Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45888
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทศพร คำผลศิริ-
dc.contributor.authorพัชรียา พ่อค้าen_US
dc.date.accessioned2018-03-21T08:52:26Z-
dc.date.available2018-03-21T08:52:26Z-
dc.date.issued2557-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45888-
dc.description.abstractStroke is a common disease in elderly people and can result in dependency. Therefore, development of clinical practice guidelines (CPGs) for elderly people with stroke in the rehabilitation phase is necessary for positive outcomes. This developmental study aimed to develop CPGs for elderly people with stroke needing rehabilitation care at Chiangmai Ram Hospital. The study based on the CPGs developmental-framework of the Australian National Health and Medication Research Council (NHMRC, 1999). The feasibility of the CPGs implementation was explored using a questionnaire with 17 people from a health care team. Data were analyzed using descriptive statistics. The results of the study were as follows: 1. The CPGs were developed from 42 evidences into 39 items. The guidelines consisted of five components: 1) assessment for rehabilitation care, 2) care of stroke rehabilitation, 3) education, 4) continuity of care, and 5) improved quality of care 2. After following the implementation of the CPGs, one hundred percent of the sample agreed that the CPGs implementation would enable all of the recommendations made. One hundred percent agreed that CPGs can solve problems or provide positive outcomes, and 94.12% agreed that the CPGs were appropriate and feasible for implementation in a ward unit. In addition, 88.24% of the sample agreed that the recommendations of the CPGs were clear and reduced cost, and 88.35% of the sample agreed that the CPGs were convenient to use, and providing ease of practice implementation. From the results of this study, it can be concluded that the CPGs were feasible for implementation. However, the CPGs can be adjusted and updated appropriately based on ongoing use and recommendations. These recommendations should be presented to the administration for further implementation and for quality of care.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectแนวปฏิบัติทางคลินิกen_US
dc.subjectการดูแลผู้สูงอายุen_US
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.titleการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองในระยะฟื้นฟูสภาพ โรงพยาบาลเชียงใหม่รามen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Clinical Practice Guidelines for Elderly Stroke Rehabilitation Care, Chiangmai Ram Hospitalen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.nlmcW 4-
thailis.controlvocab.meshGeriatric nursing-
thailis.controlvocab.meshStroke-
thailis.manuscript.callnumberW 4 พ212ก 2557-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และส่งผลให้เกิดภาวะพึ่งพา ดังนั้น การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองในระยะฟื้นฟูสภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี การศึกษาเชิงพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองในระยะฟื้นฟูสภาพ โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม โดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาวิจัย ทางการแพทย์และสาธารณสุขแห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย (National Health and Medication Research Council [NHMRC], 1999) และศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกโดยใช้แบบสอบถามจากทีมผู้ดูแล จำนวน 17 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษามีดังนี้ 1. แนวปฏิบัติทางคลินิกจากหลักฐานเชิงประจักษ์จำนวน 42 ฉบับ ได้ข้อเสนอแนะ ในการปฏิบัติจำนวน 39 ข้อ และนำข้อเสนอแนะมาจัดหมวดหมู่โดยมีสาระสำคัญ 5 หมวด คือ 1) การประเมินอาการเพื่อการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง 2) การดูแลเพื่อการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง 3) การให้ความรู้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแล 4) การดูแลส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่องและ 5) การพัฒนาคุณภาพบริการ 2. การนำแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองในระยะฟื้นฟูสภาพ โรงพยาบาลเชียงใหม่ รามไปใช้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 100 มีความคิดเห็นว่า แนวปฏิบัติโดยรวมมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติและมีประสิทธิผลที่จะเกิดแก่ผู้รับบริการ เมื่อนำแนวปฏิบัติไปใช้ในระดับมากคือร้อยละ 100 มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในหน่วยงานในระดับมากคือร้อยละ 94.12 มีความง่ายและความสะดวกในการใช้แนวปฏิบัติ ในระดับมากคือร้อยละ 82.35 มีความชัดเจนของข้อเสนอแนะในแนวปฏิบัติและมีความประหยัด เมื่อนำแนวปฏิบัติไปใช้ในระดับมากคือร้อยละ 88.24 ผลการศึกษาครั้งนี้จึงสรุปได้ว่าแนวปฏิบัติทางคลินิกที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้ สามารถนำไปใช้ในหน่วยงานที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ตามอาจเพิ่มเติมข้อแนะนำและปรับปรุงแนวปฏิบัติให้มีความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ และนำเสนอผู้บริหารเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้แนวปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดคุณภาพการบริการต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT263.74 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX478.18 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1333.06 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2408.99 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3404.17 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4409.41 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5244.06 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT165.62 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER536.69 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE309.02 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.