Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45908
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฉวีวรรณ ธงชัย-
dc.contributor.authorน้ำฝน พุทธกาลen_US
dc.date.accessioned2018-03-26T04:13:07Z-
dc.date.available2018-03-26T04:13:07Z-
dc.date.issued2557-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45908-
dc.description.abstractAdverse symptoms during the recovery period after coronary artery bypass surgery (CABG) are very common. Adverse symptoms impact physical function, psychosocial and economic well-being. Evidence-based interventions are needed to enhance recovery of patients at home. The objective of this study was to promote recovery and determine the effectiveness of promoting recovery among patients after CABG, at the Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. The subjects were patients after CABG treated at the Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, during September 2013 to February 2014. The subjects consisted of two groups; 46 subjects after CABG who were confined before implementation of the promoting recovery program, during September 2013 to November 2013 and 44 subjects who were confined after the implementation of the program, during December 2013 to February 2014. The instruments used in this study were the Audiotape Information Program (Utriyaprasit et al., 2010) and an outcome evaluation form consisting of Symptoms Inventory Interview Form (Artinian, 1993).The study was based on the framework of the Stetler Model of Research Utilization (Stetler, 2001). Data were analyzed using descriptive statistics. The findings revealed that: 1. On the day before discharge from the hospital, the mean scores of adverse symptoms among the subjects group who were confined before the implementation of the promoting recovery Program was 52.67 (SD = 11.02), while the subjects group who were confined after the implementation of the program had a mean scoreof50.45 (SD = 9.07) 2. Two weeks after CABG, the mean score of adverse symptoms among the subjects group confined before implementation of the promoting recovery program was 41.74 (SD=6.57), while the subjects group confined after implementation had a mean score of only36.86 (SD = 5.88). 3. Four weeks after CABG, the mean score of adverse symptoms among the subjects group confined before implementation of the program was 33.59 (SD = 4.86), while the group confined after implementation had a mean scoreof only27.18 (SD = 3.72) The findings of the study show thatpromotion of recovery afterCABGis able to reduce adverse events.The results should be presented to relevant administrative committees in order to guide quality improvement.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการส่งเสริมการฟื้นสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดen_US
dc.subjectหลอดเลือดหัวใจen_US
dc.subjectโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
dc.titleประสิทธิผลของการส่งเสริมการฟื้นสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeEffectiveness of Promoting Recovery Among PatientsAfter Coronary Artery Bypass Surgery, MaharajNakornChiang Mai Hospitalen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.nlmcW 4-
thailis.controlvocab.meshPostperative care-
thailis.controlvocab.meshCoronary artery bypass-
thailis.controlvocab.meshMaharaj Nakorn Chiang Mai hospital-
thailis.manuscript.callnumberW 4 น225ป 2557-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractอาการไม่พึงประสงค์ในระยะฟื้นสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจพบได้บ่อยอาการไม่พึงประสงค์มีผลกระทบต่อผู้ป่วยด้านร่างกาย จิตสังคม และเศรษฐกิจ การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อส่งเสริมการฟื้นสภาพเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการส่งเสริมการฟื้นสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจที่เข้ารับการรักษาระหว่างเดือนกันยายน 2556 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ประกอบด้วย2 กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มตัวอย่างก่อนมีการใช้โปรแกรมส่งเสริมการฟื้นสภาพ จำนวน 46 คนที่เข้ารับการรักษาระหว่างเดือนกันยายน 2556 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2556และกลุ่มตัวอย่างที่มีการใช้โปรแกรมจำนวน 44 คนที่เข้ารับการรักษาระหว่างเดือนธันวาคม 2556 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เครื่องมือดำเนินการศึกษา ได้แก่ โปรแกรมการให้ข้อมูลโดยออดิโอเทปของเกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์ และคณะ (Utriyaprasitet al., 2010)และแบบประเมินผลลัพธ์ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์อาการของอาร์ติเนียน (Artinian, 1993) การศึกษาอิงกรอบแนวคิดรูปแบบการใช้ผลการวิจัยสู่การปฏิบัติของสเต็ทเลอร์(Stetler, 2001) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า 1. ในระยะ1 วันก่อนจำหน่าย กลุ่มตัวอย่างก่อนมีการใช้โปรแกรมส่งเสริมการฟื้นสภาพ มีค่าเฉลี่ยของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์เท่ากับ 52.67 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 11.02) ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการรักษาภายหลังการใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 50.45 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 9.07) 2. ในระยะสองสัปดาห์หลังผ่าตัดกลุ่มตัวอย่างก่อนเข้ารับการรักษาก่อนใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ41.74 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.57)ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างหลังเข้ารับการรักษาภายหลังการใช้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ36.86 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.88) 3. ในระยะสี่สัปดาห์หลังผ่าตัดกลุ่มตัวอย่างก่อนเข้ารับการรักษาก่อนใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ33.59 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.86) ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างหลังเข้ารับการรักษาภายหลังการใช้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ27.18 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.72) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงว่าการส่งเสริมการฟื้นสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจสามารถลดอาการไม่พึงประสงค์ลงควรนำผลการศึกษานี้เสนอต่อคณะผู้บริหารที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาคุณภาพen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT280.85 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX1.48 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1279.09 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2444.27 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3320.27 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4495.71 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5274.28 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT218.84 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER618.01 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE293.76 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.