Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39827
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล-
dc.contributor.authorชวนพิศ นภตาศัยen_US
dc.date.accessioned2016-12-12T14:29:08Z-
dc.date.available2016-12-12T14:29:08Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39827-
dc.description.abstractThis thesis aims to study the texts and contexts in uses of literature for healing, including to analyze the meaning of the texts and contexts in literature uses in terms of Folklore sciences and Psychology. The studies is conducted about the spiritual healing to patients of critical period cases by ritual praying and Dhama preaching inherited in Chiang Mai and Lamphun provinces. The information collecting from documents, interviewing knowledgeable and experienced persons and ritual observation were used in the studies as well. The study found that fifteen stories of literature texts all together active have been used to heal critical patients from the past up to present days. These literature texts are mentioned in academic papers and in Lanna palm leaves manuscript and as well as by the knowledgeable people interviews. The three stories which are Mahawibak, Karma Waja and Bojjhanga 7 are most active in healing at present. The other twelve stories are not popular due to the dynamics of the inconveniences of texts to be used as well as the confusion of the beliefs in relevant issues. Consideration in term of folklore, the literature texts are commendation and the teaching Dhamma of Lord Buddha. The ritual contexts are empower to believe in Dhamma of Load Buddha in a view of Lanna people. Considering in practicing the uses of Literature Healing ritual has its meaning in term of folklore sciences as it is way of making merit by helping patients with the best in those contexts. The ritual of inherited Lanna ideas and beliefs that the ritual helps spirits to better world. Therefore, this rite is a rite of passage through to a better state. It is also the holy rite because it is directly concerned to principles and tools of religious In terms of psychology, the texts used in the rites is to inform the patients to have confidence in Dhama (Buhhda’s Teachings) Substances are the teaching of mindfulness practice and letting go in order to be relaxed. As to the context of rites, it creates a sense of emotional stability. To build faith to create hope of some better things. The healing rituals is a good social support as they consist from the goodwill of all parties in proper time to support patients to meditate in order to calm their minds by praying therapy from the priests. The process may cause the patient to achieve the Transpersonal stage smoothly Recently, the uses of Buddhism Literature for Spiritual Healing are three stories left as mentioned are caused by the dynamics of its literature context which is consequence of the change of society. The changes have their impact to the beliefs of Lanna people. The faster manufacturing technology of the artificial palm leaves affects the holiness meaning of the Lanna Bible. Moreover, changes in knowledge and attitudes of the priests as well as confusion in the belief of Lanna people caused by the surge of modern culture affect the meaning and value of the literature healing at present time which has been moving from making merit and teaching Dhama substances to patients and their relatives to become the rites of making merit for its benefits only.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectวรรณกรรมพุทธศาสนาen_US
dc.subjectจิตวิญญาณen_US
dc.subjectวิถีล้านนาen_US
dc.titleการใช้วรรณกรรมพุทธศาสนาเพื่อการเยียวยา ทางจิตวิญญาณในวิถีล้านนาen_US
dc.title.alternativeUse of Buddhist literature for spiritual healing in Lanna folkwaysen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc294.3827-
