Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40033
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พญ.สุรีย์ เลขวรรณวิจิตร-
dc.contributor.authorธนาณัติ สืบวงศ์นิรัตน์en_US
dc.date.accessioned2017-09-11T01:52:09Z-
dc.date.available2017-09-11T01:52:09Z-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40033-
dc.description.abstractBackground: Prediction of the renal outcomes is crucial for patients with lupus nephritis due to high morbidity and mortality. Renal interstitial fibrosis is correlated with progression to renal failure. However evaluation of interstitial fibrosis by subjective visual assessment comparing with digital image analysis has not been well studied. Method: Seventy-five kidney core biopsies diagnosed with lupus nephritis at Chiang Mai University hospital during July 1st, 2011 to December 31th, 2012 were retrieved from database. Interstitial fibrosis in percentage was assessed on scanned PicroSirius red stained histological images (Aperio) using software analysis. Visual assessment was performed under a light microscope by two pathologists (SS, SL). Clinical, laboratory data and renal outcomes (end-stage renal disease (ESRD), doubling serum creatinine (DSC), dialysis and complete remission (CR)) were collected retrospectively from the time of biopsy to the last follow-up. Result: Interstitial fibrosis evaluated by image analysis (IF-IA) showed better intraobserver (Pearson correlation coefficient: r=0.98, p<0.001 VS r=0.85, p<0.001) and interobserver reliability (r=0.79, p<0.001 VS r=0.61, p=0.001) compared with interstitial fibrosis evaluated by visual assessment (IF-VA) While IF-VA showed a greater negative correlation with baseline estimated glomerular filtration rate (eGFR) (r= -0.458, p<0.001) compared with IF-IA (r= -0.246, p=0.033). A significantly greater degree of IF-VA was observed in patients with subsequent ESRD, DSC and dialysis; and a significantly lesser degree of IF-VA was observed in patients with CR compared with patients without these outcomes. Whilst there is no difference in IF-IA between patients with and without such renal outcomes. Univariate survival analysis (log-rank test) showed IF-VA, IF-IA, serum creatinine, hematocrit, serum C3 protein and eGFR were predictive of all adverse renal outcomes. However multivariate Cox-hazard analysis demonstrated that only IF-VA was an independent predictor for ESRD (Hazard ratio: 1.062, 95% confidence interval: 1.034-1.092, p<0.001). Using Kaplan-Meier curves and log-rank test, IF-VA but not IF-IA, is inversely associated with renal survival from ESRD, DSC and dialysis (P<0.001). The median renal survival of ESRD in patient with IF-VA >50% was 2.1 months compared with 27.16 months in those with IF-VA 25-50%. Conclusion: Renal interstitial fibrosis evaluated by digital image analysis is more reliable and precise, however assessing by visual assessment is more predictive of renal outcomes in lupus nephritis patients.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleเปรียบเทียบการประเมินพังผืดในเนื้อเยื่อไตระหว่างวิธีการประเมิน ด้วยสายตาและประเมินโดยใช้การวิเคราะห์ภาพดิจิตอลในผู้ป่วยไต อักเสบจากโรคลูปัสen_US
dc.title.alternativeComparison Between Visual Assessment and Digital Image Analysis in Assessing Renal Interstitial Fibrosis in Lupus Nephritisen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractคำขึ้นต้นและพื้นหลัง: การทำนายผลลัพธ์ทางคลินิกของไตเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคไตอักเสบจากภาวะลูปัสเนื่องจากมีอัตราการเจ็บป่วยและการตายสูง เนื่องจากปริมาณพังผืดในเนื้อเยื่อไตมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาไปสู่ภาวะไตวาย อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษามาเป็นอย่างดีเกี่ยวกับการประเมินปริมาณพังผืดในเนื้อเยื่อไตเปรียบเทียบระหว่างการประเมินเชิงอัตนัยด้วยสายตาและการประเมินโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์รูปภาพ เครื่องมือและวิธีการศึกษา: ชิ้นเนื้อเยื่อไตของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตอักเสบจากภาวะลูปัสที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนกรกฎาคมพ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคมพ.