Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39917
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์-
dc.contributor.authorภัทรานิษฐ์ ทิพย์สุมาลัยen_US
dc.date.accessioned2017-08-23T04:20:34Z-
dc.date.available2017-08-23T04:20:34Z-
dc.date.issued2557-12-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39917-
dc.description.abstractThis purposes of this research aim to study the process of cultural invention and identity commu-nication in the case study of Lanna Spa industry of Chiang Mai Province under major concepts follows; the Invented Tradition of Eric Hobsbawm, the Representative-Image Concept and the Study of Cultural Circle of Stuart Hall and Semiology in understanding the phenomena and cul-tural invention under the context of Lanna Spa industry. As the result, it is found that the identity of Thai Lanna Spa is the cultural invention from the representation creation of "Being Lanna", and it is presented via the context of spa industry for health as the cultural production under the commoditization of culture. One of important issues of such representation creation is to pull something out off the old context into new context with new meaning, especially when cultural mechanism under the state power and capital power can move contexts and create representations variously. The culture power from the production is partly the tool of symbolic political ideology which performs its duty to penetrate into the people in the society to manage their values and conscious in order to inherit and sustain the power sta-tus. As we can obviously see from many attempts to control the centralized power of central government and to resist the Colonialism in the past. However, in the modern world, the culture has become the valuable production in the economy; asper the economy in the modern world tends to be based on cultural basis. Therefore, the identity does not remains in the form of es-sences, but it always changes under involved contexts and situations. What we have seen as integrity and the continuity of identities, in fact, it is just the component selection and connection of discourse in specific situation. Once the context changes, the definition of identity can change as well. "Cultural Identity" ineconomic context, it often involves with the restoration of cultural con-sciousor Nostagia. The construction of" Being Lanna" under the context of spa industry is like both scienceand art of mixing the modern knowledge in health care and applying the cultur-alknowledge and local wisdoms to strengthen the values for the products andservices of spa in-dustry for health in Northern Region of Thailand. Lanna Spa is like the product and service of signs which can reflect the distinct identity of holism. Also, it can respond to specific needs of Niche Market among customers in modern world as well according to the trends of health care focusing on holistic health care and restoration for body, mind, and spirit, and the needs of searching for exotic experience from connecting withy local culture and traditions. The study of cultural productions not only the understanding of the cultural restoration and local wisdoms, but under the cultural production and reproduction process, we will realize to the con-nection of Selective Culture, Production, Regulation, Representation, Consumption, and Identity where spa perform its duty as cultural media in reflecting the representation of the Identity of Thai Lanna Spa.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectธุรกิจสปาen_US
dc.subjectเอกลักษณ์ทางสังคมen_US
dc.titleการวิเคราะห์วัฒนธรรมประดิษฐ์และการสื่อสารอัตลักษณ์กรณีศึกษา อุตสาหกรรมสปาล้านนาen_US
dc.title.alternativeAnalysis of Invention Culture and Identity Communication: A Case Study of Lanna Spa Industryen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc658.022-
thailis.controlvocab.thashธุรกิจสปา -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashการสื่อสารกับวัฒนธรรม-
thailis.controlvocab.thashวัฒนธรรม-
