Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/43385
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประทุม สร้อยวงค์ | - |
dc.contributor.advisor | พิกุล นันทชัยพันธ์ | - |
dc.contributor.author | กัญญาวีร์ สิริโรจนามณี | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-12-18T06:28:19Z | - |
dc.date.available | 2017-12-18T06:28:19Z | - |
dc.date.issued | 2557 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/43385 | - |
dc.description.abstract | Breaking bad news is the most important step in palliative care because an appropriate approach leads to positive consequences for patients, family, and health care providers. This integrative review aimed to explore the method of breaking bad news and its impact in palliative care. Evidence published in Thai and English from 2002 to 2013 was reviewed using a systematic review guideline, developed by the Joanna Briggs Institute (2008). The study instruments consisted of 1) the Research Screening Form, 2) the Critical Appraisal Form, and 3) the Data Extraction Form. Data were analyzed using descriptive statistics to describe characteristic of research and content analysis. The search strategy found 6 studies meeting the inclusion criteria. There were 3 qualitative studies, 2 descriptive studies, and 1 experimental study. The results revealed that: 1. Method of breaking bad news: The results did not find an empirical method for breaking bad news but can provide guidelines as follows: physicians should be the persons who break bad news, most immediately after patients are diagnosed with terminal illness. Physicians need to have communication skills to do this. Before breaking bad news, physicians should; build on their relationship with patients and families, use a sitting position during breaking bad news, and inform truth diagnosed information. The physician should, explain about the prognosis of disease, treatment plan, and side effects of treatment. This information should be provided step-by-step for meeting patients’ needs, using adequate time and appropriate language, showing empathy, giving hope and encouragement, while giving opportunities for accepting selected treatment plan of patients and families. They must also show respect for patients’ decisions. In addition, physicians should provide information about end of life care to patients and families. 2. Impact of breaking bad news: patients and families receive knowledge and understanding about the illness, treatment plan and side effects of treatment. They have opportunities to select a treatment plan, have options regarding quality of life, have opportunities to prepare for the end of their lives, and patients should also have satisfaction with information received from physicians. The results of this integrative review provided background information to understand the issues of, and how to break bad news. The replication studies regarding breaking bad news in palliative care, especially experimental studies should be conducted. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การแจ้งข่าว | en_US |
dc.subject | การดูแล | en_US |
dc.title | การแจ้งข่าวร้ายในการดูแลแบบประคับประคอง:การทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ | en_US |
dc.title.alternative | Breaking Bad News in Palliative Care: Integrative Review | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.nlmc | W 4 | - |
thailis.controlvocab.mesh | Palliative care | - |
thailis.controlvocab.mesh | Evidence -- based practice | - |
thailis.manuscript.callnumber | W 4 ก213ก 2557 | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การแจ้งข่าวร้ายเป็นขั้นตอนที่สำคัญอันดับแรกในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเนื่องจากการแจ้งข่าวร้ายด้วยวิธีที่เหมาะสมจะส่งผลดีต่อทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัว และบุคลากรทีมสุขภาพ การทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการแจ้งข่าวร้าย และผลของการแจ้งข่าวร้ายในการดูแลแบบประคับประคอง โดยทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการแจ้งข่าวร้ายในการดูแลแบบประคับประคองทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2556 โดยใช้แนวทางการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (Joanna Briggs Institute, 2008) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบคัดกรองงานวิจัย 2) แบบประเมินคุณค่างานวิจัย และ 3) แบบบันทึกผลการสกัดข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของเอกสารรายงานวิจัย และการสรุปเชิงเนื้อหา จากการสืบค้นข้อมูลพบเอกสารรายงานการวิจัยตามเกณฑ์คัดเลือกจำนวน 6 เรื่อง ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 3 เรื่อง งานวิจัยเชิงบรรยายจำนวน 2 เรื่อง และงานวิจัยเชิงทดลองจำนวน 1 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า 1. วิธีการแจ้งข่าวร้าย ผลการศึกษาครั้งนี้ยังไม่ได้วิธีการที่ชัดเจนในการแจ้งข่าวร้าย แต่ได้แนวทางในการแจ้งข่าวร้ายดังนี้ แพทย์ควรเป็นผู้แจ้งข่าวร้าย และควรแจ้งผู้ป่วยทันทีที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคระยะสุดท้าย แพทย์ควรมีทักษะการสื่อสารในการแจ้งข่าวร้าย ก่อนแจ้งข่าวร้ายแพทย์ควรสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยและครอบครัว ควรใช้วิธีการนั่งในการแจ้งข่าวร้าย ควรแจ้งข้อมูลการวินิจฉัยโรคตามความจริง อธิบายให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค แผนการรักษา และผลข้างเคียงจากการรักษา มีการให้ข้อมูลเป็นลำดับขั้นตอนตรงกับความต้องการของผู้ป่วย ใช้เวลาที่เหมาะสมในการให้ข้อมูล ใช้ภาษาที่เหมาะสม มีการแสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้ความหวังและกำลังใจ ควรให้โอกาสและยอมรับการเลือกแผนการรักษาของผู้ป่วยและครอบครัว เคารพการตัดสินใจของผู้ป่วย นอกจากนี้แพทย์ควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิตแก่ผู้ป่วยและครอบครัว 2. ผลของการแจ้งข่าวร้ายพบว่า ผู้ป่วยและครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ แผนการรักษาและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษา มีโอกาสเลือกแผนการรักษาที่เหมาะสม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีโอกาสเตรียมตัวเมื่อวาระสุดท้ายมาถึง และผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการให้ข้อมูลของแพทย์ ผลการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ในครั้งนี้ได้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการแจ้งข่าวร้าย และประเด็นที่ควรระมัดระวังในการแจ้งข่าวร้าย และควรมีการทำวิจัยซ้ำเกี่ยวกับการแจ้งข่าวร้ายในการดูแลแบบประคับประคองโดยเฉพาะการวิจัยเชิงทดลอง | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 152.04 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 312.4 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 176.93 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 303.48 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 165.43 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 239.22 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 138.4 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CONTENT.pdf | CONTENT | 131.84 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
COVER.pdf | COVER | 605.21 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 202.45 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.