thailis.controlvocab.thashวรรณกรรมพุทธศาสนา-
thailis.controlvocab.thashจิตบำบัด-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 294.3827 ช176ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาตัวบทและบริบทในการใช้วรรณกรรมเพื่อการเยียวยา รวมทั้ง วิเคราะห์ความหมายของตัวบท และบริบทการใช้วรรณกรรม ในแง่คติชนวิทยาและในแง่จิตวิทยา โดยศึกษาการเยียวยาด้วยวิธีประกอบพิธีกรรมสวดมนต์หรือเทศน์ธรรมให้แก่ผู้ป่วยในระยะวิกฤต ตามธรรมเนียมล้านนา ที่สืบทอดกันมาในท้องที่ จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ใช้วิธีการศึกษาโดยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์และการร่วมสังเกตการณ์ในพิธีกรรม ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทวรรณกรรมที่มีการใช้เพื่อเยียวยาผู้ป่วยหนัก ที่มีการใช้งานตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน มีทั้งหมด ๑๕ เรื่อง ที่มีข้อมูลกล่าวถึง ในเอกสารทางวิชาการและในคัมภีร์ รวมทั้งจากการสัมภาษณ์ ผู้รู้ ปัจจุบันนี้นิยมใช้งานอยู่ ๓ เรื่อง คือ มหาวิบาก กรรมวาจา และโพชฌงค์ ๗ ซึ่งอีก ๑๒ เรื่อง ไม่ได้รับความนิยม เนื่องจาก มีพลวัตของตัวบทที่ทำให้ไม่สะดวกที่จะนำมาใช้ ประกอบกับมีความสับสนในเรื่องความเชื่อที่เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาในแง่คติชนนั้น ตัวบทวรรณกรรมเยียวยาเป็น คำกล่าว สรรเสริญ และเป็นคำสอนสาระธรรมของพระพุทธเจ้า บริบทในพิธีกรรม เป็นสิ่งช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่น ศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้าตามกรอบคิดแบบชาวล้านนา ดังนั้น พิธีกรรมเยียวยาโดยใช้วรรณกรรมจึงมีความหมายในทางคติชนวิทยาว่า เป็นการทำบุญ ด้วยการช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยวิธีที่ดีที่สุดในบริบทนั้น เป็นพิธีกรรมที่สืบทอดความคิด ความเชื่อ แบบล้านนาที่เชื่อว่าจะช่วยให้วิญญาณได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี พิธีกรรมนี้ จึงเป็นพิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน (Rites of Passage) เป็นการผ่านไปสู่สภาวะที่ดีกว่าเดิม และเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ เพราะมีหลักการและเครื่องมือที่เกี่ยวกับศาสนาโดยตรง หากพิจารณาในแง่จิตวิทยา ตัวบทที่ใช้ในพิธีกรรม เป็นการบอกกล่าวให้ผู้ป่วยมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่ยึดเหนี่ยว และสาระธรรมเหล่านั้นเป็นการสอนให้ฝีกสติ และปล่อยวาง เพื่อให้ผ่อนคลาย ส่วนบริบทของพิธีกรรม เป็นการสร้างความรู้สึกมั่นคงทางอารมณ์ และการสร้างความศรัทธา ซึ่งทำให้เกิดความหวังในสิ่งที่ดีกว่า และพิธีกรรมเยียวยานั้นเป็น การสนับสนุนทางสังคม (Social Support) ที่ดี เพราะเกิดขึ้นจากความปรารถนาดีของทุกฝ่าย ในเวลาที่เหมาะสม ที่เกื้อกูลให้ผู้ป่วย ทำสมาธิให้จิตใจสงบ ด้วยมนตราบำบัดจากพระสงฆ์ ซึ่ง อาจทำให้ผู้ป่วยสามารถบรรลุสู่สภาวะเหนือตน (Transpersonal Stage) ได้อย่างราบรื่น ปัจจุบัน วรรณกรรมเยียวยาที่นิยมใช้ มีเพียง ๓ เรื่อง เนื่องจาก มีพลวัตในตัวบทวรรณกรรม ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมซึ่ง มีผลต่อความคิดความเชื่อของชาวล้านนา และเทคโนโลยีการผลิตคัมภีร์ที่รวดเร็วขึ้นส่งผลต่อความหมายในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงในความรู้และทัศนคติของพระสงฆ์ ตลอดจน ความสับสนในความเชื่อของชาวล้านนา ที่เกิดจากความหลั่งไหลของวัฒนธรรมยุคใหม่ ส่งผลต่อความหมายและคุณค่าของวรรณกรรมเยียวยาในปัจจุบัน ที่เคลื่อนออกไปจากการทำบุญ และสอนสาระธรรมให้แก่ผู้ป่วยและญาติ กลายเป็นพิธีกรรมเพื่อการทำบุญเอาอานิสงส์เท่านั้นen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT227.72 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX4.79 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdf CHAPTER 1352.53 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2864.25 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3841.38 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdf CHAPTER 4869.24 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdf CHAPTER 5243.84 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT228.55 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdf COVER1.13 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdf REFERENCE385.83 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.