ศ. 2555 ได้ถูกนำมาศึกษาจากฐานข้อมูลค่าร้อยละของพังผืดในเนื้อเยื่อไตถูกประเมินจากภาพซึ่งได้มาจากการสแกนสไลด์ชิ้นเนื้อเยื่อไตที่ได้รับการย้อมสี PicroSirius red โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ภาพ (Aperio) ส่วนการประเมินด้วยสายตาทำโดยพยาธิแพทย์ 2 ท่าน (SS, SL) โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ ข้อมูลทางคลินิก ผลทางห้องปฏิบัติการและผลลัพธ์ทางคลินิกของไตอันประกอบด้วยการเข้าสู่โรคไตระยะสุดท้าย (ESRD) การเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของค่าครีเอตินินในเลือด (DSC) การได้รับการฟอกไต และภาวะโรคสงบสมบูรณ์(CR) ได้ถูกเก็บย้อนหลัง ณ เวลาที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจชิ้นเนื้อไตและ ณ เวลาติดตามผู้ป่วยครั้งสุดท้าย ผลการศึกษา: การประเมินค่าพังผืดในเนื้อเยื่อไตจากการใช้โปรแกรมวิเคราะห์ภาพ มีค่าความน่าเชื่อถือที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับการประเมินด้วยสายตา ทั้งภายในบุคคลเดียวกัน (intraobserver) (ค่าสหสัมพันธ์Pearson : r=0.98, p<0.001 VS r=0.85, p<0.001) และระหว่างบุคคล (interobserver) (r=0.79, p<0.001 VS r=0.61, p=0.001) ในขณะที่การประเมินด้วยสายตา มีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับค่าอัตราการกรองของหน่วยไต (eGFR) มากกว่า การใช้โปรแกรมวิเคราะห์ภาพ (r= -0.458, p<0.001 vs r= -0.246, p=0.033) จากการวิเคราะห์ความอยู่รอดแบบตัวแปรเชิงเดี่ยว (univariate survival analysis) โดยใช้ log-rank test แสดงให้เห็นว่าค่าพังผืดในเนื้อเยื่อไตทั้งจากการใช้โปรแกรมวิเคราะห์ภาพและการประเมินด้วยสายตา ระดับครีเอตินินในกระแสเลือด ระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ระดับโปรตีนC3ในกระแสเลือด และeGFR สัมพันธ์กับการเกิดผลลัพธ์ของไตที่ไม่ดี (ESRD, DSC และการได้รับการฟอกไต)อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์การอยู่รอดแบบตัวแปรเชิงซ้อน (multivariate Cox-hazard analysis) แสดงให้เห็นว่ามีเพียงค่าพังผืดในเนื้อเยื่อไตจากการประเมินด้วยสายตาที่เป็นปัจจัยบ่งชี้อิสระสำหรับการเกิด ESRD (Hazard ratio: 1.062, 95% confidence interval: 1.034-1.092, p<0.001) จากการใช้Kaplan-Meier curves และ log-rank test พบว่าค่าพังผืดในเนื้อเยื่อไตจากการประเมินด้วยสายตามีความสัมพันธ์ผกผันกับอัตราการรอดจากภาวะESRD DSC และการได้รับการฟอกไต ในขณะที่ค่าพังผืดในเนื้อเยื่อไตจากการใช้โปรแกรมวิเคราะห์ภาพไม่มีความสัมพันธ์ดังกล่าว ค่ามัธยฐานระยะเวลาการอยู่รอดของไตจากภาวะESRDในผู้ป่วยที่มีค่าพังผืดในเนื้อเยื่อไตจากการประเมินด้วยสายตามากกว่าร้อยละ 50 เท่ากับ 2.1 เดือนเทียบกับ 27.16 เดือนในผู้ป่วยที่มีค่าพังผืดในเนื้อเยื่อไตจากการประเมินด้วยสายตาอยู่ระหว่างร้อยละ 25 ถึง 50 สรุปผลการศึกษา: ค่าพังผืดในเนื้อเยื่อไตจากการประเมินด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ภาพมีความน่าเชื่อถือและแม่นยำมากกว่า อย่างไรก็ตามการประเมินด้วยสายตาสามารถทำนายผลลัพธ์ทางคลินิกของไตที่มากกว่าในผู้ป่วยโรคไตอักเสบจากภาวะลูปัสen_US
Appears in Collections:MED: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdf ABSTRACT180.83 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX1.05 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1136.11 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdf CHAPTER 2134.31 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3149.12 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdf CHAPTER 457.58 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 576.98 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdf CONTENT77.49 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdf COVER755.12 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdf REFERENCE77.94 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.