Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45853
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนิดา รัตนปิติกรณ์-
dc.contributor.authorศิริพร ศิริโอวาทen_US
dc.date.accessioned2018-03-13T03:22:21Z-
dc.date.available2018-03-13T03:22:21Z-
dc.date.issued2557-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45853-
dc.description.abstractThis research aims at exploring and studying opinions of fish-feeding farmers on Liang Pla Ban Tam Mueang Phayao Cooperative Limited. The population of this research was 192 commercially fish-feeding farmers in Muang District, Dok Kham Tai District and Phu Kam Yao District of Phayao Province. Raw data were collected via questionnaires and analyzed by using statistical methods. The data showed frequency distribution, percentage, mean with standard deviation. Chi-Square test was used for analysis the relationship between treatment means among factors. The result showed that the majority fish-feeding farmers were male with the range of age from 41-60 years old and had 3-4 years of fish-feeding experiences. Most of them were married and had 3 member of family. The population had education level at elementary school and recognized the cooperative for about 4 years or exactly 3.66 years. Most of the population are members of Liang Pla Ban Tam Mueang Phayao Cooperative Limited, and are not the member of the other cooperatives. Most of the population who are not the members of Liang Pla Ban Tam Mueang Phayao Cooperative Limited showed their opinion that do not want to be the cooperative members. Most of fish-feeding farmers have their own area for feeding fish about 3-5 Rai. (1 Rai = 1600 square metres), have invested by their own money and loan some money from the financial institutions (ie. Bank for Agriculture and Agricultural Co-operative, BAAC). The population may request loan for production factor from the cooperative. The amount of loan was about 80,000 Baht per each feeding cycle. Each fish-feeding farmer who work as part time activity from their principal agriculture (ie. rice farming, fruit gardening), had less than 3 household workers and earned their income about 15001-20000 Baht per month. Non-member farmer sold their fish to the middleman via broker and the cooperative’s members sold their fish to the middleman via the cooperative. The price of fish is classified by size of the fish (labled by number). The No.1 (the biggest) is 55-59 Baht/kg, No.2 is 50-52 Baht/kg, No.3 is 35-39 Baht/Kg and No.4 is 24-27 Baht/Kg. The results of this research classified the opinion of fish-feeding farmers on Liang Pla Ban Tam Mueang Phayao Cooperative Limited into 4 aspects as following images of cooperatives, incomes and returns, services of cooperatives and learning & occupation support. In conclusion, the learning & occupation support of cooperative are in the most appropriate level (average 4.22), the farmers agreed that the training programs provided the benefit to the farmers and cooperatives can provide the training programs. The high appropriate level of opinions were the images of cooperative (average 3.71) and services of cooperatives (average point 3.42), the farmers favor the location and dependability of cooperative. The farmers satisfied the incomes & returns (average 3.38) in moderate appropriate level. The results of studying the relationship between independent variables and opinions of farmers found that the independent variables appears to affect opinions of farmers as following graduation level had the relation with service of cooperatives. Fish-feeding experience had the relation with the images of cooperatives and incomes & returns. Land ownership had the relation with the images of cooperatives. Membership status of cooperative had the relation with the opinions on the images of cooperatives, incomes & returns and learning & occupation support. And membership status of other cooperatives had the relation with the opinions on the images of cooperatives, incomes and returns.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเกษตรกรen_US
dc.subjectสหกรณ์เลี้ยงปลาen_US
dc.titleความคิดเห็นของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา ต่อสหกรณ์เลี้ยงปลาบ้านต๊ำเมืองพะเยา จำกัดen_US
dc.title.alternativeOpinions of Fish-Feeding Farmers on Liang Pla Ban Tam Mueang Phayao Cooperative Limiteden_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc338.476393-
thailis.controlvocab.thashปลา -- การเลี้ยง -- แง่เศรษฐกิจ-
