Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45871
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล | - |
dc.contributor.advisor | ศิวพร อึ้งวัฒนา | - |
dc.contributor.author | พนาวัน พรหมเผ่า | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-03-21T04:05:05Z | - |
dc.date.available | 2018-03-21T04:05:05Z | - |
dc.date.issued | 2557-09 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45871 | - |
dc.description.abstract | An Emergency Operation Unit is a team which provides initial emergency care and aid. It consists of personnel with the necessary knowledge, experience and equipment to deal with emergency situations. A descriptive study was conducted to analyze the performance of 5 Emergency Operation Units operating in Pa Daet District, Chiang Rai Province, using the structure, process and outcome framework proposed by Avedis Donabedian (2003). Population and sample were both evaluated within study. The instruments used in the study were structured interviews for the Director of Disaster Prevention and Mitigation and the Head of the Emergency Operation Unit, plus 9 persons who were also from the Emergency Operation Unit. Nine health care personnel were process interviewed along with 10 staff from the Dispatch Center. In addition a focus group was conducted with 10 people who are first responders. Data were recorded using the 139 record form. Data were then analysed using content analysis and categorization. The study found that Pa Daet District Emergency Operation Unit worked with 4 local government units and 1 private unit. Structural analysis showed components; 1) institutional policy and performance-based emergency medical services, 2) emergency medical context of second line of command, according to local regulations and unit organization (with one of the 5 Units in the study was operating without a Director of Disaster Prevention and Mitigation), 3) four of the units had plans of action for 1-3 years, while 1 unit did not have a plan, 4) there were not enough first responders to cover all the work required, 5) tools, materials and equipment in operation were sufficient and effective 6) location of all units is convenient regarding travel access and operations in each unit can be accounted for, 7) all units use centralized manual operational records, 8) each unit has been uneven allocated, and 9) all units use centralized record form. The process analysis revealed; 1) the promotion of many forms of emergency medical systems, both formal and informal styles, 2) refreshing of training knowledge, but without fixed regularity, 3) standard guidelines developed from continued use and practice based on initial coordination before arriving at the emergency scene, during operation, and post-accident, and 4) a lack of emergency operations staff to complete sufficient performance. The results showed that 82.73% of the time, the unit arrived at the scene within 1-5 minutes; and were able to return to base within 16-30 minutes (53.24%). Of the patients who received treatment from the emergency response unit, 100% received bleeding prevention procedures/ primary care, 99.11% of the patients received respiratory support, appropriate bleeding prevention (72.66%), appropriate splint application (88.24%) but also found 1 incident where cardiac resuscitation was required but could not be performed . The results of this study will be used as the basis for planning the implementation of guidelines in the emergency medical services system, and regarding 2nd personnel management issues. This development should continue as well as monitoring and evaluation, in order to further promote operational efficiency. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน | en_US |
dc.subject | การปฏิบัติงาน | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์สถานการณ์การปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน ในชุมชน อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย | en_US |
dc.title.alternative | Situational Analysis of Emergency Operation Unit Practices in Community, Pa Daet District, Chiang Rai Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.nlmc | W 4 | - |
thailis.controlvocab.thash | Emergency medical services | - |
thailis.manuscript.callnumber | W 4 พ151ก 2557 | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นเป็นหน่วยงานที่ให้การดูแลและช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ประสบการณ์ และความพร้อมด้านอุปกรณ์ เพื่อให้บริการได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นในชุนชน อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย ในด้านโครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ ตามกรอบแนวคิดของโดนาบีเดียน โดยศึกษาทั้งในประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ด้านโครงสร้าง สำหรับผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน 9 คน แบบสัมภาษณ์ด้านกระบวนการสำหรับบุคลากรทีมสุขภาพโรงพยาบาลป่าแดด 9 คน และเจ้าหน้าที่ศูนย์สั่งการ 10 คนแนวทางสนทนากลุ่มสำหรับ ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น 10 คน แบบบันทึกการปฏิบัติงานหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น 139 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และจัดหมวดหมู่เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า อำเภอป่าแดดมีหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 4 แห่ง และเอกชนจำนวน 1 แห่ง ผลการปฏิบัติงานมี ดังนี้ ด้านโครงสร้าง 1) มีการรับนโยบายจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินและปฏิบัติงานตามระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ 2) สายการบังคับบัญชาของ อปท.เป็นไปตามระเบียบของ อปท. และหน่วยเอกชน มีเพียงหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นและ ผู้ปฏิบัติการ 3) หน่วยของ อปท. มีแผนการปฏิบัติงานระยะ 1 ปีและ 3 ปี ส่วนหน่วยของเอกชนไม่มีแผนการปฏิบัติงานประจำปี 4) จำนวนและอัตรากำลังผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นยังไม่เพียงพอกับการทำงาน 5) เครื่องมือ วัสดุ ครุภัณฑ์ในการดำเนินงานมีเพียงพอกับการใช้งานและมีประสิทธิภาพ 6) สถานที่ตั้งของทุกหน่วยสะดวกสำหรับการเดินทาง และเป็นสัดส่วน 7) ทุกหน่วยใช้คู่มือการปฏิบัติงานจากส่วนกลางซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกัน 8) งบประมาณ แต่ละหน่วยได้รับจัดสรรไม่เท่ากัน และ 9) ทุกหน่วยใช้แบบบันทึกการปฏิบัติงานจากส่วนกลาง ด้านกระบวนการ พบว่า 1) ทุกหน่วยมีการประชาสัมพันธ์หลายรูปแบบทั้งที่เป็นทางการและรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ 2) มีการอบรมฟื้นฟูความรู้แต่ยังไม่ต่อเนื่อง 3) มีการให้บริการตามแนวทางการรับแจ้งออกเหตุ การให้การช่วยเหลือเบื้องต้น การประสานงานก่อนออกปฏิบัติงาน ขณะออกปฏิบัติงานและหลังออกเหตุ และ4) การจัดชุดปฏิบัติการฉุกเฉินไม่เพียงพอกับการปฏิบัติงาน ด้านผลลัพธ์ พบว่า ระยะเวลาการปฏิบัติงานตั้งแต่รับแจ้งเหตุ ถึงจุดเกิดเหตุ 1-5 นาที (82.73%) ตั้งแต่รับแจ้งจนถึงกลับฐาน 16-30 นาที (53.24%) ทำหัตถการห้ามเลือด (100%) และผลการดูแลรักษาขั้นต้นอาการคงที่ (99.28%) ผลการประเมินการปฏิบัติงานตามแบบบันทึกพบว่า การช่วยเหลือทางเดินหายใจ ทำได้เหมาะสม (99.11%) การห้ามเลือด ทำได้เหมาะสม (72.66%) การดามกระดูก ทำได้เหมาะสม (88.24%) แต่ยังพบผู้เจ็บป่วยที่มีอาการหัวใจหยุดเต้นไม่ได้รับปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ 1 ราย ผลการศึกษาในครั้งนี้ได้ข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการปฏิบัติงานตามแนวทางในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยเฉพาะประเด็นการบริหารจัดการบุคลากร การพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการติดตามและประเมินผล เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 152.39 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 440.73 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 220.29 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 353.11 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 162.42 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 381.45 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 162.93 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CONTENT.pdf | CONTENT | 127.06 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
COVER.pdf | COVER | 549.81 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 211.44 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.