Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39803
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์-
dc.contributor.authorเอกภพ อัมพาประเสริฐen_US
dc.date.accessioned2016-12-12T13:34:19Z-
dc.date.available2016-12-12T13:34:19Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39803-
dc.description.abstractThe research, namely “Use of Folk Wisdom for Community Forest Conservation for Sustainability of Ban Mae O, Moo10, Tambon Mae Na Chon, Amphur Mae Chaem, Changwat Chiang Mai” aimed at, firstly, studying the process of community forest knowledge management of Ban Mae O, Moo10, Tambon Mae Na Chon, Amphur Mae Chaem, Chiang Mai Province and, secondly, study the use of folk wisdom for community forest conservation for the sustainability of Ban Mae O, Tambon Mae Na Chon, Amphur Mae Chaem, Chiang Mai Province. This study was conducted in the area of forest community of Ban Mae O, Tambon Mae Na Chon, Amphur Mae Chaem, Chiang Mai Province with the citizens of Ban Mae O. Snowball sampling was used to select the sample and key informants of the study. The important process used to study and collect the data consisted by Non-participant observation, informal interview, and the study of evidence and reference documents providing data relating to Ban Mae O community. The sample of this study was a group of village leaders and the citizens of Ban Mae O. The results of the study stated that the citizen of Ban Mar O one all Pagagayo, a sub-group of Karen. The community had the way of life and the culture that were related to holy objects and superstitions since the community has been living with nature for a long time. Those beliefs, traditions, and cultures influenced the life of the Ban Mae O’s citizens in several aspects, including the occupation. The majority of Ban Mae O’s Pagagayo citizens lived on crop rotation and hill-rice agriculture as their occupation. According to the study, it was found that the main occupation of Ban Mae O’s population was the crop rotation, especially rice plantation. Moreover, the study found that people of Ban Mae O have been strongly maintained their monoculture, such as maize and bean. The community forest and local’s natural resources, as a result, were quickly affected by that way of agriculture. Especially, the area of the community forest was increasingly invaded. Relating to the problem, laws and rules for appropriate use of community forest were set up under the responsibility of the village leaders, the elders in the village, and the village’s committee. Presently, Ban Mae O community still had the belief in living with nature. The belief has been practiced and descended though many generations. In doing rituals, the elders were the leaders or the does of the ceremonies, for example worshiping the spirits of rice field and worshiping the spirits of the river. These activities signified that Pagagayo community of Ban Mae O was capable to use the folk wisdom as a tool to conserve and keep the community forest of Ban Mae O sustainably.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectภูมิปัญญาชาวบ้านen_US
dc.subjectการอนุรักษ์ป่าชุมชนen_US
dc.subjectความยั่งยืนen_US
dc.titleการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าชุมชนเพื่อความยั่งยืนของบ้านแม่เอาะ หมู่ 10 ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeUse of folk wisdom for community forest conservation for sustainability of Ban Mae O, Moo10, Tambon Mae Na Chon, Amphur Mae Chaem, Changwat Chiang Maien_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc634.92-
thailis.controlvocab.thashป่าชุมชน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการอนุรักษ์ป่าไม้ -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashภูมิปัญญาชาวบ้าน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการบริหารองค์ความรู้-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 634.92 อ516ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่อง การใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าชุมชนเพื่อความยั่งยืนของบ้านแม่เอาะ หมู่ 10 ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการองค์ความรู้ด้านป่าชุมชนของชุมชนบ้านแม่เอาะ ตำบลแม่ นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนบ้านแม่เอาะ ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านแม่เอาะ ตำบลแม่น่จร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดชียงใหม่ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในหมู่บ้านแม่เอาะทุกคน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบอกต่อ (Snowball sampling) วิธีการศึกษาและเก็บข้อมูลในพื้นที่ใช้กระบวนการที่สำคัญได้แก่ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กระบวนการการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) และศึกษาจากหลักฐานหรือเอกสารอ้างอิงต่าง ที่มีความเกี่ยวโยงกับชุมชนบ้านแม่เอาะ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทำการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้นำหมู่บ้านและกลุ่มประชาชนทั่วไปชุมชนในบ้านแม่เอาะ ผลการศึกษาพบว่าชุมชนบ้านแม่เอาะซึ่งเป็นชุมชนปกากะญอทั้งหมด เป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมโดยมีความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธ์และเรื่องเหนือธรรมชาติต่างๆ เพราะมีการอาศัยอยู่กับธรรมชาติในการดำรงชีวิตมาช้านาน ความเชื่อจารีตประเพณีและวัฒนธรรมเหล่านี้ ได้มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้านแม่เอาะในหลายๆ ด้าน ซึ่งรวมไปถึงการประกอบอาชีพของชาวปกากะญอบ้านแม่เอาะที่ส่วนมีอาชีพคือ การทำไร่หมุนเวียนและทำนาขั้นบันได การศึกษาในครั้งนี้พบว่า ชาวบ้านแม่เอาะได้มีการไร่หมุนเวียนเป็นอาชีพหลักโดยเฉพาะการปลูกข้าวไร่ จึงมีการนำภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีที่มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต นอกจากนี้ศึกษายังพบอีกว่า แม้ว่าวิธีชีวิต จารีตประเพณีและวัฒนธรรมของชนเผ่าปกากะญอบ้านแม่เอาะได้มีการสืบทอดกันมาอย่างเข้มแข็งและสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชุมชนแห่งนี้อยู่ แต่ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาได้มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชเกษตรตระกูลเชิงเดี่ยว จำพวก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่ว กิจกรรมดังกล่าวจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ป่าชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นอื่นๆ ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการบุกรุกพื้นที่ป่าชุมชนเพิ่มมากขึ้น จากเหตุผลดังกล่าวจึงได้นำมาซึ่งการจัดตั้งกฎและระเบียบข้อบังคับในการใช้ป่าชุมชน โดยมีผู้รับผิดชอบหลักๆ คือ ผู้นำหมู่บ้าน ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านซึ่งเป็นตัวแทนชาวบ้านทั่วไป ปัจจุบันชุมชนบ้านแม่เอาะยังคงมีความเชื่อในเรื่องของการอาศัยอยู่กับธรรมชาติธรรมชาติและมีการปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยมีผู้อาวุโสหรือผู้สูงอายุในหมู่บ้านเป็นผู้นำหรือผู้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น การเลี้ยงผีไร่-ผีนา การเลี้ยงผีแม่น้ำ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าชุมชุนปกากะญอบ้านแม่เอาะมีศักยภาพในการนำภูมิปัญญาของชุมชนเป็นแนวทางในการการอนุรักษ์ และรักษาไว้ ซึ่งป่าชุมชนบ้านแม่เอาะได้อย่างยั่งยืนen_US
Appears in Collections:GRAD-Health Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT246.17 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdf APPENDIX1.88 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1187.36 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2367.87 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3173.3 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 41.28 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5172.87 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT273.82 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER679.91 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE247.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.