thailis.controlvocab.thashปลา -- การเลี้ยง-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกร -- พะเยา -- ภาวะเศรษฐกิจ-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 338.476393 ศ373ค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรผู้เห็นเลี้ยงปลาต่อสหกรณ์เลี้ยงปลาบ้านต๊ำเมืองพะเยา จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลเชิงพาณิชย์ของอำเภอเมือง อำเภอดอกคำใต้ และอำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา จำนวน 192 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยใช้การทดสอบแบบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 41-60 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์การเลี้ยงปลาประมาณ 3-4 ปี มีสมาชิกในครอบครัวน้อยกว่า 3 คน เกษตรกรส่วนใหญ่รู้จักสหกรณ์ โดยรู้จักมาประมาณ 4 ปี หรือโดยเฉลี่ยแล้วรู้จักประมาณ 3.66 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสหกรณ์ และไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์อื่น ส่วนเกษตรกรที่ไม่เป็นสมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่ไม่มีความต้องการที่จะเป็นสมาชิกสหกรณ์ เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่การเลี้ยงปลาประมาณ 3-5 ไร่ (1 ไร่ = 1,600 ตารางเมตร) โดยที่ดินนั้นเป็นที่ดินของตนเองทั้งหมด ด้านเงินทุนในการเลี้ยงปลา เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เงินทุนของตนเอง ร่วมกับมีการกู้เงินจากสถาบันการเงินอื่นๆ อีกด้วย เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตร (ธกส.) ในส่วนของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์จะใช้การกู้เงินในลักษณะสินเชื่อปัจจัยการผลิตมาจากสหกรณ์การกู้เงินจะกู้มากกว่า 80,000 บาทต่อหนึ่งรอบการเลี้ยงปลา ในการเลี้ยงปลามีแรงงานในครัวเรือนน้อยกว่า 3 คน โดยอาชีพการเลี้ยงปลานี้เกษตรกรทำเป็นอาชีพเสริมจากการทำเกษตรกรรมอื่นๆ เช่น ทำนา ทำสวนผลไม้ เป็นต้น มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 15,001-20,000 บาท รูปแบบการขายปลา เกษตรกรส่วนใหญ่ขายปลาให้พ่อค้าคนกลางโดยผ่านนายหน้าซื้อปลา แต่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์จะขายปลาให้พ่อค้าคนกลางผ่านสหกรณ์ มีลักษณะการขายปลา ขายแบบคัดขนาด เบอร์ 1 จะจำหน่าย ราคาประมาณ 55-59 บาท/กิโลกรัม เบอร์ 2 จำหน่ายราคาประมาณ 50-52 บาท/กิโลกรัมเบอร์ 3 จำหน่ายราคาประมาณ 35-39 บาท/กิโลกรัม และเบอร์ 4 จำหน่ายราคาประมาณ 24-27 บาท/กิโลกรัม ผลการศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรต่อสหกรณ์เลี้ยงปลาบ้านต๊ำเมืองพะเยา จำกัด แบ่งความคิดเห็นออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านภาพลักษณ์ของสหกรณ์ ด้านการรายได้และผลตอบแทน ด้านการบริการของสหกรณ์ และด้านการส่งเสริมความรู้และอาชีพ สรุปได้ว่า ด้านการส่งเสริมความรู้และอาชีพมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (ค่าเฉลี่ย 4.22) โดยเกษตรกรเห็นว่าการอบรม ทัศนะศึกษา ดูงานเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร และสหกรณ์สามารถจัดการอบรมได้อย่างเหมาะสม และมีความคิดเห็นระดับเห็นด้วยในด้านภาพลักษณ์ของสหกรณ์ (ค่าเฉลี่ย 3.71) และด้านการบริการของสหกรณ์ (ค่าเฉลี่ย 3.42) เกษตรกรพอใจที่ตั้ง ความน่าเชื่อถือของสหกรณ์ และประโยชน์จากสหกรณ์ เกษตรกรเห็นด้วยว่าการบริการของสหกรณ์มีความเหมาะสม และเกษตรกรมีความคิดเห็นระดับเฉยๆในด้านรายได้และผลตอบแทน (ค่าเฉลี่ย 3.38) เพราะรายได้และผลตอบแทนระหว่างการเป็นสมาชิกสหกรณ์และไม่เป็นสมาชิกสหกรณ์ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและความคิดเห็นของเกษตรกร พบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อการแสดงความคิดเห็นของเกษตรกร คือ ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นด้านการบริการของสหกรณ์ ประสบการณ์การเลี้ยงปลามีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นด้านภาพลักษณ์ของสหกรณ์ และด้านรายได้และผลตอบแทน สภาพการถือครองที่ดินมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นด้านภาพลักษณ์ของสหกรณ์ สถานภาพการเป็นสมาชิกสหกรณ์มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นด้านภาพลักษณ์ของสหกรณ์ และด้านรายได้และผลตอบแทน และสถานภาพการเป็นสมาชิกสหกรณ์อื่นมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นด้านภาพลักษณ์ของสหกรณ์ และด้านรายได้และผลตอบแทนen_US
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT342.9 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX425.02 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1297.65 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdf CHAPTER 2558.18 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdf CHAPTER 3321.6 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 41.03 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdf CHAPTER 5401.77 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT339.02 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdf COVER737.46 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE328.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.