Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39878
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา วัฒนภิญโญ-
dc.contributor.authorกนกอร สุนทรสัตถาพรen_US
dc.date.accessioned2017-04-11T09:16:42Z-
dc.date.available2017-04-11T09:16:42Z-
dc.date.issued2015-07-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39878-
dc.description.abstractThe purposes of this study on acceptance and behavioral changes for application of organic fertilizers among the orange growers in Mae Ngon Sub-district, Fang District, Chiang Mai Province were 1) to study the relationship between knowledge and understanding on organic fertilizers and acceptance of application of organic fertilizers among the orange growers in Mae Ngon Sub-district, and 2) to study personal factors affecting acceptance and behavioral changes of those orange growers. The sampling groups were orange growers in Mae Ngon Sub-district and relevant people in promoting application of organic fertilizers. In this study, data were collected by questionnaires, interviews, note-takings from non-participatory observation in collecting the data, and data records of local offices, including other printed documents. The statistics applied for analyzing general information of farmers were descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation, minimum, and maximum. Hypothesis testing was conducted by correlation analysis and analysis of variance. The study revealed that orange growers possessed knowledge and understanding of organic fertilizers at a high level. However, their knowledge and understanding on the amount of organic fertilizer usage to comply with the soil fertility was at a low level. Hypothesis testing found that knowledge and understanding had no relationship with the amount of organic fertilizer application among the orange growers. The study on personal factors affecting acceptance and behavioral changes for organic fertilizer application of orange growers in Mae Ngon Sub-district discovered that there was a relationship between personal factors such as age, education, revenue, and experience of organic fertilizer usage, including attitudes toward organic fertilizers, and the amount of organic fertilizer usage with a statistically significant result at 0.05. In this regard, old farmers used more organic fertilizers than young farmers and farmers with high revenues, high education, more experience of using organic fertilizers, and good attitudes toward organic fertilizers were more likely to use the organic fertilizers. Therefore, differences of personal factors affected acceptance and application of organic fertilizers among the farmers in a different way. With regard to attitudes toward the organic fertilizers, the benefit of organic fertilizers for improving physical properties of soil was rated the highest level whereas an increase of weeds as a result of organic fertilizer usage was at the lowest level. In terms of experience of using organic fertilizers, the factor affecting the decision to use organic fertilizers of farmers at the highest level was to minimize the production costs. Other factors which included materials for organic fertilizer production, policy and support of government, and market demands showed statistical significance of relationship at 0.05. For the materials for organic fertilizer production, it was found that preparation of materials for organic fertilizer production in several steps affected the decision at a high level whereas high cost of materials for organic fertilizer production was at the lowest level. With respect to the policy and support of government, the factor affecting the decision to use organic fertilizers of farmers at the highest level was the royal guidance on sufficiency economy in agriculture and the factor affecting the decision at a low level was farmer financing. Regarding the market demand, the factor affecting the decision to use the organic fertilizers of farmers at the highest level was a demand of consumers in favor of pesticide-free products and the factor at the lowest level was a demand of consumers in favor of pesticide-free products.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการยอมรับและการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกส้ม ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeAdoption and Behavior Change in Using Organic Fertilizer of Orange Farmers in Maengon Sub-district, Fang District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่อง การยอมรับและการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกส้ม ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์กับการยอมรับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกส้มในตำบลแม่งอน และ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการยอมรับ และการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกส้มในตำบลแม่งอน กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรผู้ปลูกส้มในตำบลแม่งอน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การศึกษาครั้งนี้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบนำสัมภาษณ์ การจดบันทึกจากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลต่างๆ รวมทั้งการบันทึกข้อมูลจากหน่วยงานในพื้นที่ และเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ลักษณะพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกร ใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์โดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด การทดสอบสมมุติฐาน ใช้สถิติวิเคราะห์คือ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์โดยรวมในระดับมาก ส่วนเรื่องที่เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจความน้อยที่สุดคือ เรื่องอัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน การทดสอบสมมุติฐานพบว่าความรู้ ความเข้าใจไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกร การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการยอมรับ และการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกส้มในตำบลแม่งอน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ อายุ การศึกษา รายได้ ประสบการณ์การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และทัศนคติต่อปุ๋ยอินทรีย์ กับปริมาณการใช้ปุ๋ยอินทรีย์พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยเกษตรที่มีอายุมากจะมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากกว่า เกษตรกรที่มีอายุน้อย และเกษตรกรที่มีรายได้มาก มีการศึกษาสูง มีประสบการณ์การใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากและมีทัศนคติที่ดีต่อปุ๋ยอินทรีย์จะมีแนวโน้มที่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากกว่า ดังนั้นปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อการยอมรับและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรที่แตกต่างกัน ซึ่งปัจจัยด้าน ทัศนคติต่อปุ๋ยอินทรีย์ พบว่า ทัศนคติในระดับมากที่สุด คือด้านปุ๋ยอินทรีย์มีประโยชน์ในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน ระดับน้อยที่สุดคือ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทำให้มีวัชพืชเพิ่มขึ้น และปัจจัยด้านประสบการณ์การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ พบว่าเรื่องที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรในระดับมากที่สุดได้แก่ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้ ส่วนปัจจัยอื่นๆ คือ วัสดุที่ใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ นโยบายและการสนับสนุนของรัฐ และความต้องการของตลาดมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดังนี้ ด้านวัสดุที่ใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์พบว่า เรื่องที่มีผลต่อการตัดสินใจ ระดับมาก คือการจัดเตรียมวัสดุที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มีหลายขั้นตอน และระดับน้อยที่สุด คือ วัสดุในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มีราคาแพง ด้านนโยบายและการสนับสนุนของรัฐ พบว่า เรื่องที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรในระดับมากที่สุดในเรื่อง แนวพระราชดำริเกษตรพอเพียง ระดับน้อย คือการให้สินเชื่อเกษตรกร และด้านความต้องการของตลาด พบว่า เรื่องที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรในระดับมากที่สุดคือ ผู้บริโภคต้องการบริโภคผลผลิตปลอดสารพิษ ส่วนระดับน้อยที่สุดคือ ผู้บริโภคต้องการบริโภคผลผลิตปลอดสารพิษen_US
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.docxAbstract (words)173.38 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract 180.68 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS4.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.