Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39786
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธานี แก้วธรรมานุกูล-
dc.contributor.advisorกัลยาณี ตันตรานนท์-
dc.contributor.authorอาทิตยา สารคำen_US
dc.date.accessioned2016-12-12T12:55:06Z-
dc.date.available2016-12-12T12:55:06Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39786-
dc.description.abstractRegistered nurses confront many occupational health hazards which can result in risk of occupational illness or injury. This descriptive study aimed to examine health status related to risk at work among 170 registered nurses in secondary hospitals in Mae Hong Son Province. Data were collected during January to February 2014. The study instrument was a questionnaire of health status related to risk at work which had a validity index of 1.00 as confirmed by a panel of experts. The reliability of this questionnaire was tested and yielded an acceptable level (0.81-0.86). Data analysis was performed using descriptive statistics. Results demonstrated that the most common illnesses possibly related to work, were musculoskeletal pain, including neck pain (82.94%), shoulder pain (80.59%), and back pain (75.88%); stress resulting from having to rush during work (73.53%); eye strain (59.41%); and skin irritation (46.47%) In addition, there was a hepatitis B incidence rate of 3.53%. Work-related injury incidence rate during the past three months was 52.35%, of which 99.46% were non-fatal injuries. Injury causation related to material/equipment impact or collision (54.84%) and sharp equipment (33.87%). The injured body parts included hand/fingers (35.60%) and leg/knee/calf (24.61%). The results of this study indicate that occupational and environmental health nurses and relevant health personnel should recognize the importance of health status related to risk at work among registered nurses. Further, information dissemination regarding health risk at work should be provided to registered nurses to increase their awareness and promote health protective behaviors which can reduce occupational illness and injuries among registered nurses.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectภาวะสุขภาพen_US
dc.subjectความเสี่ยงen_US
dc.subjectการทำงานen_US
dc.subjectพยาบาลวิชาชีพen_US
dc.subjectโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิen_US
dc.titleภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ จังหวัดแม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativeHealth status related to risk at work among registered nurses, Secondary Hospitals, Mae Hong Son Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.nlmcW 4-
thailis.controlvocab.meshRisk-
thailis.controlvocab.meshWorks-
thailis.controlvocab.meshNurses-
thailis.controlvocab.meshHealth ststus-
thailis.manuscript.callnumberW 4 อ223ภ 2557-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractพยาบาลวิชาชีพต้องสัมผัสกับปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานที่หลากหลาย ทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 170 คน รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าในระดับที่ยอมรับได้ (0.81-0.86) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า การเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานที่สำคัญ คือ อาการปวดระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ได้แก่ ปวดต้นคอ (ร้อยละ 82.94) ปวดไหล่ (ร้อยละ 80.59) และปวดเอวและสะโพก (ร้อยละ 75.88) มีความเครียด/กังวลจากความเร่งรีบทำงานให้เสร็จทันเวลา (ร้อยละ73.53) มีอาการกล้ามเนื้อตาล้า (ร้อยละ 59.41) และมีอาการระคายเคืองผิวหนัง (ร้อยละ 46.47) นอกจากนี้ยังพบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ร้อยละ 3.53 ส่วนการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เป็นการบาดเจ็บเล็กน้อย (ร้อยละ 52.35) โดยไม่ต้องหยุดงาน (ร้อยละ 99.46) สาเหตุของการบาดเจ็บเกิดจากกระแทกหรือชนวัตถุสิ่งของ เครื่องมือ/อุปกรณ์ ร้อยละ 54.84 ถูกอุปกรณ์ของมีคมบาดหรือทิ่มแทง ร้อยละ 33.87 อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ คือ มือและนิ้วมือ (ร้อยละ 35.60) และขา เข่า น่อง (ร้อยละ 24.61) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม และทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โดยการเผยแพร่ข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงานแก่พยาบาลวิชาชีพ เพื่อสร้างความตระหนักสู่การสร้างเสริมพฤติกรรมปกป้องสุขภาพ ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT348.76 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX3.76 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1478.24 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2800.22 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdf CHAPTER 3453.29 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdf CHAPTER 4549.58 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5361.07 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT331.33 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER509.53 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE519.51 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.