Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45846
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญประภา ศิวิโรจน์-
dc.contributor.authorหัสดิน สติปัญญาเลิศen_US
dc.date.accessioned2018-03-13T02:58:41Z-
dc.date.available2018-03-13T02:58:41Z-
dc.date.issued2557-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45846-
dc.description.abstractThe purpose of this descriptive study was to examine the prevalence and factors related to hypertension among people living in the area of Thai–Myanmar borderline, Mae Hong Son province. The data were collected from information of 3,280 people who came for hypertension screening by using a screening questionnaire at local Sub - District Health Promotion Hospitals (SDHPH) in 2013. The questionnaire comprised data related to personal information, health status and risk behavior. Descriptive statistics and Prevalence Ratio were used for data analysis. The finding of this study indicated that overall prevalence of hypertension among sample was 24.5 %. Prevalence of Pa Bong, Mok Jam Pae, Nai Soi and Na Pla Jaad Sub District Health Promotion Hospitals were 28.7%, 20.9%, 20.6% and 18.6% respectively. Personal information factor which significantly associated to hypertension were age, sex, nationality, community and family history related to chronic diseases (p < .05). The result indicated that people aged above 40 years had 3.5 times higher risk than those who aged below 40 years (PR = 3.5, p < .001). Female had 1.3 time higher risk than male (PR = 1.3, p< .001). Thai nationality had 1.3 times higher risk than other nationalities (PR = 1.3, p < .05). People living in the southern part of Mae Hong Son had 1.3 times higher risk than those who live in northern part (1.3, p< .001). People who had families with history of hypertension had 1.8 times higher risk than those with family without history of hypertension (PR = 1.8, p< .001). Risk factors related to health status which significantly associated with hypertension were Body Mass Index (BMI), waist line, level of blood sugar and complication of diseases (p < .05). The result found that people who categorized as obesity according to BMI calculation and had 1.5 times higher risk that people with normal result (PR = 1.5, p< .001). Male and female with standard waist line had 2.3 and 1.7 times higher risk than normal result respectively (PR = 2.3, p < .001; PR = 1.7, p < .001). People with high level of blood sugar had 1.9 time higher risk than normal people (PR = 1.9, p< .001) and people with complication of diseases had 2.9 time higher risk than those who did not have any complication of disease (PR = 2.9, p< .001). Behaviors factors with significantly association to hypertension were smoking and drinking alcohol (p < .05). The result reported that those who smoke and drink alcohol had 1.2 time higher risk to hypertension than those who do not smoke and drink alcohol (p< .05). Health providers should continue emphasizing on surveillance of hypertension and risk factor control among the population in order to decrease the incidence of hypertension.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความดันโลหิตสูงen_US
dc.subjectชายแดนไทย-พม่าen_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะความดันโลหิตสูงในประชาชนที่อาศัยอยู่เขตพื้นที่แนวชายแดนไทย-พม่า จังหวัดแม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativeFactors Related to Hypertension of People Who Live in the Area of Thai-Myanmar Borderline, Mae Hong Son Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc616.132-
thailis.controlvocab.thashความดันเลือดสูง -- แม่ฮ่องสอน-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 616.132 ห118ป-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะความดันโลหิตสูงในประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่แนวชายแดนไทย-พม่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในปี พ.ศ. 2556 จำนวน 3,280 ราย ทำการเก็บรวบรวมโดยใช้ข้อมูลจากแบบบันทึกการคัดกรองความเสี่ยงเบื้องต้นต่อการเป็นความดันโลหิตสูง ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้เก็บรวบรวมไว้ ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐาน ภาวะด้านสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและอัตราเสี่ยงสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า อัตราความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงมีร้อยละ 24.5 โดยพบในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผาบ่องพบมากที่สุด รองลงมาคือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ หมอกจำแป่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสอยและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาปลาจาดน้อยที่สุด (ร้อยละ 28.7 20.9 20.6 และ 18.6 ตามลำดับ) สำหรับปัจจัยเสี่ยงด้านข้อมูลพื้นฐานที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ได้แก่ อายุ เพศ เชื้อชาติ ถิ่นที่อยู่อาศัย ประวัติความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของครอบครัว โดยพบว่าผู้มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยง 3.5 เท่าของผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี (PR = 3.5, p< .001) พบผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย 1.3 เท่า (PR = 1.3, p< .001) ผู้มีสัญชาติไทยมีความเสี่ยงมากกว่าเชื้อชาติอื่น 1.3 เท่า (PR = 1.3, p< .05) ถิ่นที่อยู่อาศัยพบว่าประชาชนที่อาศัย อยู่ในเขตตอนล่างของจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความเสี่ยงมากกว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตตอนเหนือ 1.3 เท่า (1.3, p< .001) ครอบครัวมีประวัติความเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ครอบครัวไม่มีประวัติ 1.8 เท่า (PR = 1.8, p < .001) ปัจจัยเสี่ยงด้านภาวะสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ขนาดรอบเอว ระดับน้ำตาลในเลือด และการมีโรคร่วม โดยพบว่าผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อ้วนและท้วมมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายในเกณฑ์ปกติ 1.5 เท่า (PR = 1.5, p < .001) ผู้ชายและผู้หญิงที่มีรอบเอวเกินค่ามาตรฐานมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ 2.3 เท่า และ 1.7 เท่า (PR = 2.3, p < .001; PR = 1.7, p < .001) สำหรับผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดเกินค่ามาตรฐานจะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดในเกณฑ์ปกติ 1.9 เท่า (PR = 1.9, p < .001) และผู้ที่มีโรคร่วมมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ไม่มีโรคร่วม 2.9 เท่า (PR = 2.9, p < .001) ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ได้แก่ การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ไม่มีพฤติกรรมในการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ 1.2 เท่า (p < .05) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรเฝ้าระวังและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคความดันโลหิตสูงอย่างจริงจัง เพื่อลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรต่อไปen_US
Appears in Collections:GRAD-Health Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT317.3 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX507.17 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1229.47 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdf CHAPTER 2460.02 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdf CHAPTER 3227.58 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdf CHAPTER 4403.46 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdf CHAPTER 5228.31 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdf CONTENT164.49 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER545.11 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdf REFERENCE257.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.