Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39857
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ | - |
dc.contributor.advisor | นิสิต พันธมิตร | - |
dc.contributor.author | อภิยุทธ นวอัจฉริยะกิจ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-12T15:55:52Z | - |
dc.date.available | 2016-12-12T15:55:52Z | - |
dc.date.issued | 2557 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39857 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this research are 1) to study Spending Behavior of Payap University Dormitory Students in Tambon Nong Pa Krang Municipality, Amphoe Mueang Chiang Mai, Changwat Chiang Mai 2) to compare expenditure behavior between male and female and 3) to study important factors effect to working as a part-time for supplementary income. Questionnaires were used as a research instrument. Data obtained from 225 students by simple random sampling technique. The results revealed that; 1. The majority of the respondents are female, age between 20-24 years old. Most of them are undergraduate students and their domicile is northern, Thailand. They earned money from their parents about 5,001-10,000 baht/month. Most of their parents earned a bachelor's degree, work for their own businesses, and get income more than 20,001 baht/month. They have only 3-4 closed friends, have no siblings and no debt. The vehicle they use is car. 2. Most of students’ expenditure is lower than 1,000 baht/month (for stationery, uniform, commuting expenses, personal expenses, etc.). Cost of dormitory rent and food is about 2,001-3,000 baht/month. Other expenses not related to studying activities are about 1,001-2,000 baht/month. 3. The level of overall perception was at slightly agreeing level. However, considering in each aspect, the results show that most of student’s expenditure is cost for basic needs, studying costs, relaxing costs , and social costs respectively. 4. Overall expenditures of male and female student are not significantly different. 5. Factors affect to students’ behavior for making supplementary income are 1) the money they earned from their parents is not enough 2) economic recession 3) extravagant spending 4) using time for experience and value 5) registration fee 6) internet fee 7) personal debt 8) family wealth 9) holiday and vacation 10) personal talent. The results also show that whenever they need help, they will ask for money from their parents or their friends. Otherwise, they will look for part-time jobs. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมการใช้จ่าย | en_US |
dc.subject | นักศึกษา | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยพายัพ | en_US |
dc.title | พฤติกรรมการใช้จ่ายของนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพที่อาศัยหอพักในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Spending behavior of Payap University students in Tambon Nong Pa Krang Municipality, Amphei Mueang Chiang Mai, Changwat Chiang Mai | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | - |
thailis.classification.ddc | 658.8342 | - |
thailis.controlvocab.thash | มหาวิทยาลัยพายัพ -- นักศึกษา | - |
thailis.controlvocab.thash | พฤติกรรมผู้บริโภค -- เมือง (เชียงใหม่) | - |
thailis.controlvocab.thash | นักศึกษา -- ค่าใช้จ่าย | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 658.8342 อ163พ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายของนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพที่อาศัยหอพักในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เปรียบเทียบลักษณะการใช้จ่ายของนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงของมหาวิทยาลัยพายัพที่อาศัยหอพักในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการหารายได้เสริมของนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพที่อาศัยหอพักในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Method) ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยทำการเก็บจากแบบสอบถามโดยตรงจากกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพที่อาศัยในพื้นที่เทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 225 คน ผลการศึกษาพบว่าในภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 225 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 20 - 24 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ ได้รับเงินสนับสนุน 5,001-10,000 บาทต่อเดือน รายได้เฉลี่ยของครอบครัวตั้งแต่ 20,001 ขึ้นไป อาชีพของหัวหน้าครอบครัวส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจส่วนตัว การศึกษาของหัวหน้าครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ไม่มีพี่น้อง ไม่มีภาระหนี้สินของครอบครัว มีเพื่อนสนิทจำนวน 3-4 คน พาหนะที่ท่านใช้ในการเดินทางมากที่สุดคือรถยนต์ส่วนตัว พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้ตอบแบบสอบถามนั้นพบว่าส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแต่งกาย ค่าเดินทางไปกลับมหาวิทยาลัย ค่าเครื่องอุปโภคบริโภค (ของใช้ส่วนตัว) ค่าพักผ่อนหย่อนใจ และค่ารักษาพยาบาล รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่ำกว่า 1,000 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่พักและอาหาร 2,001-3,000 บาทต่อเดือน และมีค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษา 1,001-2,000 บาทต่อเดือน พฤติกรรมการใช้จ่ายของนักศึกษาในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยน้อย พิจารณาเป็นรายด้านแล้วพบว่านักศึกษามีพฤติกรรมการใช้จ่ายมากที่สุดคือด้านความจำเป็นพื้นฐาน รองลงมาคือด้านการศึกษา ส่วนด้านนันทนาการและกิจกรรมทางสังคมมีพฤติกรรมการใช้จ่ายเป็นอันดับสุดท้าย เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้จ่ายของนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงของนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพที่อาศัยหอพักในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง ความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นว่านักศึกษาหญิงและนักศึกษาชายมีพฤติกรรมการใช้จ่ายใกล้เคียงกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการหารายได้เสริมของนักศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการหารายได้เสริมของนักศึกษามีปัจจัยเกี่ยวกับเรื่อง 1) เงินสนับสนุนที่ได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย 2) เศรษฐกิจตกต่ำส่งผลทำให้ค่าครองชีพสูง 3) ค่านิยมการดำเนินชีวิตแบบเกินความจำเป็นของนักศึกษา 4) การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และเพิ่มประสบการณ์ในการทำงาน 5) ค่าลงทะเบียนเรียน /ค่าเล่าเรียนสูง 6)การใช้อินเทอร์เน็ต 7) ภาระหนี้สิน 8)ฐานะครอบครัว 9)เวลาว่างช่วงปิดภาคฤดูร้อน 10) ความสามารถในการทำงาน ส่วนวิธีการแก้ไขปัญหาเงินไม่พอต่อค่าใช้จ่ายนั้นนักศึกษาส่วนใหญ่ระบุว่าขอเงินเพิ่มจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือยืมเงินจากเพื่อน และหางานพิเศษทำ (Part time) | en_US |
Appears in Collections: | SOC: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 249.28 kB | Adobe PDF | View/Open |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 424.28 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 388.1 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 241.49 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 277.17 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 889.24 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 333.8 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CONTENT.pdf | CONTENT | 264.09 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
COVER.pdf | COVER | 837.42 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 353.39 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.