thailis.controlvocab.thashเอกลักษณ์ทางสังคม-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 658.022 ภ114ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractในการศึกษาวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการฟื้นฟูและการประดิษฐ์สร้างเชิงวัฒนธรรมและการสื่อสารอัตลักษณ์ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมสปาล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบแนวคิดหลักในการศึกษา ได้แก่ แนวคิดประเพณีประดิษฐ์ (Invented tradition) อีริค ฮอบสบอว์ม (Eric Hobsbawm) แนวคิดภาพตัวแทนและกรอบการศึกษาวงจรแห่งวัฒนธรรม ของ สจ๊วต ฮอลล์ (Stuart Hall) รวมถึงแนวคิดทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiology) ในการทำความเข้าใจถึงปรากฎการณ์การประดิษฐ์สร้างเชิงวัฒนธรรมภายใต้บริบทอุตสาหกรรมสปาล้านนา ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์ไทยล้านนาสปา คือ สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมจากการผลิตสร้างภาพแทน "ความเป็นล้านนา" และถูกนำเสนอผ่านในบริบทของอุตสาหกรรมสปาเพื่อสุขภาพเป็นสิ่งผลิตทางวัฒนธรรม (Cultural Production) ภายใต้กระบวนการเปลี่ยนวัฒนธรรมให้กลายเป็นสินค้า(Commoditization of Culture) ซึ่งสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของการสร้างภาพตัวแทนนั่นก็คือ การดึงสิ่งหนึ่งออกจากบริบทเดิมที่เป็นอยู่แล้วใส่บริบทใหม่พร้อมกับความหมายใหม่เข้าไป โดยเฉพาะเมื่อกลไกทางวัฒนธรรมภายใต้ของอำนาจรัฐและอำนาจทุนสามารถเคลื่อนย้ายบริบทและสร้างภาพตัวแทนได้อย่างหลากหลาย วัฒนธรรมแห่งอำนาจจากผลิตผลส่วนหนึ่งในฐานะเครื่องมือ รองรับอุดมการณ์ทางการเมืองในเชิงสัญลักษณ์ที่คอยทำหน้าเข้าแทรกซึมจัดการระบบคุณค่าและจิตสำนึกร่วมของผู้คนในสังคมเพื่อการสืบทอดและจรรโลงไว้ซึ่งสถานะทางอำนาจ ดังเห็นได้จากความพยายามในการกุมอำนาจการปกครองของรัฐบาลกลางแบบรวมศูนย์และเพื่อการต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมในอดีต แต่ในโลกสมัยใหม่วัฒนธรรมได้กลายเป็นผลิตผลที่มีมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ กล่าวคือเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันมักอิงอยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก อัตลักษณ์จึงไม่ได้ ดำรงอยู่ในรูปของสารัตถะหรือแก่นแท้ (essences) หากแต่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาภายใต้บริบทหรือสถานการณ์ต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง สิ่งที่เราเห็นเป็นเอกภาพและมีความต่อเนื่องของอัตลักษณ์ต่างๆ แท้จริงแล้วเป็นเพียงการคัดสรรและเชื่อมร้อยองค์ประกอบของวาทกรรมในสถานการณ์เฉพาะหนึ่งๆ เท่านั้น เมื่อบริบทเปลี่ยนไปคำนิยามอัตลักษณ์ก็ย่อมสามารถเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน “อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม” ในทางเศรษฐกิจมักเกี่ยวข้องกับการรื้อฟื้นสำนึกทางวัฒนธรรมหรือความจดจำทางวัฒนธรรมดั้งเดิม (Nostalgia) การประกอบสร้าง” ความเป็นล้านนา“ ภายใต้บริบทของอุตสาหกรรมสปา จึงเปรียบเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์แห่งการผสมผสานองค์ความรู้สมัยใหม่ในการดูแลสุขภาพร่วมกับการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่น เพื่อเสริมสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มตัวให้กับสินค้าและบริการของอุตสาหกรรมสปาเพื่อสุขภาพในเขตพื้นที่ภาคเหนือของไทยสปาล้านนาจึงเปรียบเสมือนเป็นสินค้าและบริการเชิงสัญญะที่สามารถสะท้อนถึงอัตลักษณ์ที่ชัดเจนความเป็นองค์รวม อีกทั้งยังสามารถตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะกลุ่ม (Niche market) ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดีจากกระแสความนิยมการดูแลสุขภาพที่มุ่งเน้นการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic) ทั้งด้านร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ (Body Mind & Spirit) ให้สมดุลแข็งแรงตลอดจนความต้องการในการแสวงหาประสบการณ์ความแปลกใหม่ (exotic) จากการสัมผัสวิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น การศึกษากระบวนการประดิษฐ์สร้างเชิงวัฒนธรรมดังกล่าวจึงไม่ใช่เพียงแค่การทำความเข้าใจถึงการรื้อฟื้นวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเท่านั้น หากแต่ภายใต้กระบวนการผลิตและผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม (Cultural Production and Reproduction) เราจะทราบถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของการคัดเลือกคัดสรร (Selective Culture) การผลิต (Production) การกำหนดกฎเกณฑ์ (Regulation) การนำเสนอภาพตัวแทน (Representation) การบริโภค (Consumption) ความเป็นอัตลักษณ์ (Identity) โดยมี “สปา” ทำหน้าที่เป็นสื่อทางวัฒนธรรมในการสะท้อนถึงภาพตัว (Representation) ของความเป็นอัตลักษณ์ไทยล้านนาสปา (Identity of Thai Lanna SPA)en_US
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf6.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.