมเต็มความรู้ที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติการวิจัย กิจกรรมจัดทำแผนการเรียนรู้ (Plan) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (Act) กิจกรรมสังเกตผลการปฏิบัติ (Observe) และกิจกรรมสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflect) เป็นการสร้างความร่วมมือของผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยในการปฏิบัติการสอน นิเทศการสอน อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสะท้อนผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควบคู่กับการวิจัยร่วมกัน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 5 สาระการเรียนรู้ที่ได้ดำเนินการตรวจสอบความเหมาะสมของข้อสอบโดยฝ่ายวิชาการของโรงเรียน บันทึกการเข้าร่วมการปฏิบัติการวิจัยบันทึกการสังเกตการมีส่วนร่วมบันทึกการดำเนินการวิจัย และบันทึกการสะท้อนคิดที่ได้รับคำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการดำเนินการวิจัยพบว่า กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือของครูทำให้เกิดการ เรียนรู้การทำงานเป็นทีม เชื่อมั่นและความไว้วางใจในทีมจากความร่วมมือในการวางแผน การปฏิบัติการเรียนการสอน การนิเทศ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสะท้อนคิด ซึ่งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือทัศนคติร่วมกัน ได้เปิดโอกาสให้ทุกคนในทีม อภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยที่ทุกคนมีบทบาทที่เท่าเทียมกัน ผลที่เกิดจากการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างเต็มใจ อย่างเต็มศักยภาพ ใช้หลักกัลยาณมิตรในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดบรรยากาศขององค์กรแห่งการเรียนรู้ขึ้นภายในโรงเรียน ด้านการพัฒนาผู้เรียน ผลการดำเนินการพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการตั้งคำถาม การตอบคำถาม การค้นหาคำตอบ การเชื่อมโยงบูรณาการอภิปราย การทดลอง และการสรุปผลเรียนรู้บูรณาการการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ให้ผู้เรียนได้ฝึกการสังเกต การบันทึก การนำเสนอ การอภิปราย การทดลอง และการสรุปผลผ่านกระบวนการกลุ่มนั้น พบว่า การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เมื่อพิจารณาในภาพรวมนักเรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับดี คือนักเรียนมีการพัฒนาความสามารถด้านการนิยามปัญหา การพิจารณาและวิเคราะห์ข้อมูล การตั้งสมมติฐาน การลงข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผล และนักเรียนมีผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 5 สาระการเรียนรู้เป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้มีการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติในการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้นักเรียนมีความสนใจ มีความกระตือรือร้นในการเรียน สนุกกับการเรียนรู้ สนุกกับการทำกิจกรรม สนุกที่ได้ฝึกคิด ตื่นเต้นที่ได้เรียนรู้จากสถานที่จริง และเกิดความภูมิใจในผลงานของตนเองและชื่นชอบการจัดกิจกรรมการเรียน เพราะทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อหน่าย รู้สึกสนุกและตื่นเต้นกับการเรียน ได้ฝึกคิด ฝึกทดลอง ฝึกค้นคว้า และรู้สึกว่าตนเองมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT290.57 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX529.28 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1331.06 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2601.1 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3365.51 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4660.53 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5981.23 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 6.pdfCHAPTER 6306.88 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT257.71 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER627.85 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE287.57 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.