Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39876
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ภูวนาถวิจิตร-
dc.contributor.authorนงเยาว์ จินาวงค์en_US
dc.date.accessioned2017-04-11T09:15:08Z-
dc.date.available2017-04-11T09:15:08Z-
dc.date.issued2015-07-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39876-
dc.description.abstractThis research aims to study cantaloupe planting patterns and pesticides use, knowledge and understanding level of cantaloupe farmers toward pesticides using behavior and guidelines for changing pesticides using behavior among cantaloupe farmers in Doilor sub-district, Doilor district, Chiang Mai province. This study was a mixed methodology research, qualitative and quantitative research. Data were collected from cantaloupe farmers by using focus group discussion, in-depth interview and questionnaire. Contents and statistics were used to analyze. The study has shown that there are two cantaloupe planting patterns, open and closed system. Cantaloupe farmers use both tree seedling and seed to grow cantaloupes. The findings of this study were; growing cantaloupe in open system used more amount of pesticides than in closed system, the pesticides use among the cantaloupe farmers were Thalonil, Ridomil, Apron85, Diten group of preventing fungus, Carbaryl and Dicrotophos group of preventing cucurbit beetles. Using pesticides not only harm pests but also harm farmers health and environment. The result of this study shows the majority of the farmers had knowledge and understanding in using pesticides at a high level and their behavior in using pesticides to spray was overall in high level. The results of this study can be used as a guideline for cantaloupe growers to change their behavior in using pesticides in these ways; 1) grow cantaloupes in greenhouse to reduce amount of pesticides use 2) government and non-government organizations should support budget to develop agro-tourism in the area 3) set community class and local curriculum – environment studied with cantaloupe farmers to raise awareness in using pesticides. Keyword: Knowledge and Understanding toward pesticides usingen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleระดับความรู้และความเข้าใจต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรกรผู้ปลูกแคนตาลูป ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeKnowledge and Understanding Level of Cantaloupe Farmers Towards Pesticides Using Behavior in Doilor Sub-district, Doilor District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการปลูกแคนตาลูป และการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ระดับความรู้และความเข้าใจต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกแคนตาลูป ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสม ทั้งวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผสมผสานเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถามจากเกษตรกรผู้ปลูกแคนตาลูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการปลูกแคนตาลูปของเกษตรกรมี 2 รูปแบบคือ การปลูกแบบเปิด และปลูกแบบปิด ทั้งวิธีการปลูกด้วยต้นกล้าและการปลูกด้วยเมล็ด โดยการปลูกแบบเปิดมีปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงกว่าการปลูกแบบปิด สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรใช้ได้แก่ กลุ่มดาโคนิล, ริดโดมิล, เอพรอน 85 กลุ่มไดเทน ใช้ป้องกันเชื้อรา และคาร์บาริล หรือสารดูดซึม และกลุ่มของไดโครโตฟอส ป้องกันแมลงเต่าแดง สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจากการปลูกแคนตาลูปไม่เพียงแต่สามารถทำอันตรายต่อศัตรูพืชเท่านั้น แต่ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกร โดยสะสมอยู่ในร่างกายและสามารถทำลายอวัยวะที่สำคัญภายในร่างกาย รวมทั้งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ เกษตรกรผู้ปลูกแคนตาลูปส่วนใหญ่มีระดับความรู้ และความเข้าใจต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีพฤติกรรมต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยภาพรวมในระดับมาก ตั้งแต่พฤติกรรมการใช้ก่อนการฉีดพ่น ขณะฉีดพ่น และหลังการฉีดพ่น โดยมีแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่สำคัญได้แก่ 1) ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการปลูกแคนตาลูปจากการปลูกในที่โล่งแจ้งเป็นปลูกในโรงเรือน ช่วยลดอัตราการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้ 2) หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนทุนและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3)จัดทำห้องเรียนชุมชนและหลักสูตรท้องถิ่นสิ่งแวดล้อมศึกษาร่วมกับเกษตรกรให้เกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้ คำสำคัญ: ความรู้และความเข้าใจต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชen_US
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.docAbstract (words)189 kBMicrosoft WordView/Open
APPENDIX.pdfAbstract3.65 MBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS8.18 MBAdobe PDFView/Open
mem50758njn_abs.pdf261.53 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.