Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45847
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกรรณิการ์ ณ ลำปาง-
dc.contributor.authorนฤพล ปัญญาen_US
dc.date.accessioned2018-03-13T03:00:53Z-
dc.date.available2018-03-13T03:00:53Z-
dc.date.issued2557-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45847-
dc.description.abstractThe objective of this study was to study the effectiveness of the preventing measure of Dengue fever outbreaks by public health volunteers and the implementation of their population in Tambon Bong Ton, Doi Tao district, Chiang Mai province. This study is a descriptive study using Pearson’s correlation coefficient. Of the 140 public health volunteers, there were mostly female at the age between 31-40 years old and have been volunteered for 6 - 10 years. Eighty nine percent of them have intermediate knowledge in preventing of Dengue fever. Half of the volunteers involved in this study did not have the correct understanding in controlling the mosquito number by getting rid of theirs larva using temephos (Abate Sand®), recognizing Dengue fever symptoms and medication precautions in children. The Dengue fever preventing operation by public health volunteer had been performed at intermediated level. There were 95 percent of the volunteers that had never used chemical spray for mosquito adulticide in public areas, and around household. Sixty eight percent of the volunteers had never used chemical fumigation method for the adulticide. Among 310 members of Tambon Bong Ton, only 30 percent were aware of mosquitoes as vectors of Dengue fever. Most of them did not perform the Dengue fever prevention, such as keeping their household clean, emptying stagnant water from flower pots, old tires or trash can around the houses. Using the Pearson’s correlation coefficient, there was a significant intermediate correlation (r = 0.556; p-value <0.001) between prevent/control of Dengue fever by public health volunteers and their behavior in case of the disease outbreak. There was a significantly low correlation (r=0.144; p=value < 0.011) between the knowledge in Dengue fever of Tambon Bong Ton’s population and their disease prevention behavior. We conclude that the Dengue fever prevention operation of the public health volunteers and behavior of Tambon Bong Ton’s members in prevention and control of Dengue fever in this community was in the intermediate to low level. Therefore, the continuous support from the government organizations in promoting the awareness of Dengue fever prevention and control in Tambon Bong Ton, Doi Tao district, Chiang Mai province is crucial in controlling the Dengue fever outbreak in this community.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโรคไข้เลือดออกen_US
dc.subjectอาสาสมัครen_US
dc.titleการดำเนินงานป้องกันควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและวิธีปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeThe Dengue Fever Preventing Operation by Public Health Volunteers and Dengue Fever Preventing Practices of the Population in Tambon Bong Ton, Doi Tao District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc616.157-
thailis.controlvocab.thashไข้เลือดออก -- การป้องกันและควบคุม-
thailis.controlvocab.thashไข้เลือดออก -- ดอยเต่า (เชียงใหม่)-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 616.157 น916ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข วิธีปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) จากอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวนทั้งหมด 140 คน พบว่าเป็นส่วนใหญ่เพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปีมากที่สุด ระยะเวลาการทำงานส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 6-10 ปี ร้อยละ 89 ของอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 50 ของอาสาสมัครสาธารณสุขตอบไม่ถูกต้องในเรื่องวิธีกำจัดลูกน้ำ วิธีการใช้ทรายกำจัดลูกน้ำ และอาการที่ควรส่งต่อผู้ป่วย รวมทั้งกลุ่มยาที่ไม่ควรให้เด็กที่สงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออกรับประทาน ระดับการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคการระบาดของโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง แต่มีอาสาสมัครสาธารณสุขมากว่า ร้อยละ 95 ที่ไม่มีการดำเนินงานในการพ่นละอองเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่ในหมู่บ้าน และ ร้อยละ 68 ไม่มีการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวแก่โดยวิธีการปิดอบในบ้าน ระดับการปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขส่วนใหญ่อยู่ ในระดับปานกลางเช่นกัน โดยพบว่าครึ่งหนึ่งของอาสาสมัครสาธารณสุขไม่ได้พ่นสารเคมีในบ้านผู้ป่วยและในรัศมี 100 เมตร จากประชาชน 310 คน พบว่า มีระดับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลาง และตอบถูกต้องน้อยกว่า ร้อยละ 30 ในเรื่องยุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก และพบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีคะแนนในการปฏิบัติตัวในระดับต่ำ โดยเฉพาะในเรื่องการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายในแจกัน อ่างบัว หรือพืชน้ำ และจากการสังเกตพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก พบว่า การทำความสะอาดบริเวณบ้าน การจัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบ มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติ ของอาสาสมัครสาธารณสุขกรณีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในระดับปานกลาง (r = 0.556) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value <0.001) และความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกของประชาชนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ในระดับต่ำ (r = 0.144) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value = 0.011) จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขและพฤติกรรมของประชาชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกยังอยู่ในระดับปานกลางและต่ำ ตามลำดับ ดังนั้น จึงควรมีการกระตุ้นจากองค์กรภาครัฐให้ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขมีการดำเนินการอย่างจริงจัง และสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ต่อไปen_US
Appears in Collections:GRAD-Health Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT196.37 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX369.6 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdf CHAPTER 1275.77 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2288.8 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdf CHAPTER 3366.37 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4614.49 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdf CHAPTER 5298.94 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdf CONTENT268.45 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdf COVER555.49 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE191.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.