Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39674
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพนิดา มีลาภกิจen_US
dc.date.accessioned2016-12-06T16:58:02Z-
dc.date.available2016-12-06T16:58:02Z-
dc.date.issued2014-06-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39674-
dc.description.abstractObjectiveen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectHysterectomyen_US
dc.titleแนวโน้มของการผ่าตัดมดลูกเพื่อรักษาผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นมะเร็งของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeTrends in Hysterectomy for Benign Indications in Chiang Mai University Hospitalen_US
thailis.classification.nlmcW 4-
thailis.controlvocab.meshDissertations, academic -- Obstetrics and Gynecology-
thailis.controlvocab.meshHysterectomy-
thailis.controlvocab.meshGynecology-
thailis.manuscript.callnumberThesis W 4 Obs.Gyn. พ153น 2558-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาแนวโน้มของการผ่าตัดมดลูกสำหรับข้อบ่งชี้ที่ไม่ใช่มะเร็งในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ วัสดุและวิธีการ: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์จากรายงานการผ่าตัดลงทะเบียนผู้ป่วยใน ที่เข้ารับการ ผ่าตัดทางนรีเวช เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานในสตรีแต่ละราย วิธีการผ่าตัดและสืบค้นการวินิจฉัยโรคขั้นสุดท้ายจากเวชระเบียนและรายงานทางพยาธิวิทยา ผ่านเวชระเบียนอิเลคทรอนิกส์ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ผลการศึกษา: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,657 ราย ที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูกที่โรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ พบว่าร้อยละ 64 เป็นผู้ป่วยก่อนวัยหมดประจำเดือน และร้อยละ 62.7 เข้ารับการผ่าตัดจากก้อนเนื้องอกในมดลูก และร้อยละ 61.8 ไม่เคยเข้ารับการผ่าตัดใดๆมาก่อน, ในปี 2549 พบว่าร้อยละ 83.3 ของผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการผ่าตัดมดลูกผ่านทางหน้าท้อง (AH), ร้อยละ 13.4 เป็นการผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด(VH), และร้อยละ 3.2 เป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง(LH) ในปี 2555, มีการผ่าตัดมดลูกผ่านทางหน้าท้อง (AH) ร้อยละ 74.4, ผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด(VH) ร้อยละ 14.8, และผ่าตัดผ่านกล้อง (LH) ร้อยละ 10.7 และในจำนวนนี้มีเพียงร้อยละ 0.5 เท่านั้น ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการผ่าตัดจากการส่องกล้องเป็นผ่าตัดเปิดทางหน้าท้อง พบว่าการผ่าตัดมดลูกมีข้อบ่งชี้จากก้อนเนื้องอกในมดลูกสูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 62.7 ของผู้ป่วยทั้งหมด อายุเฉลี่ยและจำนวนบุตรของผู้ป่วยในกลุ่มผ่าตัดมดลูกผ่านช่องคลอดสูงกว่าในกลุ่มผ่าตัดผ่านหน้าท้องและผ่าตัดผ่านกล้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยของการสูญเสียเลือดในกลุ่มผ่าตัดมดลูกผ่านช่องคลอด (100 มล.) น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) เมื่อเทียบกับกลุ่มผ่าตัดผ่านหน้าท้อง (200 มล.) และกลุ่มผ่าตัดผ่านกล้อง (140 มล.) อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มผ่าตัดผ่านหน้าท้องและผ่านกล้อง ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่ผ่าตัดมดลูกผ่านกล้อง และในกลุ่มผ่าตัดผ่านหน้าท้องอยู่ที่ 3 วัน ซึ่งน้อยกว่าการผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอดซึ่งใช้เวลา 4 วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .001) จากการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างกันในด้านดัชนีมวลกาย (BMI), ภาวะแทรกซ้อนขณะทำผ่าตัดและหลังทำผ่าตัด, การเติมเลือด และอัตราการเสียชีวิตในแต่ละกลุ่มไม่ต่างกัน สรุป: จากการศึกษาพบว่าแนวโน้มวิธีการผ่าตัดมดลูกผ่านทางหน้าท้องมีแนวโน้มลดลง ส่วนการผ่าตัดมดลูกผ่านกล้องมีแนวโน้มสูงขึ้น และการผ่าตัดมดลูกทางช่องมีแนวโน้มคงที่en_US
Appears in Collections:MED: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT165.52 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX248.89 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1250.12 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2236.29 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3273.86 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4389.41 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5216.47 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT221.29 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER593.65 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE210.01 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.