Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39883
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.พรชัย วิสุทธิ์ศักดิ์-
dc.contributor.authorเกวลิน สุวรรณปัญญาen_US
dc.date.accessioned2017-04-11T09:22:38Z-
dc.date.available2017-04-11T09:22:38Z-
dc.date.issued2015-08-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39883-
dc.description.abstractThis independent study focuses on exemption to the infringement under Trade secrets Act B.E.2545 article 7. Nowadays economic development has rapidly changed and there is a continuity of business competition. Trade information plays important role in the business competition because the information is recognized by entrepreneur as a key for successful business competition. The little disclosure of the trade secret may lead to effect on business. In Thailand, although the Trade Secret Act B.E.2545 has been passed in order to protect trade secret for business organization, there also has some exception which may contravene with the purpose to protect trade secret owner. This independent study presents that there are various restrictions which are considered as unfair to business who owns trade secret. Under the exemption clause in the Trade Secret Act, a disclosure of the trade secret is considered as non-infringement and there is no compensation to the owner of the trade secret. This is because there is no clear measure regarding to the protection of trade secret when there is a conduct under the exemption clause. It can then lead to dispute over the trade secret as the trade secret is non-registerable. The owners of the trade secret thus have to create their own mechanism to protect their trade secret. The owners have to rely on the mutual trust with contracting businesses in making a disclosure of the trade secret. In addition, in consideration to the trade infringement, there is lack of penalty to the infringement of the trade secret when comparing to the loss to owners of trade secret. The study thus proposes that there should be an improvement on Trade Secrets Act B.E.2545 basing international experience in order to establish modernized protection on trade secret.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 : ศึกษาข้อยกเว้น ที่ไม่เป็นการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าen_US
dc.title.alternativeTrade Secrets Act B.E.2545 : Study on Exemption of Infringement on Right Over Trade Secreten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายข้อยกเว้นที่ไม่เป็นการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าตามพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 มาตรา 7 เนื่องจากในปัจจุบัน การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจเป็นไปด้วยความรวดเร็ว มีการแข่งขันในทางธุรกิจอยู่อย่างต่อเนื่อง ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจจึงมีความสำคัญ ข้อมูลเหล่านี้เรียกว่า “ข้อมูลการค้า (Trade Information)” ซึ่งผู้ประกอบการได้ตระหนักในความสำคัญของข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้แม้เพียงเล็กน้อย แต่หากเป็นข้อมูลที่สำคัญซึ่งถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดก็อาจส่งผลต่อเสียการดำเนินธุรกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้ ข้อมูลที่เกี่ยวกับการค้าอันไม่สามารถเปิดเผยได้นั้น เรียกว่า “ความลับทางการค้า (Trade Secret)” แม้ประเทศไทยจะมีบทบัญญัติคุ้มครองความลับทางการค้า แต่ก็ยังมีบทบัญญัติที่ยกเว้นในกรณีที่ไม่เป็นการละเมิดสิทธิของเจ้าของความลับทางการค้าอยู่ด้วย ผลการศึกษาพบว่า ยังมีข้อจำกัดหลายประการที่ก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติใช้จริง ซึ่งมีข้อน่าพิจารณาได้ว่าในบางกรณี อาจไม่ยุติธรรมต่อเจ้าของความลับทางการค้า รวมถึงแต่ก็ยังมีข้อบังคับให้ไม่เป็นการละเมิดและไม่มีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังไม่มีมาตรการในการคุ้มครองความลับทางการค้า ที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าอย่างชัดเจนซึ่งอาจเป็นปัญหานำสู่กรณีพิพาททางการค้า ดังนั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของความลับทางการค้าจึงควรสร้างมาตรการในการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลความลับทางการค้าของตนที่เหมาะสม เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้ามากกว่านั้น ความลับทางการค้าไม่สามารถจดทะเบียนได้ ดังนั้นจึงไม่มีหลักฐานใดแสดงความเป็นเจ้าของความลับทางการค้าที่จะพึงแสดงต่อบุคคลภายนอก การโอนหรือการอนุญาตให้ใช้ความลับทางการค้าจึงขึ้นอยู่กับความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น นอกจากนี้ยังขาดบทลงโทษที่พอเพียงกับความเสียหายที่เจ้าของความลับทางการค้าได้รับ งานศึกษาครั้งนี้จึงเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ.2545 โดยอาจนำแนวคิดมากจากกฎหมายของต่างประเทศเพื่อให้กฎหมายคุ้มครองความลับทางการค้าของไทยมีความทันสมัยen_US
Appears in Collections:LAW: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docAbstract (words)64 kBMicrosoft WordView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract 225.43 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS2.86 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.